พม. ชี้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนส่งผลต่างด้าวแห่เข้าทำงานหวังรายได้สูง ส่งผลถูกหลอกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ เผย 3 รูปแบบการค้ามนุษย์ในไทยทั้ง ละเมิดทางเพศ - บังคับใช้แรงงาน- ขอทาน แนวโน้มซับซ้อนรุนแรงขึ้น ระบุแค่ 56 ปีเดียวมีคดีเกี่ยวกับค้ามนุษย์สูงถึง 600 กว่าคดี
วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดงาน “วันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2557” รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัยของการค้ามนุษย์ ว่า ในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย พบความยากลำบาก คือ ประเทศไทย มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายพันกิโลเมตร และเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในภูมิภาค ทำให้สะดวกต่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ทำให้แรงงานจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านต้องการเคลื่อนย้ายเข้ามาประเทศไทย เพื่อหางานทำและมีรายได้ดีกว่าในประเทศของตน อีกทั้งผู้ประกอบการของไทยก็มีความต้องการแรงงานต่างด้าวมาทำงานบางประเภท ที่คนไทยไม่นิยมทำ เช่น งานกรรมกร งานในอุตสาหกรรมประมงและประมงต่อเนื่อง จึงเกิดขบวนการนำพาหรือหลอกลวง ทั้งจากประเทศต้นทาง และประเทศปลายทาง เช่นเดียวกับคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปทำงานในต่างประเทศ ทั้งที่เดินทางโดยสมัครใจ และที่ถูกหลอกลวงว่าจะได้รายได้ที่มากขึ้น ตลอดจนค่านิยมทางวัตถุ ซึ่งจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้คนไทยและคนต่างด้าวจำนวนหนึ่งตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งในประเทศตนเองและประเทศอื่น
“สำหรับรูปแบบของการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ยังคงพบใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการนำคนมาขอทาน แต่กลับพบวิธีการหลอกลวง ของขบวนการค้ามนุษย์ ที่ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น เช่น การปลอมแปลงอายุของเด็กต่างด้าวให้สูงเกินจริง ในเป็นหนังสือเดินทางฉบับจริง เพื่อให้เด็กมีอายุมากพอที่จะรับจ้างทำงานได้ หรือให้ขายบริการทางเพศ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการตรวจทางการแพทย์เข้าช่วยเพื่อนำไปสู่กระบวนการคุ้มครอง” ปลัด พม. กล่าว
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 2 ปี พม. เป็นหน่วยประสานงานหลักในการดำเนินงานเรื่องนี้ ซึ่งยังมีบางประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีบางประเด็นที่ยังเป็นข้อท้าทาย ทั้งนี้ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกคน มีความพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ทั้งในส่วนของการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ในปี 2556 ที่มีจำนวนมากขึ้นถึง 674 คดี การฟ้องคดีของอัยการต่อศาล จำนวน 386 คดี และสถิติคดีในชั้นศาลที่พิพากษาแล้ว จำนวน 383 คดี และให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทั้งคนไทยและคนต่างด้าว จำนวน 681 คน อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งการดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อตอบโจทย์ใดเป็นการเฉพาะ แต่ทุกคนได้ร่วมกันทำงานโดยมุ่งดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดจากการค้ามนุษย์ ให้ถึงที่สุด และคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งนอกจากจะมุ่งบังคับใช้กฎหมายกับการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ ยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุผลหลักที่กำหนดให้ พม. เป็นหน่วยรักษาการตามกฎหมาย
“สำหรับการจัดงานวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2557 นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัยของการค้ามนุษย์ตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือที่เรียกว่า 5P เพื่อขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากประเทศไทย” นายวิเชียร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดงาน “วันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2557” รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัยของการค้ามนุษย์ ว่า ในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย พบความยากลำบาก คือ ประเทศไทย มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายพันกิโลเมตร และเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในภูมิภาค ทำให้สะดวกต่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย รวมทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ทำให้แรงงานจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านต้องการเคลื่อนย้ายเข้ามาประเทศไทย เพื่อหางานทำและมีรายได้ดีกว่าในประเทศของตน อีกทั้งผู้ประกอบการของไทยก็มีความต้องการแรงงานต่างด้าวมาทำงานบางประเภท ที่คนไทยไม่นิยมทำ เช่น งานกรรมกร งานในอุตสาหกรรมประมงและประมงต่อเนื่อง จึงเกิดขบวนการนำพาหรือหลอกลวง ทั้งจากประเทศต้นทาง และประเทศปลายทาง เช่นเดียวกับคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปทำงานในต่างประเทศ ทั้งที่เดินทางโดยสมัครใจ และที่ถูกหลอกลวงว่าจะได้รายได้ที่มากขึ้น ตลอดจนค่านิยมทางวัตถุ ซึ่งจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้คนไทยและคนต่างด้าวจำนวนหนึ่งตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งในประเทศตนเองและประเทศอื่น
“สำหรับรูปแบบของการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ยังคงพบใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการนำคนมาขอทาน แต่กลับพบวิธีการหลอกลวง ของขบวนการค้ามนุษย์ ที่ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น เช่น การปลอมแปลงอายุของเด็กต่างด้าวให้สูงเกินจริง ในเป็นหนังสือเดินทางฉบับจริง เพื่อให้เด็กมีอายุมากพอที่จะรับจ้างทำงานได้ หรือให้ขายบริการทางเพศ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการตรวจทางการแพทย์เข้าช่วยเพื่อนำไปสู่กระบวนการคุ้มครอง” ปลัด พม. กล่าว
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 2 ปี พม. เป็นหน่วยประสานงานหลักในการดำเนินงานเรื่องนี้ ซึ่งยังมีบางประเด็นที่ต้องขับเคลื่อนการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีบางประเด็นที่ยังเป็นข้อท้าทาย ทั้งนี้ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกคน มีความพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจ ทั้งในส่วนของการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ในปี 2556 ที่มีจำนวนมากขึ้นถึง 674 คดี การฟ้องคดีของอัยการต่อศาล จำนวน 386 คดี และสถิติคดีในชั้นศาลที่พิพากษาแล้ว จำนวน 383 คดี และให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทั้งคนไทยและคนต่างด้าว จำนวน 681 คน อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งการดำเนินงานต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อตอบโจทย์ใดเป็นการเฉพาะ แต่ทุกคนได้ร่วมกันทำงานโดยมุ่งดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดจากการค้ามนุษย์ ให้ถึงที่สุด และคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งนอกจากจะมุ่งบังคับใช้กฎหมายกับการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ ยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายเป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุผลหลักที่กำหนดให้ พม. เป็นหน่วยรักษาการตามกฎหมาย
“สำหรับการจัดงานวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2557 นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภัยของการค้ามนุษย์ตามมติคณะรัฐมนตรีแล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล หรือที่เรียกว่า 5P เพื่อขจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไปจากประเทศไทย” นายวิเชียร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่