สวยหล่อเพราะแอปฯ ทำวัยรุ่นผิดหวัง หลังเจอตัวจริง จิตแพทย์ชี้ปัญหาใหญ่ คนเข้าปรึกษาเยอะขึ้นตามความก้าวหน้าเทคโนโลยี เผยสาเหตุคนชอบเลือกให้ดูแต่สิ่งที่ดี ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามมโนไว้สวยหรู แนะคุยแชตผ่านโลกออนไลน์ต้องเผื่อใจ หากผิดหวังให้ปรึกษาคนใกล้ตัว อย่ามองเป็นเรื่องตลก เหตุผิดหวังมากเสี่ยงฆ่าตัวตายได้
วันนี้ (9 มิ.ย.) นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ในฐานะจิตแพทย์ด้านเด็กและสื่อ กล่าวถึงกรณีข่าวต่างประเทศที่ว่า หนุ่มกระโดดกลางห้างสรรพสินค้าฆ่าตัวตาย เนื่องจากผิดหวังจากใบหน้าสาวที่นัดเจอตัวจริง หลังคบกันผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งแม้จะเป็นข่าวมั่ว เพราะผู้ที่ฆ่าตัวตายเป็นเกย์ที่ถูกแฟนบอกเลิก ว่า แม้จะไม่ใช่ข่าวจริง แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะปกติคนเรามักจะนำเสนอตัวเองแต่ในด้านที่ดี เวลานำรูปลงเฟซบุ๊ก หรือ ไลน์ ซึ่งบางทีไม่รู้ว่ารูปนั้นผ่านมาแล้วกี่แอปพลิเคชัน บางคนใช้ 3-4 แอปฯในการแต่งรูป หรือแม้แต่โพสต์ข้อความก็มักจะคัดแต่สิ่งที่ดีของตัวเอง แต่พอเมื่อมาเจอตัวจริงก็พบว่าแตกต่างจากที่เคยเห็นในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ทั้งรูปร่างหน้าตา รวมไปถึงลักษณะนิสัย จึงทำให้เกิดความผิดหวังและตกใจ นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะการเลือกภาพลักษณ์ที่ดีบางส่วนของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เวลาคุยมักมีจินตนาการเติมเต็มต่อเข้าไปว่าตัวจริงจะต้องสวยหรูกว่าปกติ
นพ.วรตม์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ว่าทำไมผิดหวังแล้วถึงอาจฆ่าตัวตายได้ ทั้งที่คนส่วนใหญ่มองว่า ความผิดหวังจากการที่ตัวตนจริงแตกต่างจากโลกโซเชียล เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหลายคนให้ความสำคัญกับชีวิตคู่ หรือแฟน บางคนไม่เคยประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ หรืออาจเคยถูกเพื่อนล้อมีแฟนหน้าตาไม่ดี จึงตั้งความหวังเอาไว้สูง เห็นว่าคนนี้สวยด้วย จะเป็นแฟนเราด้วย หวังที่จะแต่งงาน แต่เมื่อมาเจอแล้วไม่ใช่จึงเกิดความผิดหวังซึ่งความสามารถในการรับมือกับความผิดหวังคนเราไม่เท่ากัน อยู่ที่ตัวของเราและช่วงเวลาในขณะนั้น เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง มีบุคลิกภาพทางจิตอยู่เดิม มีความเครียด พอเกิดความผิดหวังอย่างกระทันหัน เกิดรู้สึกมืดแปดด้าน หาทางออกไม่ได้ คิดได้แต่ทำร้ายตัวเอง และหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย
“ปัญหาความผิดหวังจากการเจอตัวจริงที่ต่างจากโลกออนไลน์พบว่ามีมากขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อย่างเมื่อ 7-8 ปีก่อน มีแค่ ICQ แคมฟร็อก ปัญหายังไม่เยอะเท่านี้ แต่ปัจจุบันปัญหานี้เกิดขึ้นกับวัยรุ่นเยอะมาก เพราะที่เข้ามาปรึกษาส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัยรุ่น ที่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในการค้นหาเพื่อนใหม่ ส่วนวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้คุยกับเพื่อนเก่าหรือทำงาน ถือเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทย จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ต้องเข้าใจรูปแบบของการสื่อสารเช่นนี้ ว่าภาพลักษณ์ หรือข้อความต่างๆ ที่เราเห็นอาจไม่เป็นจริง ไม่สวยหรูอย่างที่วาดไว้ ต้องเผื่อใจ เพราะการสื่อสารเป็นแบบเซมิเรียลไทม์ คือ มีห่วงเวลาในการปรับแต่งให้ดูดีได้ แม้จะเป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะผู้หญิงต้องระมัดระวังในการไปเจอตัวจริง ควรพาเพื่อนไปด้วยในการคุยต่อหน้าและไปที่สาธารณะ และเผื่อใจไว้ ถ้าไม่ถูกใจจะได้ไม่เสียใจภายหลัง” นพ.วรตม์ กล่าว
นพ.วรตม์ กล่าวว่า ขอแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลลูกหลานเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด หรือหากคิดว่าตัวเองมีปัญหากับความผิดหวังแบบนี้ อย่าอายที่จะปรึกษา ขอให้ปรึกษาพ่อแม่ เพื่อน คนใกล้ชิด หรือแม้แต่จิตแพทย์ เพื่อหาทางออก ที่สำคัญคนรับฟังปัญหาอย่ามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่สำคัญ เพราะสุดท้ายอาจทำให้เกิดความผิดหวัง ทำร้ายตัวเอง และฆ่าตัวตายได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มิ.ย.) นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ในฐานะจิตแพทย์ด้านเด็กและสื่อ กล่าวถึงกรณีข่าวต่างประเทศที่ว่า หนุ่มกระโดดกลางห้างสรรพสินค้าฆ่าตัวตาย เนื่องจากผิดหวังจากใบหน้าสาวที่นัดเจอตัวจริง หลังคบกันผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งแม้จะเป็นข่าวมั่ว เพราะผู้ที่ฆ่าตัวตายเป็นเกย์ที่ถูกแฟนบอกเลิก ว่า แม้จะไม่ใช่ข่าวจริง แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะปกติคนเรามักจะนำเสนอตัวเองแต่ในด้านที่ดี เวลานำรูปลงเฟซบุ๊ก หรือ ไลน์ ซึ่งบางทีไม่รู้ว่ารูปนั้นผ่านมาแล้วกี่แอปพลิเคชัน บางคนใช้ 3-4 แอปฯในการแต่งรูป หรือแม้แต่โพสต์ข้อความก็มักจะคัดแต่สิ่งที่ดีของตัวเอง แต่พอเมื่อมาเจอตัวจริงก็พบว่าแตกต่างจากที่เคยเห็นในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาก ทั้งรูปร่างหน้าตา รวมไปถึงลักษณะนิสัย จึงทำให้เกิดความผิดหวังและตกใจ นอกจากนี้ ยังเป็นเพราะการเลือกภาพลักษณ์ที่ดีบางส่วนของฝ่ายตรงข้าม ทำให้เวลาคุยมักมีจินตนาการเติมเต็มต่อเข้าไปว่าตัวจริงจะต้องสวยหรูกว่าปกติ
นพ.วรตม์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ว่าทำไมผิดหวังแล้วถึงอาจฆ่าตัวตายได้ ทั้งที่คนส่วนใหญ่มองว่า ความผิดหวังจากการที่ตัวตนจริงแตกต่างจากโลกโซเชียล เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหลายคนให้ความสำคัญกับชีวิตคู่ หรือแฟน บางคนไม่เคยประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ หรืออาจเคยถูกเพื่อนล้อมีแฟนหน้าตาไม่ดี จึงตั้งความหวังเอาไว้สูง เห็นว่าคนนี้สวยด้วย จะเป็นแฟนเราด้วย หวังที่จะแต่งงาน แต่เมื่อมาเจอแล้วไม่ใช่จึงเกิดความผิดหวังซึ่งความสามารถในการรับมือกับความผิดหวังคนเราไม่เท่ากัน อยู่ที่ตัวของเราและช่วงเวลาในขณะนั้น เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง มีบุคลิกภาพทางจิตอยู่เดิม มีความเครียด พอเกิดความผิดหวังอย่างกระทันหัน เกิดรู้สึกมืดแปดด้าน หาทางออกไม่ได้ คิดได้แต่ทำร้ายตัวเอง และหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย
“ปัญหาความผิดหวังจากการเจอตัวจริงที่ต่างจากโลกออนไลน์พบว่ามีมากขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อย่างเมื่อ 7-8 ปีก่อน มีแค่ ICQ แคมฟร็อก ปัญหายังไม่เยอะเท่านี้ แต่ปัจจุบันปัญหานี้เกิดขึ้นกับวัยรุ่นเยอะมาก เพราะที่เข้ามาปรึกษาส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัยรุ่น ที่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในการค้นหาเพื่อนใหม่ ส่วนวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้คุยกับเพื่อนเก่าหรือทำงาน ถือเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทย จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ต้องเข้าใจรูปแบบของการสื่อสารเช่นนี้ ว่าภาพลักษณ์ หรือข้อความต่างๆ ที่เราเห็นอาจไม่เป็นจริง ไม่สวยหรูอย่างที่วาดไว้ ต้องเผื่อใจ เพราะการสื่อสารเป็นแบบเซมิเรียลไทม์ คือ มีห่วงเวลาในการปรับแต่งให้ดูดีได้ แม้จะเป็นการสื่อสารแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะผู้หญิงต้องระมัดระวังในการไปเจอตัวจริง ควรพาเพื่อนไปด้วยในการคุยต่อหน้าและไปที่สาธารณะ และเผื่อใจไว้ ถ้าไม่ถูกใจจะได้ไม่เสียใจภายหลัง” นพ.วรตม์ กล่าว
นพ.วรตม์ กล่าวว่า ขอแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลลูกหลานเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด หรือหากคิดว่าตัวเองมีปัญหากับความผิดหวังแบบนี้ อย่าอายที่จะปรึกษา ขอให้ปรึกษาพ่อแม่ เพื่อน คนใกล้ชิด หรือแม้แต่จิตแพทย์ เพื่อหาทางออก ที่สำคัญคนรับฟังปัญหาอย่ามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่สำคัญ เพราะสุดท้ายอาจทำให้เกิดความผิดหวัง ทำร้ายตัวเอง และฆ่าตัวตายได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่