ตลาดเฉอะแฉะหน้าฝน เสี่ยงแพร่โรค กรมอนามัยจี้พ่อค้าแม่ค้า ทำความสะอาด 3 จุด พื้น เขียง แผง เผย 2 ขั้นตอนเด็ดการล้างตลาดถูกสุขาภิบาล แนะล้างเดือนละ 2-3 ครั้ง
วันนี้ (7 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมตลาดสด ภายใต้ “โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย” ร่วมกับองค์ตลาด กระทรวงมหาดไทย ณ ตลาดยอดพิมานและปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้พื้นที่ในตลาดอาจเลอะด้วยคราบดิน โคลน และมีน้ำขัง ผู้ประกอบการควรมีการล้างตลาดสดเดือนละครั้ง หรือล้างบ่อยๆ เดือนละ 2-3 ครั้ง เพื่อชะล้างคราบ โดยเน้นที่ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ พื้น เขียง และแผง โดยเฉพาะแผงจำหน่ายผัก เพราะเป็นจุดที่อยู่ใกล้ชิดและสัมผัสอาหารมากที่สุด จึงสามารถเป็นเส้นทางผ่านเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ส่วนการล้างตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสกัดเชื้อโรคได้ ซึ่งการล้างตลาดที่ถูกหลักสุขาภิบาลมี 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นที่ 1 การล้างด้วยน้ำและผงซักฟอกเพื่อกำจัดคราบสกปรก แล้วฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนบริเวณบนแผงหรือพื้นทางเดิน แต่หากมีคราบไขมันจับให้ใช้น้ำผสมโซดาไฟราดลงบนพื้นหรือแผงทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถู เพื่อช่วยในการขจัดคราบไขมัน หรืออาจใช้น้ำหมักชีวภาพ (EM) เพื่อช่วยกำจัดไขมันและกลิ่น ทดแทนการใช้สารเคมี
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า และขั้นที่ 2 การฆ่าเชื้อโรคโดยใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีนใส่ลงในฝักบัวรดน้ำและลดบริเวณแผง เขียง ทางเดิน ทางระบายน้ำเสียให้ทั่ว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจางราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว สำหรับบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาดต้องทำความสะอาด โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคที่เกิดจากอาหาร และน้ำเป็นสื่อได้ นอกจากนี้ ยังเน้นการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด เช่น การจัดแผงให้เป็นระเบียบ ไม่รกรุงรัง ไม่วางสินค้ากีดขวางทางเดิน การจัดการขยะ น้ำเสียตามหลักสุขาภิบาล เพื่อสุขอนามัยที่ดี
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ประชาชนควรรู้จักวิธีป้องกันตนเองในการบริโภคอาหารที่สะอาด เช่น ควรล้างผักด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านผักสดนานอย่างน้อย 2 นาทีร่วมด้วยการใช้สารละลายอื่น ๆ เช่น เบคกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู น้ำยาล้างผัก การที่ประชาชนจะได้รับอาหารสดที่สะอาด ปลอดภัย ต้องเลือกซื้อสินค้าจากตลาดสดที่ได้มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัย เพราะมีการพัฒนาแล้ว ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการจัดการขยะ น้ำเสีย และจัดวางสินค้าเป็นระเบียบเรียบร้อย แผงจำหน่ายอาหารต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ผู้ขายหรือพ่อค้าแม่ค้าแต่งกายสะอาด ผู้ปรุงใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม 2) ด้านความปลอดภัยของอาหาร มีการตรวจสอบและไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ สารฟอร์มาลิน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลง 3) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาดต้องจัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการ
“ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยินดีสนับสนุนด้านวิชาการแก่องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย และผู้บริหารโครงการฯ ในการปรับปรุงตลาดทั้งสองแห่งนี้ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม และการเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้อำนวยการองค์การตลาด กระทรวงมหาไทย กล่าวว่า ปัจจุบันปากคลองตลาดเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมในรูปแบบการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด จากการจัดอันดับตลาดดอกไม้ทั่วโลก ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย และเนื่องจากตลาดนี้อยู่ในใจกลางกรุงเทพมหานคร มีความเก่าแก่ และชำรุดทรุดโทรมไปมาก ทางองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตลาดให้ถูกสุขอนามัย เพื่อเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
วันนี้ (7 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมตลาดสด ภายใต้ “โครงการตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย” ร่วมกับองค์ตลาด กระทรวงมหาดไทย ณ ตลาดยอดพิมานและปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้พื้นที่ในตลาดอาจเลอะด้วยคราบดิน โคลน และมีน้ำขัง ผู้ประกอบการควรมีการล้างตลาดสดเดือนละครั้ง หรือล้างบ่อยๆ เดือนละ 2-3 ครั้ง เพื่อชะล้างคราบ โดยเน้นที่ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ พื้น เขียง และแผง โดยเฉพาะแผงจำหน่ายผัก เพราะเป็นจุดที่อยู่ใกล้ชิดและสัมผัสอาหารมากที่สุด จึงสามารถเป็นเส้นทางผ่านเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ส่วนการล้างตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสกัดเชื้อโรคได้ ซึ่งการล้างตลาดที่ถูกหลักสุขาภิบาลมี 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ ขั้นที่ 1 การล้างด้วยน้ำและผงซักฟอกเพื่อกำจัดคราบสกปรก แล้วฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนบริเวณบนแผงหรือพื้นทางเดิน แต่หากมีคราบไขมันจับให้ใช้น้ำผสมโซดาไฟราดลงบนพื้นหรือแผงทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถู เพื่อช่วยในการขจัดคราบไขมัน หรืออาจใช้น้ำหมักชีวภาพ (EM) เพื่อช่วยกำจัดไขมันและกลิ่น ทดแทนการใช้สารเคมี
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า และขั้นที่ 2 การฆ่าเชื้อโรคโดยใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีนใส่ลงในฝักบัวรดน้ำและลดบริเวณแผง เขียง ทางเดิน ทางระบายน้ำเสียให้ทั่ว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจางราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว สำหรับบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาดต้องทำความสะอาด โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคที่เกิดจากอาหาร และน้ำเป็นสื่อได้ นอกจากนี้ ยังเน้นการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด เช่น การจัดแผงให้เป็นระเบียบ ไม่รกรุงรัง ไม่วางสินค้ากีดขวางทางเดิน การจัดการขยะ น้ำเสียตามหลักสุขาภิบาล เพื่อสุขอนามัยที่ดี
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ประชาชนควรรู้จักวิธีป้องกันตนเองในการบริโภคอาหารที่สะอาด เช่น ควรล้างผักด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านผักสดนานอย่างน้อย 2 นาทีร่วมด้วยการใช้สารละลายอื่น ๆ เช่น เบคกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู น้ำยาล้างผัก การที่ประชาชนจะได้รับอาหารสดที่สะอาด ปลอดภัย ต้องเลือกซื้อสินค้าจากตลาดสดที่ได้มาตรฐานตลาดสด น่าซื้อของกรมอนามัย เพราะมีการพัฒนาแล้ว ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างตลาดต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการจัดการขยะ น้ำเสีย และจัดวางสินค้าเป็นระเบียบเรียบร้อย แผงจำหน่ายอาหารต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ผู้ขายหรือพ่อค้าแม่ค้าแต่งกายสะอาด ผู้ปรุงใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม 2) ด้านความปลอดภัยของอาหาร มีการตรวจสอบและไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ สารฟอร์มาลิน สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว และยาฆ่าแมลง 3) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบกิจการตลาดต้องจัดบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดจุดทดสอบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีเครื่องชั่งกลางที่ได้มาตรฐานไว้บริการ
“ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยินดีสนับสนุนด้านวิชาการแก่องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย และผู้บริหารโครงการฯ ในการปรับปรุงตลาดทั้งสองแห่งนี้ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม และการเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้อำนวยการองค์การตลาด กระทรวงมหาไทย กล่าวว่า ปัจจุบันปากคลองตลาดเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมในรูปแบบการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด จากการจัดอันดับตลาดดอกไม้ทั่วโลก ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย และเนื่องจากตลาดนี้อยู่ในใจกลางกรุงเทพมหานคร มีความเก่าแก่ และชำรุดทรุดโทรมไปมาก ทางองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตลาดให้ถูกสุขอนามัย เพื่อเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะตลาด พ.ศ.2551 อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร