สธ.เตือนพ่อแม่ระวังลูกวัยรุ่น อยากรู้อยากลองตกเป็นเหยื่อภัยร้าย สื่อลามกออนไลน์ ชี้เด็กแตกหนุ่มแตกสาวเร็วขึ้น เสี่ยงถูกคุกคามทางเพศ-มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลเป็นปัญหาแม่วัยใสที่พบปีละกว่า 1.3 แสนราย แนะพ่อแม่ควรให้ความสนใจ จัดเวลาให้คำปรึกษาลูก ไม่ใช้วิธีจับผิด กดดัน ช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูก
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาสุขภาพประชาชนรายกลุ่มวัย 5 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัยเรียนอายุ 5-14 ปี วัยรุ่น 15-21 ปี วัยทำงาน 15-59 ปี วัยสูงอายุและผู้พิการ ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานของกรมวิชาการ โดยในกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น ปัญหาที่น่าห่วงขณะนี้คือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งข้อมูลของกรมอนามัย ในปี 2555 พบมีแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีถึง 131,400 คน สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศลาว และพบปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงถึง 260,000 คนต่อปี ส่งผลกระทบตามมามากมาย ทั้งเสียโอกาสเรียนหนังสือ ภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศรวมทั้งข้อเท็จจริงขณะนี้ พบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลง จาก 15-16 ปี ในปี 2545-2552 เป็นอายุ 12-15 ปีในปี 2554 และที่สำคัญคือเด็กแตกหนุ่มแตกสาวเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อน เด็กหญิงมีรอบเดือนครั้งแรกอายุ 12-13 ปี จากเดิมเริ่ม 13-14 ปี เด็กชายแตกเนื้อหนุ่มเร็วขึ้นเช่นกัน จึงมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้น ผู้ปกครอง สังคม ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เข้มแข็งยิ่งขึ้น
พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงขณะนี้คือปัญหาสื่อลามกออนไลน์ซึ่งมีมาก กลุ่มที่เข้าถึงสื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง จากการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและพัฒนาการในเรื่องเพศจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เริ่มมีความรู้สึกหรือมีความต้องการทางเพศ หากได้รับการกระตุ้นจากสื่อลามกที่เข้าถึงง่ายจากอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา และหากหมกมุ่นให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านั้นมากกว่าการเรียน ผลกระทบที่ตามมาคือผลการเรียนต่ำลง ที่น่าห่วงคือ เสี่ยงเกิดอาชญากรรมทางเพศ หรือมีความเสี่ยงจะถูกคุกคามทางเพศ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมไปถึงการทำแท้ง ซึ่งขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกายกระดับอันตรายสื่อลามกอยู่ในขั้นรุนแรง เข้าขั้นวิกฤต มีอันตรายต่อประชาชนเทียบกับปัญหารุนแรงทางสาธารณสุข โดยพบว่าสื่อลามกอนาจารกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงทางเพศ ผู้ชายที่ดูสื่อลามกตั้งแต่อายุยังน้อย มีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายไม่สมยอม
พญ.ทิพาวรรณกล่าวต่อว่า ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมว่าลูกติดสื่อลามกหรือไม่ โดยสังเกตจากพฤติกรรมส่วนใหญ่จะหมกมุ่นกับสิ่งที่สนใจ หรือที่มากไปกว่านั้นคือ “พฤติกรรมเสพติด” อาจถึงขั้นแสวงหา โหยหา และใช้เวลาอยู่กับมันมากขึ้น หรือแยกตัวไม่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวม โดยเฉพาะเด็กที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ในห้องนอนจะมีโอกาสที่จะคลิกดูสื่อลามก ติดเกม หรือติดการพนันออนไลน์ได้สูง!!! ดังนั้นพ่อแม่ควรรู้เท่าทันเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อที่จะป้องปรามไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อของสื่อออนไลน์ นอกจากสื่อลามกแล้ว สภาพแวดล้อมในครอบครัวเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ บางครอบครัวมีข้อจำกัด เด็กต้องนอนรวมกับพ่อแม่โดยเฉพาะการอยู่ในคอนโดมิเนียม ห้องเช่า หากบังเอิญเด็กเห็นผู้ใหญ่มีเพศสัมพันธ์ อาจกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากลองและเกิดอารมณ์ทางเพศได้ จึงขอแนะนำพ่อแม่ควรแยกห้องนอนกับลูก ให้ลูกอยู่เป็นสัดส่วนเริ่มตั้งแต่วัยประถม และพูดคุยให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามวัย อย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าอายเพราะจะทำให้ลูกไม่กล้าปรึกษากับพ่อแม่ หันไปหาความรู้จากเพื่อนหรืออินเทอร์เน็ตในเรื่องเพศสัมพันธ์แทน
พญ.ทิพาวรรณกล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันลูกดูสื่อสามก เริ่มจากพ่อแม่ควรให้เวลากับลูกมากขึ้น เพียงแค่เวลาสั้นๆ แต่พูดคุยกันด้วยเหตุผล ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าเพศศึกษาไม่ใช่เพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่พูดคุยกับลูกได้ ไม่จับผิด แสดงท่าทางหรือพูดกดดันให้เด็กรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ผิด แต่ควรสอนลูกวัยรุ่นว่าวัยต้องพร้อม แต่งตัวมิดชิด และรักนวลสงวนตัว โดยพ่อแม่ควรเป็นแม่แบบในเรื่องการวางตัวที่ดีให้แก่ลูกเพื่อให้ลูกซึมซับ โดยพ่อในฐานะที่เป็นผู้นำในบ้าน จะเป็นตัวอย่างลูกชายในเรื่องการให้เกียรติผู้หญิง ส่วนแม่เป็นตัวอย่างให้ลูกสาวในเรื่องการวางตัว การแต่งกาย กิริยามารยาท การรักนวลสงวนตัว การปฏิเสธที่เหมาะสม ซึ่งในทางจิตวิทยาเป็นที่ยอมรับกันว่า พฤติกรรมการปฏิบัติของพ่อแม่จะมีผลต่อการเรียนรู้ และซึมซับเป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนแก่เด็กๆ เมื่อเติบโตขึ้นเมื่อลูกวัยรุ่นเริ่มมีความอยากรู้อยากลอง หรือเริ่มมีอารมณ์และความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ การช่วยตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ผิดและน่าอาย หากต้องการจะปลดปล่อยในห้องส่วนตัวที่มิดชิด และพ่อแม่ควรแนะนำวิธีเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศของลูกด้วยการออกกำลังกาย เล่นกีฬา เล่นดนตรีหรือทำกิจกรรม อย่างสร้างสรรค์ทดแทน
“ประการสำคัญในการป้องกันการเข้าถึงสื่อลามกออนไลน์ “พ่อแม่ควรจะใส่ใจ” โดยให้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของใช้ส่วนรวมในบ้าน ตั้งในจุดที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้ สอนลูกใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เช่น การสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เว็บไซต์ดีๆ สำหรับเด็กและเยาวชน กำหนดกฎ กติกา ข้อห้ามการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวในที่สาธารณะ การโพสต์รูปภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสม ทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการระบายความรู้สึก ความคิดเห็นส่วนตัวด้วยถ้อยทำที่รุนแรง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกในเรื่องดังกล่าว รวมถึงผลกระทบในเชิงลบที่ตามมา และสิ่งที่พ่อแม่ควรทราบคือ ช่องทางการเข้าถึงระบบป้องกันการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หากพบเจอเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมก็สามารถแจ้งหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ที่กระทรวงวัฒนธรรม โทร. 0-2422-8888 ดำเนินการบล็อกบางเว็บไซต์เพื่อให้เด็กห่างไกลจากภัยสื่อลามกได้อีกทางหนึ่ง” พญ.ทิพาวรรณกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
allowtransparency="true">
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาสุขภาพประชาชนรายกลุ่มวัย 5 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัยเรียนอายุ 5-14 ปี วัยรุ่น 15-21 ปี วัยทำงาน 15-59 ปี วัยสูงอายุและผู้พิการ ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานของกรมวิชาการ โดยในกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น ปัญหาที่น่าห่วงขณะนี้คือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งข้อมูลของกรมอนามัย ในปี 2555 พบมีแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีถึง 131,400 คน สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศลาว และพบปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงถึง 260,000 คนต่อปี ส่งผลกระทบตามมามากมาย ทั้งเสียโอกาสเรียนหนังสือ ภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศรวมทั้งข้อเท็จจริงขณะนี้ พบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลง จาก 15-16 ปี ในปี 2545-2552 เป็นอายุ 12-15 ปีในปี 2554 และที่สำคัญคือเด็กแตกหนุ่มแตกสาวเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อน เด็กหญิงมีรอบเดือนครั้งแรกอายุ 12-13 ปี จากเดิมเริ่ม 13-14 ปี เด็กชายแตกเนื้อหนุ่มเร็วขึ้นเช่นกัน จึงมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและเกิดปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้น ผู้ปกครอง สังคม ต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมควบคุมโรค และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เข้มแข็งยิ่งขึ้น
พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงขณะนี้คือปัญหาสื่อลามกออนไลน์ซึ่งมีมาก กลุ่มที่เข้าถึงสื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง จากการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและพัฒนาการในเรื่องเพศจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เริ่มมีความรู้สึกหรือมีความต้องการทางเพศ หากได้รับการกระตุ้นจากสื่อลามกที่เข้าถึงง่ายจากอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา และหากหมกมุ่นให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านั้นมากกว่าการเรียน ผลกระทบที่ตามมาคือผลการเรียนต่ำลง ที่น่าห่วงคือ เสี่ยงเกิดอาชญากรรมทางเพศ หรือมีความเสี่ยงจะถูกคุกคามทางเพศ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมไปถึงการทำแท้ง ซึ่งขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกายกระดับอันตรายสื่อลามกอยู่ในขั้นรุนแรง เข้าขั้นวิกฤต มีอันตรายต่อประชาชนเทียบกับปัญหารุนแรงทางสาธารณสุข โดยพบว่าสื่อลามกอนาจารกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงทางเพศ ผู้ชายที่ดูสื่อลามกตั้งแต่อายุยังน้อย มีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายไม่สมยอม
พญ.ทิพาวรรณกล่าวต่อว่า ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมว่าลูกติดสื่อลามกหรือไม่ โดยสังเกตจากพฤติกรรมส่วนใหญ่จะหมกมุ่นกับสิ่งที่สนใจ หรือที่มากไปกว่านั้นคือ “พฤติกรรมเสพติด” อาจถึงขั้นแสวงหา โหยหา และใช้เวลาอยู่กับมันมากขึ้น หรือแยกตัวไม่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวม โดยเฉพาะเด็กที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ในห้องนอนจะมีโอกาสที่จะคลิกดูสื่อลามก ติดเกม หรือติดการพนันออนไลน์ได้สูง!!! ดังนั้นพ่อแม่ควรรู้เท่าทันเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อที่จะป้องปรามไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อของสื่อออนไลน์ นอกจากสื่อลามกแล้ว สภาพแวดล้อมในครอบครัวเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ บางครอบครัวมีข้อจำกัด เด็กต้องนอนรวมกับพ่อแม่โดยเฉพาะการอยู่ในคอนโดมิเนียม ห้องเช่า หากบังเอิญเด็กเห็นผู้ใหญ่มีเพศสัมพันธ์ อาจกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากลองและเกิดอารมณ์ทางเพศได้ จึงขอแนะนำพ่อแม่ควรแยกห้องนอนกับลูก ให้ลูกอยู่เป็นสัดส่วนเริ่มตั้งแต่วัยประถม และพูดคุยให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสมตามวัย อย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าอายเพราะจะทำให้ลูกไม่กล้าปรึกษากับพ่อแม่ หันไปหาความรู้จากเพื่อนหรืออินเทอร์เน็ตในเรื่องเพศสัมพันธ์แทน
พญ.ทิพาวรรณกล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันลูกดูสื่อสามก เริ่มจากพ่อแม่ควรให้เวลากับลูกมากขึ้น เพียงแค่เวลาสั้นๆ แต่พูดคุยกันด้วยเหตุผล ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าเพศศึกษาไม่ใช่เพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่พูดคุยกับลูกได้ ไม่จับผิด แสดงท่าทางหรือพูดกดดันให้เด็กรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ผิด แต่ควรสอนลูกวัยรุ่นว่าวัยต้องพร้อม แต่งตัวมิดชิด และรักนวลสงวนตัว โดยพ่อแม่ควรเป็นแม่แบบในเรื่องการวางตัวที่ดีให้แก่ลูกเพื่อให้ลูกซึมซับ โดยพ่อในฐานะที่เป็นผู้นำในบ้าน จะเป็นตัวอย่างลูกชายในเรื่องการให้เกียรติผู้หญิง ส่วนแม่เป็นตัวอย่างให้ลูกสาวในเรื่องการวางตัว การแต่งกาย กิริยามารยาท การรักนวลสงวนตัว การปฏิเสธที่เหมาะสม ซึ่งในทางจิตวิทยาเป็นที่ยอมรับกันว่า พฤติกรรมการปฏิบัติของพ่อแม่จะมีผลต่อการเรียนรู้ และซึมซับเป็นพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนแก่เด็กๆ เมื่อเติบโตขึ้นเมื่อลูกวัยรุ่นเริ่มมีความอยากรู้อยากลอง หรือเริ่มมีอารมณ์และความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ การช่วยตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ผิดและน่าอาย หากต้องการจะปลดปล่อยในห้องส่วนตัวที่มิดชิด และพ่อแม่ควรแนะนำวิธีเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศของลูกด้วยการออกกำลังกาย เล่นกีฬา เล่นดนตรีหรือทำกิจกรรม อย่างสร้างสรรค์ทดแทน
“ประการสำคัญในการป้องกันการเข้าถึงสื่อลามกออนไลน์ “พ่อแม่ควรจะใส่ใจ” โดยให้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของใช้ส่วนรวมในบ้าน ตั้งในจุดที่ทุกคนสามารถมองเห็นได้ สอนลูกใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เช่น การสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เว็บไซต์ดีๆ สำหรับเด็กและเยาวชน กำหนดกฎ กติกา ข้อห้ามการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวในที่สาธารณะ การโพสต์รูปภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสม ทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการระบายความรู้สึก ความคิดเห็นส่วนตัวด้วยถ้อยทำที่รุนแรง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกในเรื่องดังกล่าว รวมถึงผลกระทบในเชิงลบที่ตามมา และสิ่งที่พ่อแม่ควรทราบคือ ช่องทางการเข้าถึงระบบป้องกันการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม หากพบเจอเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมก็สามารถแจ้งหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ที่กระทรวงวัฒนธรรม โทร. 0-2422-8888 ดำเนินการบล็อกบางเว็บไซต์เพื่อให้เด็กห่างไกลจากภัยสื่อลามกได้อีกทางหนึ่ง” พญ.ทิพาวรรณกล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
allowtransparency="true">