ร้อง สตง. ตรวจสอบใช้จ่ายงบ สนง. สลากกินแบ่งรัฐบาล แนะสาวไส้เบื้องลึกผลประโยชน์ - ผู้มีอิทธิพล ส่งผลสลากแพงเรื้อรังแก้ปัญหายาก ด้าน สตง. รับลูก พร้อมชงเรื่องต่อ ป.ป.ช. คาด 1 เดือนคืบหน้า
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วย สมาชิกเครือข่าย กว่า 30 คน เข้าพบ นางสาวประพีร์ อังกินันทน์ รักษาราชการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายการเมือง ขาดหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ โดยเฉพาะในอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ ทั้งนี้ นางสาวพวงชมนาถ จริยะจินดา รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้รับเรื่องแทน
นายธนากร กล่าวว่า ภาคประชาชนต้องการให้ สตง. ทำความจริงให้ปรากฏ เพราะจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลาก พบข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุมัติใช้เงินของกองสลาก อยู่ 3 ข้อ คือ 1. กองสลากไม่มีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับเงินบริจาค หรือสนับสนุนจากกองสลากเลย ฉะนั้น จึงเป็นช่องโหว่ว่าผู้ขอเงินจากกองสลากจะเป็นใครก็ได้ ทั้งบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ 2. กองสลากไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะถึงชื่อหน่วยงาน องค์กร บุคคลที่ได้รับเงิน วงเงิน และระยะเวลาที่ได้รับ แตกต่างจากของต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ซึ่งมีองค์กรทำหน้าที่จัดสรรเงินจากการขายสลากให้องค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ จะมีประกาศรายละเอียดของผู้รับเงินทางเว็บไซต์เป็นประจำ และ 3. ที่ผ่านมา กองสลากไม่มีกระบวนการตรวจสอบการใช้เงินของผู้รับเงินว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ขอมาหรือไม่ รวมทั้งการมีการประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมตามโครงการที่ขอมา ก็เพิ่งจะมีเมื่อเดือนตุลาคม 2554 เท่านั้น
“จากข้อห่วงใยดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาชน จึงขอให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยเฉพาะในอำนาจของผู้อำนวยการ ว่ามีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีความเชื่อมโยงกับฐานทางการเมืองของพรรคการเมืองใดๆ หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบกลไกการทำงานของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ไม่เคยแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาได้เลย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าผลประโยชน์มหาศาลตกอยู่กับนายหน้าที่เป็นเสือนอนกิน” นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวด้วยว่า เครือข่ายภาคประชาชน ขอให้กำลังใจ สตง. ในการทำความจริงให้ปรากฏต่อสังคม เพื่อพิสูจน์ข้อครหาที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถูกภาคสังคมตั้งคำถามมานาน ในเรื่องความไม่โปร่งใส การเอื้อกับฝ่ายการเมือง และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน และหากการตรวจสอบพบว่ามีมูลความผิดตามกฎหมาย ขอให้ สตง. ส่งเรื่องผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ทางคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยด่วน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายฯได้เปิดการณรงค์ให้มีการ “ปฏิรูปสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล” ผ่าน www.change.org/lotteryreform ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก และร่วมลงชื่อกว่า 15,000 คนในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ โดยทางเครือข่ายฯจะรวบรวมรายชื่อให้มากที่สุด เพื่อยื่นให้กับผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต่อไป
นางสาวพวงชมนาถ กล่าวภายหลังรับเรื่องจากเครือข่ายฯ ว่า ทาง สตง. จะรับไว้พิจารณา เพราะเรื่องปัญหาสลากถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญ และหลังจากนี้จะเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เพื่อพิจารณาเรียกตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ จากนั้นหากพบว่ามีหลักฐานชี้มูลความผิด จะส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อย่างไรก็ตาม คาดว่า ใน 1 เดือนจากนี้จะมีความคืบหน้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลากกินแบ่งรัฐบาล พร้อมด้วย สมาชิกเครือข่าย กว่า 30 คน เข้าพบ นางสาวประพีร์ อังกินันทน์ รักษาราชการผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายการเมือง ขาดหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ โดยเฉพาะในอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ ทั้งนี้ นางสาวพวงชมนาถ จริยะจินดา รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้รับเรื่องแทน
นายธนากร กล่าวว่า ภาคประชาชนต้องการให้ สตง. ทำความจริงให้ปรากฏ เพราะจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลาก พบข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุมัติใช้เงินของกองสลาก อยู่ 3 ข้อ คือ 1. กองสลากไม่มีข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับเงินบริจาค หรือสนับสนุนจากกองสลากเลย ฉะนั้น จึงเป็นช่องโหว่ว่าผู้ขอเงินจากกองสลากจะเป็นใครก็ได้ ทั้งบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ 2. กองสลากไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะถึงชื่อหน่วยงาน องค์กร บุคคลที่ได้รับเงิน วงเงิน และระยะเวลาที่ได้รับ แตกต่างจากของต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ซึ่งมีองค์กรทำหน้าที่จัดสรรเงินจากการขายสลากให้องค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ จะมีประกาศรายละเอียดของผู้รับเงินทางเว็บไซต์เป็นประจำ และ 3. ที่ผ่านมา กองสลากไม่มีกระบวนการตรวจสอบการใช้เงินของผู้รับเงินว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ขอมาหรือไม่ รวมทั้งการมีการประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมตามโครงการที่ขอมา ก็เพิ่งจะมีเมื่อเดือนตุลาคม 2554 เท่านั้น
“จากข้อห่วงใยดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาชน จึงขอให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยเฉพาะในอำนาจของผู้อำนวยการ ว่ามีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีความเชื่อมโยงกับฐานทางการเมืองของพรรคการเมืองใดๆ หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบกลไกการทำงานของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ไม่เคยแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาได้เลย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าผลประโยชน์มหาศาลตกอยู่กับนายหน้าที่เป็นเสือนอนกิน” นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวด้วยว่า เครือข่ายภาคประชาชน ขอให้กำลังใจ สตง. ในการทำความจริงให้ปรากฏต่อสังคม เพื่อพิสูจน์ข้อครหาที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถูกภาคสังคมตั้งคำถามมานาน ในเรื่องความไม่โปร่งใส การเอื้อกับฝ่ายการเมือง และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน และหากการตรวจสอบพบว่ามีมูลความผิดตามกฎหมาย ขอให้ สตง. ส่งเรื่องผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ทางคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยด่วน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายฯได้เปิดการณรงค์ให้มีการ “ปฏิรูปสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล” ผ่าน www.change.org/lotteryreform ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก และร่วมลงชื่อกว่า 15,000 คนในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ โดยทางเครือข่ายฯจะรวบรวมรายชื่อให้มากที่สุด เพื่อยื่นให้กับผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต่อไป
นางสาวพวงชมนาถ กล่าวภายหลังรับเรื่องจากเครือข่ายฯ ว่า ทาง สตง. จะรับไว้พิจารณา เพราะเรื่องปัญหาสลากถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญ และหลังจากนี้จะเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เพื่อพิจารณาเรียกตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ จากนั้นหากพบว่ามีหลักฐานชี้มูลความผิด จะส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อย่างไรก็ตาม คาดว่า ใน 1 เดือนจากนี้จะมีความคืบหน้า
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่