สสส. เตือนออกกำลังกายให้เหมาะสมอายุ เพศ โดยเฉพาะโรคประจำตัว หลังพบกรณีเสียชีวิตขณะเล่นฟิตเนส แนะมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน ลดพฤติกรรมเฉื่อย ห่วงคนหันมาออกกำลังเพราะมีปัญหาสุขภาพ เผยสูตรออกกำลังกาย คำนวณชีพจร การเต้นของหัวใจไม่ให้หนักเกินไป
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีผู้เสียชีวิตขณะวิ่งออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้า ในฟิตเนสของห้างสรรพสินค้าชื่อดัง เนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้เกิดกระแสความกังวลและคำถามเรื่องการออกกำลังกายนั้น ว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าที่สวนสาธารณะ บ้าน หรือสถานบริการออกกำลังกาย แต่ต้องคำนึงถึงประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงเพศ อายุ และปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้สุขภาพดี คือการมีกิจกรรมทางกายที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ลดพฤติกรรมเฉื่อย หรือ พฤติกรรมแน่นิ่ง (Sedentary Behavior)
รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวว่า สสส. จึงรณรงค์ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน แทนการใช้รถยนต์ หรือรถประจำทาง ในการเดินทางใกล้ๆ การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การทำงานบ้าน แต่หากใครสามารถทำได้มากกว่าการมีกิจกรรมทางกายไปสู่การออกกำลังกายและเล่นกีฬาถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งหากเราหมั่นดูแลตัวเองสร้างความกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ เราจะห่างไกลจากความเสี่ยงทางสุขภาพที่มาจากการขาดการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งกำลังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของปัญหาสุขภาพของคนทั้งโลก
รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการบริหารแผนสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า การออกกำลังกายมี 2 แบบ คือ 1. การออกกำลังกายแบบนักกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความแข็งแรงของร่างกายมากกว่าคนปกติ และมีผู้ดูแลใกล้ชิด 2. การออกกำลังกายแบบคนทั่วไป เพื่อให้เกิดสุขภาพดี แต่กลับพบว่า หลายคนเริ่มออกกำลังกายเมื่อมีปัญหาสุขภาพ สำหรับหลักการออกกำลังกายที่ดี ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ทุกครั้ง เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีความพร้อม จะลดการบาดเจ็บได้ และต้องทำให้ร่างกายเย็นลง (Cool Down) ทุกครั้ง ประมาณ 5-7 นาที หลังออกกำลังกาย
“การไม่ออกกำลังกายหักโหม วัดได้จากอัตราการเต้นของชีพจร สูตรทั่วไป คือ 220 ลบด้วยอายุ และควบคุมการเต้นของหัวใจให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจที่คำนวณได้ หรือ เอา 170 ตั้ง ลบด้วยอายุ ก็จะออกมาใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่ควรให้เต้นเร็วแรงกว่านี้ เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทันและอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง และเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ก็ควรเลือกประเภทการออกกำลังที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายด้วย ทั้งนี้ สำหรับสถานบริการออกกำลังกาย มักมีเทรนเนอร์เพื่อดูแลการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ซึ่งควรอบรมและให้ความรู้ในการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย” รศ.นพ.ปัญญา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีผู้เสียชีวิตขณะวิ่งออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้า ในฟิตเนสของห้างสรรพสินค้าชื่อดัง เนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้เกิดกระแสความกังวลและคำถามเรื่องการออกกำลังกายนั้น ว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าที่สวนสาธารณะ บ้าน หรือสถานบริการออกกำลังกาย แต่ต้องคำนึงถึงประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงเพศ อายุ และปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้สุขภาพดี คือการมีกิจกรรมทางกายที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ลดพฤติกรรมเฉื่อย หรือ พฤติกรรมแน่นิ่ง (Sedentary Behavior)
รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวว่า สสส. จึงรณรงค์ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน แทนการใช้รถยนต์ หรือรถประจำทาง ในการเดินทางใกล้ๆ การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การทำงานบ้าน แต่หากใครสามารถทำได้มากกว่าการมีกิจกรรมทางกายไปสู่การออกกำลังกายและเล่นกีฬาถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งหากเราหมั่นดูแลตัวเองสร้างความกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ เราจะห่างไกลจากความเสี่ยงทางสุขภาพที่มาจากการขาดการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งกำลังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของปัญหาสุขภาพของคนทั้งโลก
รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการบริหารแผนสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า การออกกำลังกายมี 2 แบบ คือ 1. การออกกำลังกายแบบนักกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความแข็งแรงของร่างกายมากกว่าคนปกติ และมีผู้ดูแลใกล้ชิด 2. การออกกำลังกายแบบคนทั่วไป เพื่อให้เกิดสุขภาพดี แต่กลับพบว่า หลายคนเริ่มออกกำลังกายเมื่อมีปัญหาสุขภาพ สำหรับหลักการออกกำลังกายที่ดี ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ทุกครั้ง เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีความพร้อม จะลดการบาดเจ็บได้ และต้องทำให้ร่างกายเย็นลง (Cool Down) ทุกครั้ง ประมาณ 5-7 นาที หลังออกกำลังกาย
“การไม่ออกกำลังกายหักโหม วัดได้จากอัตราการเต้นของชีพจร สูตรทั่วไป คือ 220 ลบด้วยอายุ และควบคุมการเต้นของหัวใจให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจที่คำนวณได้ หรือ เอา 170 ตั้ง ลบด้วยอายุ ก็จะออกมาใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่ควรให้เต้นเร็วแรงกว่านี้ เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทันและอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง และเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ก็ควรเลือกประเภทการออกกำลังที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายด้วย ทั้งนี้ สำหรับสถานบริการออกกำลังกาย มักมีเทรนเนอร์เพื่อดูแลการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ซึ่งควรอบรมและให้ความรู้ในการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย” รศ.นพ.ปัญญา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่