กรมขนส่งทางบกตั้งคณะกรรมการพิจารณาการเจ็บป่วยจากโรคที่มีผลต่อการขับรถ หวังคุมเข้มการออกใบขับขี่ เล็งหารือ 2 ก.ค.กำหนดโรคและระดับอาการให้ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางบกได้ออกคำสั่งที่ 243/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพเพื่อออกใบรับรองแพทย์ สำหรับผู้ขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ลงนามโดย นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2557 ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยงานจากกรมการขนส่งทางบก แพทยสภา ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ สถาบันเวชศาสตร์การบินทหารอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งนี้ เพื่อพิจารณากำหนดการเจ็บป่วยจากโรคที่มีผลกระทบและอาจเป็นอันตรายในขณะขับรถที่จนนำไปสู่การบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน จากการขับรถของผู้เจ็บป่วย รวมถึงรายละเอียดของระดับอาการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งข้อเสนอแนะมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสุขภาพ และการออกใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ โดยจะต้องรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกทราบต่อไป
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การพิจารณาการกำหนดการเจ็บป่วยจากโรคที่มีผลกระทบต่อการขับรถนั้น เบื้องต้นในการหารืออาจยังไม่ถึงกับบรรจุลงไปในระเบียบของกรมการขนส่งทางบกว่า ผู้ที่จะสอบใบขับขี่ต้องไม่เป็นโรคตามที่ระบุใหม่นี้ ต้องดูว่าป่วยถึงระดับใดจึงห้ามขับรถ มิเช่นนั้นผู้ป่วยเป็นโรคตามที่ระบุใหม่บางคนอาจได้รับผลกระทบ เพราะมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อการขับขี่แต่อย่างใด การให้ระบุเป็นโรคต่างๆ เลยคงยังทำไม่ได้ ซึ่งวันที่ 2 ก.ค. จะมีการหารือและกำหนดให้ชัดเจนว่า เป็นโรคอะไรและมีอาการถึงขั้นไหน จึงจะห้ามออกใบขับขี่
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ต้องหารือด้วยว่าใครจะเป็นผู้ตรวจสอบโรคต่างๆ เพราะบางโรคต้องใช้แพทย์เฉพาะทางหรือผ่านการอบรมการตรวจโรคของผู้ขอใบขับขี่โดยตรง เช่น หากเป็นกลุ่มโรคเบาหวาน ก็ต้องเป็นเฉพาะคนที่เคยมีอาการวูบมาก่อน ซึ่งต้องมีการดูแลกันพิเศษ แต่ถ้าเป็นเบาหวานธรรมดาก็ไม่น่ามีผลกระทบอะไร กล่าวคือต้องดูถึงความรุนแรงของโรค ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่าระเบียบดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้เป็นการคุ้มครองประชาชนทั่วไปให้มีความปลอดภัยในชีวิต แต่ต้องมีขบวนการการดูแลที่ถูกต้องเข้ามาดูแลมีหมอเฉพาะทางมาดูแล
อนึ่ง ปัจจุบันการขอรับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีการตรวจสุขภาพ และขอใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการขอรับใบอนุญาตซึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และเป็นโรค 5 โรค คือ โรคเรื้อน วัณโรค โรคเท้าช้าง โรคติดยาเสพติด และโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมการเจ็บป่วยจากโรคอื่น ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับสายตา โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางบกได้ออกคำสั่งที่ 243/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพเพื่อออกใบรับรองแพทย์ สำหรับผู้ขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ลงนามโดย นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2557 ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยงานจากกรมการขนส่งทางบก แพทยสภา ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ฯ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ สถาบันเวชศาสตร์การบินทหารอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งนี้ เพื่อพิจารณากำหนดการเจ็บป่วยจากโรคที่มีผลกระทบและอาจเป็นอันตรายในขณะขับรถที่จนนำไปสู่การบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน จากการขับรถของผู้เจ็บป่วย รวมถึงรายละเอียดของระดับอาการ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งข้อเสนอแนะมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสุขภาพ และการออกใบรับรองแพทย์สำหรับผู้ขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ โดยจะต้องรายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกทราบต่อไป
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การพิจารณาการกำหนดการเจ็บป่วยจากโรคที่มีผลกระทบต่อการขับรถนั้น เบื้องต้นในการหารืออาจยังไม่ถึงกับบรรจุลงไปในระเบียบของกรมการขนส่งทางบกว่า ผู้ที่จะสอบใบขับขี่ต้องไม่เป็นโรคตามที่ระบุใหม่นี้ ต้องดูว่าป่วยถึงระดับใดจึงห้ามขับรถ มิเช่นนั้นผู้ป่วยเป็นโรคตามที่ระบุใหม่บางคนอาจได้รับผลกระทบ เพราะมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ส่งผลต่อการขับขี่แต่อย่างใด การให้ระบุเป็นโรคต่างๆ เลยคงยังทำไม่ได้ ซึ่งวันที่ 2 ก.ค. จะมีการหารือและกำหนดให้ชัดเจนว่า เป็นโรคอะไรและมีอาการถึงขั้นไหน จึงจะห้ามออกใบขับขี่
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ต้องหารือด้วยว่าใครจะเป็นผู้ตรวจสอบโรคต่างๆ เพราะบางโรคต้องใช้แพทย์เฉพาะทางหรือผ่านการอบรมการตรวจโรคของผู้ขอใบขับขี่โดยตรง เช่น หากเป็นกลุ่มโรคเบาหวาน ก็ต้องเป็นเฉพาะคนที่เคยมีอาการวูบมาก่อน ซึ่งต้องมีการดูแลกันพิเศษ แต่ถ้าเป็นเบาหวานธรรมดาก็ไม่น่ามีผลกระทบอะไร กล่าวคือต้องดูถึงความรุนแรงของโรค ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่าระเบียบดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้เป็นการคุ้มครองประชาชนทั่วไปให้มีความปลอดภัยในชีวิต แต่ต้องมีขบวนการการดูแลที่ถูกต้องเข้ามาดูแลมีหมอเฉพาะทางมาดูแล
อนึ่ง ปัจจุบันการขอรับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีการตรวจสุขภาพ และขอใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการขอรับใบอนุญาตซึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และเป็นโรค 5 โรค คือ โรคเรื้อน วัณโรค โรคเท้าช้าง โรคติดยาเสพติด และโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งยังไม่ครอบคลุมการเจ็บป่วยจากโรคอื่น ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับสายตา โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่