พศ. ปูด 9 ลักษณะมารศาสนา ทั้งฆราวาส - พระบรรทุกลูกนิมิต ช่อฟ้า พระพุทธรูปเหมือนสมเด็จโต พรหมรังสี - หลวงปู่ทวด ออกเรี่ยไรตามตลาด ย่านชุมชน แจกซองผ้าป่า หรือขอวางถังผ้าป่าตามสถานที่ต่างๆ เวียนเทียนบิณฑบาต นั่งร้านอาหารญี่ปุ่น ลั่นใครพบเห็นแจ้งศูนย์ฮอตไลน์แจ้งภัยทางพระพุทธศาสนาทันที อึ้ง! เปิดศูนย์ 5 วัน ประชาชนแห่ร้องเรียน 67 เรื่อง ลั่นแก้ไขปัญหาภายใน 15 วัน
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการ พศ. กล่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ว่า ตนได้รายงานการจัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์แจ้งภัยทางพระพุทธศาสนา เพื่อรับเรื่องราวเกี่ยวกับภัยทางพระพุทธศาสนาต่อที่ประชุม มส. รับทราบโดยได้จัดทำคู่มือ แผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภัยพระพุทธศาสนา พร้อมเปิดสายด่วน 0-2441-6400 กด 2 ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดทำระบบฐานข้อมูลพระที่กระทำผิดทางวินัย โดยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างส่วนกลางและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด
“มีพระภิกษุ สามเณรบางรูปมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบให้ พศ. ดูแลเรื่องดังกล่าว และจะทำอย่างไรให้ภาพรวมของคณะสงฆ์ดี ไม่มีภาพที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงทางเจ้าคณะผู้ปกครองก็ทำหน้าที่เข้มงวดกวดขัน ไม่ละเลยให้พระในการปกครองมีพฤติกรรมในทางไม่ดี โดย พศ. เปิดศูนย์ฮอตไลน์ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียนเข้ามาแล้วถึง 67 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความประพฤติไม่เหมาะสมของพระสงฆ์ เช่น กลุ่มที่กระทำผิดอาจาระ ไม่สมควร ประพฤติแสดงออกไม่เหมาะสม เดินห้าง ใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะเป็นการเปิดเผยเกินไป ล่าสุด ได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มบุคคลปลอมบวชใน จ.พระนครศรีอยุธยา หากเจอกรณีเช่นนี้ให้รีบแจ้งศูนย์ฮอตไลน์ทันที เมื่อ พศ. รับเรื่องร้องเรียนแล้ว กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาภายใน 15 วัน นอกจากนี้ ยังได้มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดแต่ละจังหวัดเปิดศูนย์ฮอตไลน์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับส่วนกลางด้วย โดยจะมีการบันทึกและรายงานสถิติต่อที่ประชุม มส. ทุกเดือนด้วย”ผอ.พศ. กล่าว
สำหรับคู่มือแจ้งภัยทางพระพุทธศาสนาที่ พศ. ได้จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายประชาชนนั้น ได้กำหนดลักษณะที่มีภัยต่อพุทธศาสนาไว้ ในกรณีของฆราวาสมีลักษณะของกลุ่มบุคคลที่แสดงหาผลประโยชน์และบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา 9 ข้อ ดังนี้ 1. ลักขโมยพุทธรูป ตัดเศียรไปขาย 2. นำเศียรพระหรือพระพุทธรูปไปเป็นเครื่องประดับ รวมทั้งวางขายตามตลาดใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดย่านถนนข้าวสาร 3. ถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสมพร้อมกับพระพุทธรูป พิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้า 5. ทำการเรี่ยไรโดยนำรถบรรทุกลูกนิมิต ช่อฟ้า พระพุทธรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รูปเหมือนหลวงปู่ทวดออกทำการเรี่ยไรตามตลาด ย่านชุมชน โดยมีพระภิกษุสามเณรทำการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ 6. ทำการเรี่ยไรโดยแจกซองผ้าป่า หรือขอวางถังผ้าป่าตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างร้าน บ้านเรือน 7. ดื่มสุรา เล่นการพนันภายในวัด 8. จัดการแสดงที่ไม่เหมาะสมภายในวัด เช่น แสดงโคโยตี้หรือการแสดงลามกอนาจาร และ 9. ปลอมบวช คือ การแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ โดยนำผ้าเหลืองมาห่มเองโดยไม่ได้ทำการบวชอย่างถูกต้อง ออกเรี่ยไรหรือบิณฑบาตมุ่งรับเฉพาะปัจจัย
สำหรับลักษณะที่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา กรณีพระภิกษุสามเณร มี 6 ข้อ ดังนี้ 1. การบิณฑบาตไม่ถูกต้อง อาทิ ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานประจำร้านค้าหรือตลาด นั่งเก้าอี้หรือรถเข็น สวมใส่รองเท้า สูบบุหรี่นั่งตามร้านกาแฟ ทิ้งดอกไม้ธูปเทียนไม่ยอมนำกลับ ถ่ายเทอาหารให้บุคคลเวียนขายต่อ 2. เรี่ยไรเงิน เดินแจกซองผ้าป่าตามตลาดและชุมชน เดินขอปัจจัยตามชุมชนโดยมีตู้บริจาคและโทรโข่งประกาศ เดินเที่ยวขอตั้งถังผ้าป่าตามบริษัทห้างร้านหรือบ้านเรือน 3. การปักกลด ปักกลดในที่ชุมชน ตามป่าละเมาะที่รกร้างว่างเปล่า ใกล้บ้านเรือนเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล 4. การพักค้างแรมตามบ้านเรือน เช่าบ้านอยู่อาศัย หรือพักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องคนรู้จัก ติดต่อกันนานเกิดความจำเป็น 5. สถานที่ที่พระภิกษุสามเณรไม่ควรเข้าไป (อโคจร) อาทิ เดินเที่ยวซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า ร้านอาหารบางประเภทที่ไม่เหมาะกับพระภิกษุสงฆ์ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นต้น 6. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ อาทิ ดื่มสุรา เล่นการพนัน เสพยาเสพติด การทำเสน่ห์ยาแฝด การสักยันต์ การทรงเจ้าเข้าผี การบอกใบ้ให้หวย การสะพายกล้องถ่ายรูป การไปร่วมงานโดยไม่ได้รับกิจนิมนต์ เข้าไปซื้ออาหารฉันภายในห้างสรรพสินค้า เที่ยวดูการละเล่นมหรสพ ประกอบกิจการค้าขายเยี่ยงฆราวาส
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการ พศ. กล่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ว่า ตนได้รายงานการจัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์แจ้งภัยทางพระพุทธศาสนา เพื่อรับเรื่องราวเกี่ยวกับภัยทางพระพุทธศาสนาต่อที่ประชุม มส. รับทราบโดยได้จัดทำคู่มือ แผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภัยพระพุทธศาสนา พร้อมเปิดสายด่วน 0-2441-6400 กด 2 ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดทำระบบฐานข้อมูลพระที่กระทำผิดทางวินัย โดยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างส่วนกลางและสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด
“มีพระภิกษุ สามเณรบางรูปมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบให้ พศ. ดูแลเรื่องดังกล่าว และจะทำอย่างไรให้ภาพรวมของคณะสงฆ์ดี ไม่มีภาพที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงทางเจ้าคณะผู้ปกครองก็ทำหน้าที่เข้มงวดกวดขัน ไม่ละเลยให้พระในการปกครองมีพฤติกรรมในทางไม่ดี โดย พศ. เปิดศูนย์ฮอตไลน์ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียนเข้ามาแล้วถึง 67 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความประพฤติไม่เหมาะสมของพระสงฆ์ เช่น กลุ่มที่กระทำผิดอาจาระ ไม่สมควร ประพฤติแสดงออกไม่เหมาะสม เดินห้าง ใช้โทรศัพท์มือถือในที่สาธารณะเป็นการเปิดเผยเกินไป ล่าสุด ได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มบุคคลปลอมบวชใน จ.พระนครศรีอยุธยา หากเจอกรณีเช่นนี้ให้รีบแจ้งศูนย์ฮอตไลน์ทันที เมื่อ พศ. รับเรื่องร้องเรียนแล้ว กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาภายใน 15 วัน นอกจากนี้ ยังได้มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดแต่ละจังหวัดเปิดศูนย์ฮอตไลน์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับส่วนกลางด้วย โดยจะมีการบันทึกและรายงานสถิติต่อที่ประชุม มส. ทุกเดือนด้วย”ผอ.พศ. กล่าว
สำหรับคู่มือแจ้งภัยทางพระพุทธศาสนาที่ พศ. ได้จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายประชาชนนั้น ได้กำหนดลักษณะที่มีภัยต่อพุทธศาสนาไว้ ในกรณีของฆราวาสมีลักษณะของกลุ่มบุคคลที่แสดงหาผลประโยชน์และบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา 9 ข้อ ดังนี้ 1. ลักขโมยพุทธรูป ตัดเศียรไปขาย 2. นำเศียรพระหรือพระพุทธรูปไปเป็นเครื่องประดับ รวมทั้งวางขายตามตลาดใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดย่านถนนข้าวสาร 3. ถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสมพร้อมกับพระพุทธรูป พิมพ์ภาพพระพุทธเจ้าไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้า 5. ทำการเรี่ยไรโดยนำรถบรรทุกลูกนิมิต ช่อฟ้า พระพุทธรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รูปเหมือนหลวงปู่ทวดออกทำการเรี่ยไรตามตลาด ย่านชุมชน โดยมีพระภิกษุสามเณรทำการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ 6. ทำการเรี่ยไรโดยแจกซองผ้าป่า หรือขอวางถังผ้าป่าตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างร้าน บ้านเรือน 7. ดื่มสุรา เล่นการพนันภายในวัด 8. จัดการแสดงที่ไม่เหมาะสมภายในวัด เช่น แสดงโคโยตี้หรือการแสดงลามกอนาจาร และ 9. ปลอมบวช คือ การแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ โดยนำผ้าเหลืองมาห่มเองโดยไม่ได้ทำการบวชอย่างถูกต้อง ออกเรี่ยไรหรือบิณฑบาตมุ่งรับเฉพาะปัจจัย
สำหรับลักษณะที่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา กรณีพระภิกษุสามเณร มี 6 ข้อ ดังนี้ 1. การบิณฑบาตไม่ถูกต้อง อาทิ ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานประจำร้านค้าหรือตลาด นั่งเก้าอี้หรือรถเข็น สวมใส่รองเท้า สูบบุหรี่นั่งตามร้านกาแฟ ทิ้งดอกไม้ธูปเทียนไม่ยอมนำกลับ ถ่ายเทอาหารให้บุคคลเวียนขายต่อ 2. เรี่ยไรเงิน เดินแจกซองผ้าป่าตามตลาดและชุมชน เดินขอปัจจัยตามชุมชนโดยมีตู้บริจาคและโทรโข่งประกาศ เดินเที่ยวขอตั้งถังผ้าป่าตามบริษัทห้างร้านหรือบ้านเรือน 3. การปักกลด ปักกลดในที่ชุมชน ตามป่าละเมาะที่รกร้างว่างเปล่า ใกล้บ้านเรือนเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล 4. การพักค้างแรมตามบ้านเรือน เช่าบ้านอยู่อาศัย หรือพักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้องคนรู้จัก ติดต่อกันนานเกิดความจำเป็น 5. สถานที่ที่พระภิกษุสามเณรไม่ควรเข้าไป (อโคจร) อาทิ เดินเที่ยวซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า ร้านอาหารบางประเภทที่ไม่เหมาะกับพระภิกษุสงฆ์ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นต้น 6. พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ อาทิ ดื่มสุรา เล่นการพนัน เสพยาเสพติด การทำเสน่ห์ยาแฝด การสักยันต์ การทรงเจ้าเข้าผี การบอกใบ้ให้หวย การสะพายกล้องถ่ายรูป การไปร่วมงานโดยไม่ได้รับกิจนิมนต์ เข้าไปซื้ออาหารฉันภายในห้างสรรพสินค้า เที่ยวดูการละเล่นมหรสพ ประกอบกิจการค้าขายเยี่ยงฆราวาส
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่