อธิบดี กพร. เผย “พลเอกประยุทธ์” เห็นใจทหารปฏิบัติหน้าที่บาดเจ็บ พิการ เฉพาะปี 56 พิการ 355 นาย เผยทั้งกองทัพมีครอบครัวทหารพิการซ้ำซ้อนกว่า 700 คน ประสาน กพร. จัดโครงการอบรมอาชีพ - หาตลาดตั้งบูธขายสินค้าในสนามบิน และรถไฟฟ้าบีทีเอส นำร่อง รพ.พระมงกุฎฯ ฝึกชุดแรก 20 คน 4 ก.ค. นี้
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร. ได้ร่วมกับสมาคมแม่บ้านทหารบก โรงพยาบาลทหารผ่านศึก และ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดโครงการฝึกอาชีพ สำหรับทหารพิการทางการเคลื่อนไหวโดยจะเปิดการฝึกอบรมในวันที่ 4 ก.ค. นี้ ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดหลักสูตรอบรมให้ทหารพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยเริ่มที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในหลักสูตรการออกแบบและเพนต์ภาพบนเสื้อยืด มีทหารเข้ารับการฝึก 20 คน ใช้เวลาฝึกระยะสั้น 6 ชม. เนื่องจากยังเป็นผู้ป่วย
อธิบดี กพร. กล่าวอีกว่า โครงการนี้เป็นการช่วยเหลือเยียวยาแก่ทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่แนวชายแดนแล้วได้รับบาดเจ็บกลายเป็นผู้พิการ ซึ่งปัจจุบันมีมากขึ้น จากสถิติของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในปี 2556 มียอดผู้ป่วยเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรได้รับบาดเจ็บและพิการ 205 คน พลทหารกองประจำการขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกบาดเจ็บและพิการ 150 คน ซึ่งทหารเหล่านี้เป็นผู้เสียสละจึงควรได้รับการยกย่องดูแลให้กลับเข้าสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะทหารพราน หรือทหารอาสา ที่ปลดประจำการและกลับไปอยู่บ้าน ต้องมีอาชีพที่ยั่งยืนเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
นายนคร กล่าวด้วยว่า ในปี 2557 สมาคมแม่บ้านทหารบกได้เข้ามาหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือฝึกอาชีพและดูหลักสูตรรองรับ โดยไปสำรวจความพร้อม ของทหารที่บาดเจ็บและพิการทั่วประเทศ ว่าเหมาะสมกับงานชนิดไหน แต่กลับไปพบเรื่องน่าสะเทือนใจ โดยพบว่าครอบครัวทหารเหล่านั้น มีลูกพิการ และเป็นออทิสติกกว่า 700 คน จึงต้องเร่งให้ความช่วยเหลือโดยจัดหาอาชีพที่เหมาะสมและพาออกไปศึกษาดูงานช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า งานเย็บจักรอุตสาหกรรม แต่การฝึกอาชีพต้องทำไปพร้อมการทำกายภาพบำบัด จึงมาลงตัวที่การฝึกออกแบบและเพนต์ภาพบนเสื้อยืดซึ่งใช้ต้นทุนต่ำ สามารถนำออกจำหน่ายหารายได้ ขณะยังพักฟื้นรักษาตัว นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยครอบครัวทหารที่มีพิการซ้ำซ้อนด้วยการนำ พ่อ แม่ ลูก มาเข้ารับการฝึกร่วมกันได้ ทำให้ครอบใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยพบว่างานฝีมือที่เด็กออทิสติกทำได้ดี จะเป็นงานที่ต้องทำซ้ำๆ เพื่อเกิดความชำนาญ เช่น งานปักหมุดลงบนพานพุ่ม ทำออกมาได้สวยงาม จำหน่ายได้ในราคานับพันบาท
“หลายเดือนก่อนผมได้พบกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในงานสังคมแห่งหนึ่ง ท่านได้พูดคุยว่า ทหารกล้าที่ออกไปรับใช้ชาติ ต้องกลายมาเป็นคนพิการ ท่านเห็นแล้วรู้สึกสะเทือนใจ บางคนตาย บางคนพิการ แขน ขาขาด ไม่สบายใจที่ต้องเอาลูกพิการไปคืนพ่อ แม่ อยากให้ช่วยฝึกอาชีพให้มีงานทำยั่งยืน เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้จึงเข้าไปหารือกับ รพ.ทหารผ่านศึก และ รพ.พระมงกุฎเกล้า ดูข้อมูล ปัญหาอุปสรรค ขั้นตอนดำเนินการ จนเกิดการฝึกอบรมชุดแรก ต่อไปจะทำให้ยั่งยืนขึ้น นอกจากฝึกแล้วจะต่อยอด หาตลาด หาที่จำหน่าย อาจจะเป็นบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จะมีหนังสือไปถึงถึงท่าอากาศยานในประเทศ ขอให้มีบูธจำหน่ายสินค้าคนพิการ ที่เป็นทั้งพลเรือนและทหาร” นายนคร กล่าว
อธิบดี กพร. กล่าวด้วยว่า กพร. ได้ประสานทางสมาคมแม่บ้านทหารบก เพื่อขอข้อมูลจำนวนยอดทหารพิการทั่วประเทศที่ต้องการรับการฝึกอาชีพมีจำนวนเท่าไหร่ และอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง จะได้ประสานไปยังสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคทั้ง 12 แห่ง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดอีก 64 แห่ง จัดฝึกอบรมให้แก่ทหารพิการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กพร. ได้ร่วมกับสมาคมแม่บ้านทหารบก โรงพยาบาลทหารผ่านศึก และ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดโครงการฝึกอาชีพ สำหรับทหารพิการทางการเคลื่อนไหวโดยจะเปิดการฝึกอบรมในวันที่ 4 ก.ค. นี้ ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดหลักสูตรอบรมให้ทหารพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยเริ่มที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในหลักสูตรการออกแบบและเพนต์ภาพบนเสื้อยืด มีทหารเข้ารับการฝึก 20 คน ใช้เวลาฝึกระยะสั้น 6 ชม. เนื่องจากยังเป็นผู้ป่วย
อธิบดี กพร. กล่าวอีกว่า โครงการนี้เป็นการช่วยเหลือเยียวยาแก่ทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่แนวชายแดนแล้วได้รับบาดเจ็บกลายเป็นผู้พิการ ซึ่งปัจจุบันมีมากขึ้น จากสถิติของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในปี 2556 มียอดผู้ป่วยเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรได้รับบาดเจ็บและพิการ 205 คน พลทหารกองประจำการขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกบาดเจ็บและพิการ 150 คน ซึ่งทหารเหล่านี้เป็นผู้เสียสละจึงควรได้รับการยกย่องดูแลให้กลับเข้าสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะทหารพราน หรือทหารอาสา ที่ปลดประจำการและกลับไปอยู่บ้าน ต้องมีอาชีพที่ยั่งยืนเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
นายนคร กล่าวด้วยว่า ในปี 2557 สมาคมแม่บ้านทหารบกได้เข้ามาหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือฝึกอาชีพและดูหลักสูตรรองรับ โดยไปสำรวจความพร้อม ของทหารที่บาดเจ็บและพิการทั่วประเทศ ว่าเหมาะสมกับงานชนิดไหน แต่กลับไปพบเรื่องน่าสะเทือนใจ โดยพบว่าครอบครัวทหารเหล่านั้น มีลูกพิการ และเป็นออทิสติกกว่า 700 คน จึงต้องเร่งให้ความช่วยเหลือโดยจัดหาอาชีพที่เหมาะสมและพาออกไปศึกษาดูงานช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า งานเย็บจักรอุตสาหกรรม แต่การฝึกอาชีพต้องทำไปพร้อมการทำกายภาพบำบัด จึงมาลงตัวที่การฝึกออกแบบและเพนต์ภาพบนเสื้อยืดซึ่งใช้ต้นทุนต่ำ สามารถนำออกจำหน่ายหารายได้ ขณะยังพักฟื้นรักษาตัว นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยครอบครัวทหารที่มีพิการซ้ำซ้อนด้วยการนำ พ่อ แม่ ลูก มาเข้ารับการฝึกร่วมกันได้ ทำให้ครอบใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยพบว่างานฝีมือที่เด็กออทิสติกทำได้ดี จะเป็นงานที่ต้องทำซ้ำๆ เพื่อเกิดความชำนาญ เช่น งานปักหมุดลงบนพานพุ่ม ทำออกมาได้สวยงาม จำหน่ายได้ในราคานับพันบาท
“หลายเดือนก่อนผมได้พบกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในงานสังคมแห่งหนึ่ง ท่านได้พูดคุยว่า ทหารกล้าที่ออกไปรับใช้ชาติ ต้องกลายมาเป็นคนพิการ ท่านเห็นแล้วรู้สึกสะเทือนใจ บางคนตาย บางคนพิการ แขน ขาขาด ไม่สบายใจที่ต้องเอาลูกพิการไปคืนพ่อ แม่ อยากให้ช่วยฝึกอาชีพให้มีงานทำยั่งยืน เลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้จึงเข้าไปหารือกับ รพ.ทหารผ่านศึก และ รพ.พระมงกุฎเกล้า ดูข้อมูล ปัญหาอุปสรรค ขั้นตอนดำเนินการ จนเกิดการฝึกอบรมชุดแรก ต่อไปจะทำให้ยั่งยืนขึ้น นอกจากฝึกแล้วจะต่อยอด หาตลาด หาที่จำหน่าย อาจจะเป็นบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จะมีหนังสือไปถึงถึงท่าอากาศยานในประเทศ ขอให้มีบูธจำหน่ายสินค้าคนพิการ ที่เป็นทั้งพลเรือนและทหาร” นายนคร กล่าว
อธิบดี กพร. กล่าวด้วยว่า กพร. ได้ประสานทางสมาคมแม่บ้านทหารบก เพื่อขอข้อมูลจำนวนยอดทหารพิการทั่วประเทศที่ต้องการรับการฝึกอาชีพมีจำนวนเท่าไหร่ และอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง จะได้ประสานไปยังสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคทั้ง 12 แห่ง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดอีก 64 แห่ง จัดฝึกอบรมให้แก่ทหารพิการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่