พบไทยเชื้อดื้อยาเพียบ! แถมแนวโน้มสูงขึ้น กรมวิทย์ชี้คนไทยจะตายเพราะโรคง่ายๆ ไม่อันตราย เหตุ 20 ปี ไร้ยาตัวใหม่ๆ สู้กับเชื้อ เร่งเก็บข้อมูลเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศผ่านโปรแกรม WHONET ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ หวังนำข้อมูลแก้กฎหมายจำกัดการใช้ยาของแพทย์ ยกเนเธอร์แลนด์ ทำ 10 ปี ลดเชื้อดื้อยาสำเร็จ
วันนี้ (17 มิ.ย.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพด้วยโปรแกรม WHONET” ว่า ขณะนี้ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทย์ ร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาล 60 แห่งทั่วประเทศ พบว่า เชื้อหลายชนิดมีแนวโน้มการดื้อยามากขึ้นเป็นลำดับ โดยเชื้อที่มีอัตราการดื้อยาสูง คือ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ มีการดื้อยามากขึ้นจาก 47% ในปี 2541 เพิ่มเป็น 65.6% ในปี 2556 เชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม (Enterococcus faecium) มีอัตราดื้อยา vancomycin จากเฉลี่ย 0.8% ในรอบ 10 ปี (2545-2555) เพิ่มเป็น 3.2% ในปี 2556
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกลุ่มเอซินีโทแบคเตอร์ (Acinetobacter) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มักฉวยโอกาสก่อโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู. เชื้อเหล่านี้ดื้อต่อยาทุกตัวและมีแนวโน้มดื้อยาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมลบ โดยมีอัตราการดื้อยา imipenem จาก 14.4% ในปี 2543 เป็น 66.3% ในปี 2556 รวมถึงเชื้ออีโคไล และเชื้อวัณโรคก็มีการดื้อยาเพิ่มขึ้นด้วย
“แต่ก่อนเมื่อเชื้อดื้อยาก็ยังมียากลุ่มใหม่ๆ ออกมาที่แรงกว่าในการสู้กับเชื้อ ที่น่าห่วงคือช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่มียาต้านจุลชีพตัวใหม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีการลงทุนเรื่องนี้ สุดท้ายคนจะไม่ได้ป่วยตายจากเชื้อโรคร้ายแรง แต่เป็นเชื้อโรคง่ายๆ ที่เราไม่เคยกลัว เพราะไม่มียาตัวใหม่ๆ ออกมา การแก้ปัญหาคือจะต้องทราบสถานการณ์ของเชื้อดื้อยาในภาพรวมของประเทศ ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทั่วโลกใช้โปรแกรมฮูเน็ต (WHONET) รวมถึงไทย ในการจัดทำฐานข้อมูลเชื้อดื้อยา โดยมีโรงพยาบาล 58 แห่งทั่วประเทศนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้แล้ว” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า ตามปกติแต่ละโรงพยาบาลก่อนแพทย์จะจ่ายยารักษาคนไข้ติดเชื้อ จะมีการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพอยู่แล้ว ก็เพียงนำสิ่งที่โรงพยาบาลทำอยู่ตามปกติมาจัดทำข้อมูลลงโปรแกรมดังกล่าว หรือโรงพยาบาลใดที่ทำเป็นฐานข้อมูลอยู่แล้วก็สามารถถ่ายโอนมาลงโปรแกรมฮูเน็ตได้ ซึ่งโปรแกรมนี้จะมีการประมวลให้อัตโนมัติ เช่น ในรอบ 1 เดือน หรือรอบ 1 ปี เชื้อแต่ละชนิดมีแนวโน้มการดื้อยาเป็นอย่างไร เมื่อรวบรวมข้อมูลจากทั่วประเทศก็จะทำให้เห็นสถานการณ์ในภาพรวมระดับประเทศ ระดับเขตบริการสุขภาพ หรือระดับจังหวัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการออกมาตรการแก้ปัญหา เช่น แก้กฎหมายจำกัดการใช้ยาของแพทย์ ห้ามขาย ห้ามใช้ยาบางตัว หรือให้ใช้ยาเมื่อมีเหตุผลจำเป็น เป็นต้น เพราะมีตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเมื่อก่อนเคยเป็นประเทศที่มีเชื้อดื้อยามากที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่จากการทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวผ่านไป 10 ปีกลายเป็นประเทศที่การดื้อยาน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เล็งที่จะขยายให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศใช้โปรแกรมฮูเน็ตทำการเก็บข้อมูล
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (17 มิ.ย.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพด้วยโปรแกรม WHONET” ว่า ขณะนี้ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยค่อนข้างน่าเป็นห่วง ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทย์ ร่วมกับเครือข่ายโรงพยาบาล 60 แห่งทั่วประเทศ พบว่า เชื้อหลายชนิดมีแนวโน้มการดื้อยามากขึ้นเป็นลำดับ โดยเชื้อที่มีอัตราการดื้อยาสูง คือ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบในเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ มีการดื้อยามากขึ้นจาก 47% ในปี 2541 เพิ่มเป็น 65.6% ในปี 2556 เชื้อเอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีเชียม (Enterococcus faecium) มีอัตราดื้อยา vancomycin จากเฉลี่ย 0.8% ในรอบ 10 ปี (2545-2555) เพิ่มเป็น 3.2% ในปี 2556
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกลุ่มเอซินีโทแบคเตอร์ (Acinetobacter) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มักฉวยโอกาสก่อโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วย ไอ.ซี.ยู. เชื้อเหล่านี้ดื้อต่อยาทุกตัวและมีแนวโน้มดื้อยาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียแกรมลบ โดยมีอัตราการดื้อยา imipenem จาก 14.4% ในปี 2543 เป็น 66.3% ในปี 2556 รวมถึงเชื้ออีโคไล และเชื้อวัณโรคก็มีการดื้อยาเพิ่มขึ้นด้วย
“แต่ก่อนเมื่อเชื้อดื้อยาก็ยังมียากลุ่มใหม่ๆ ออกมาที่แรงกว่าในการสู้กับเชื้อ ที่น่าห่วงคือช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่มียาต้านจุลชีพตัวใหม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีการลงทุนเรื่องนี้ สุดท้ายคนจะไม่ได้ป่วยตายจากเชื้อโรคร้ายแรง แต่เป็นเชื้อโรคง่ายๆ ที่เราไม่เคยกลัว เพราะไม่มียาตัวใหม่ๆ ออกมา การแก้ปัญหาคือจะต้องทราบสถานการณ์ของเชื้อดื้อยาในภาพรวมของประเทศ ซึ่งขณะนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทั่วโลกใช้โปรแกรมฮูเน็ต (WHONET) รวมถึงไทย ในการจัดทำฐานข้อมูลเชื้อดื้อยา โดยมีโรงพยาบาล 58 แห่งทั่วประเทศนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้แล้ว” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า ตามปกติแต่ละโรงพยาบาลก่อนแพทย์จะจ่ายยารักษาคนไข้ติดเชื้อ จะมีการทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพอยู่แล้ว ก็เพียงนำสิ่งที่โรงพยาบาลทำอยู่ตามปกติมาจัดทำข้อมูลลงโปรแกรมดังกล่าว หรือโรงพยาบาลใดที่ทำเป็นฐานข้อมูลอยู่แล้วก็สามารถถ่ายโอนมาลงโปรแกรมฮูเน็ตได้ ซึ่งโปรแกรมนี้จะมีการประมวลให้อัตโนมัติ เช่น ในรอบ 1 เดือน หรือรอบ 1 ปี เชื้อแต่ละชนิดมีแนวโน้มการดื้อยาเป็นอย่างไร เมื่อรวบรวมข้อมูลจากทั่วประเทศก็จะทำให้เห็นสถานการณ์ในภาพรวมระดับประเทศ ระดับเขตบริการสุขภาพ หรือระดับจังหวัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการออกมาตรการแก้ปัญหา เช่น แก้กฎหมายจำกัดการใช้ยาของแพทย์ ห้ามขาย ห้ามใช้ยาบางตัว หรือให้ใช้ยาเมื่อมีเหตุผลจำเป็น เป็นต้น เพราะมีตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเมื่อก่อนเคยเป็นประเทศที่มีเชื้อดื้อยามากที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป แต่จากการทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวผ่านไป 10 ปีกลายเป็นประเทศที่การดื้อยาน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เล็งที่จะขยายให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศใช้โปรแกรมฮูเน็ตทำการเก็บข้อมูล
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่