ประเทศไทยขยะล้นเมือง เกิดขยะปีละ 15 ล้านตัน แต่กำจัดขยะไม่ถูกต้องถึง 81% เตรียมเสนอ ครม. ชุดใหม่ปรับกองขยะไม่แพร่สารเคมีลงแหล่งน้ำทำสวนสาธารณะ พร้อมออกกฎหมายเก็บค่าบำบัดขยะ เล็งผุดโครงการจับมือออมสินให้ นร. นำขยะแลกเงิน
วันนี้ (4 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรม รณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิ.ย. ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นประมาณ 41,532 ตันต่อวัน หรือกว่า 15 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็น กทม. 8,766 ตัน เขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยา 16,620 ตัน และนอกเขตเทศบาลประมาณ 16,146 ตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารและอินทรีย์สารร้อยละ 64 เป็นขยะนำไปรีไซเคิลได้ร้อยละ 30 แต่ถูกนำกลับไปรีไซเคิลเพียง 26% เท่านั้น หรือ 3.91 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะได้รับงบประมาณก่อสร้างระบบกำจัดขยะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีการกำจัดขยะแบบไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง เผาในที่โล่ง เป็นต้น ถึงร้อยละ 81 ของสถานที่ที่มีการกำจัดขยะ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาคือ 1. แยกขยะครัวเรือนหรือการแยกทิ้งขยะ ซึ่งบางส่วนจะถูกนำไปจำหน่าย นำกลับไปใช้ใหม่ จนขยะที่ต้องนำไปกำจัดมีน้อยลง 2. ออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดขยะ ซึ่งเดิมไม่สามารถเก็บได้ 3. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดการเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อ เน้นการบำบัดหรือกำจัดที่แหล่งกำเนิด 4. สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีวิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ และเข้มงวดการทิ้ง การกำจัดขยะอันตราย และ 5. สำรวจกองขยะเก่าเพื่อทำสวนสาธารณะ
“ล่าสุด กรมฯได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ลงนามความร่วมมือสำรวจกองขยะเก่าเพื่อปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะใหม่ เบื้องต้นพบกองขยะเก่ามีสูงถึง 2,490 แห่งจากทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1. บ่อขยะที่มีการจัดการถูกสุขลักษณะจำนวน 466 บ่อ เป็นบ่อของภาครัฐ 427 บ่อ 2. บ่อขยะที่ไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ 2,024 บ่อ หรือประมาณ 80% โดยเป็นของรัฐถึง 1,889 บ่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นของ อปท. และ เทศบาลต่างๆ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า กรมอนามัยจะเสนอ ครม. ชุดใหม่ 3 เรื่อง คือ 1.ทำกองขยะให้เป็นสวนสาธารณะ โดยจะตรวจสอบก่อนว่ากองขยะใดไม่มีการปล่อยสารเคมี โลหกะหนักลงแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง และจะทำข้อเสนอให้เจ้าของพื้นที่หรือท้องถิ่นฝังกลบทำเป็นสวนสาธารณะ 2. เสนอร่างกฎกระทรวงเก็บค่าบำบัดขยะเพิ่มเติม เพราะที่ผ่านมาประชาชนจะเสียแค่ค่าขนขยะไปทิ้งเท่านั้น ต้องเพิ่มเรื่องการบำบัดขยะให้ถูกวิธีด้วย เบื้องต้นเสนอว่า ครัวเรือนไหนมีขยะมากเกิน 5 กิโลกรัมจะต้องจ่ายค่าบำบัดขยะไม่เกิน 150 บาทต่อเดือน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะกำหนดราคาแตกต่างกัน และ 3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ฉบับปรับปรุง 2550 หากไม่ดำเนินการตามก็จะมีความผิดโดยมีโทษปรับเบื้องต้น 10,000 บาท
“นอกจากนี้ จากโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยในปี 2558 จะดำเนินการสร้างส้วมในโรงเรียนต่างๆ เบื้องต้น 60 แห่ง จึงมีแนวคิดเชิญชวนคนในกรมอนามัยจัดหาขยะหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วนำมาขาย เพื่อสมทบทุนในโครงการดังกล่าว รวมถึงจะหารือกับธนาคารออมสิน เพื่อแลกขยะเป็นทุนการศึกษาให้เด็กด้วย โดยเปิดบัญชีให้นักเรียนเก็บออม ด้วยการนำขยะเหลือใช้จากบ้านเรือน นำมาให้ทางโรงเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากนั้นทางโรงเรียนจะนำไปชั่งขายและนำเงินเข้าบัญชีเด็ก ซึ่งนอกจากจะได้จัดเก็บขยะอย่างถูกวิธี ลดปริมาณการใช้ขยะ ยังช่วยให้เด็กรู้จักการเก็บออมเงิน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรม รณรงค์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิ.ย. ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นประมาณ 41,532 ตันต่อวัน หรือกว่า 15 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็น กทม. 8,766 ตัน เขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยา 16,620 ตัน และนอกเขตเทศบาลประมาณ 16,146 ตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารและอินทรีย์สารร้อยละ 64 เป็นขยะนำไปรีไซเคิลได้ร้อยละ 30 แต่ถูกนำกลับไปรีไซเคิลเพียง 26% เท่านั้น หรือ 3.91 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะได้รับงบประมาณก่อสร้างระบบกำจัดขยะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีการกำจัดขยะแบบไม่ถูกต้อง เช่น เทกองกลางแจ้ง เผาในที่โล่ง เป็นต้น ถึงร้อยละ 81 ของสถานที่ที่มีการกำจัดขยะ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาคือ 1. แยกขยะครัวเรือนหรือการแยกทิ้งขยะ ซึ่งบางส่วนจะถูกนำไปจำหน่าย นำกลับไปใช้ใหม่ จนขยะที่ต้องนำไปกำจัดมีน้อยลง 2. ออกกฎหมายเก็บค่าธรรมเนียมกำจัดขยะ ซึ่งเดิมไม่สามารถเก็บได้ 3. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดการเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อ เน้นการบำบัดหรือกำจัดที่แหล่งกำเนิด 4. สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีวิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ และเข้มงวดการทิ้ง การกำจัดขยะอันตราย และ 5. สำรวจกองขยะเก่าเพื่อทำสวนสาธารณะ
“ล่าสุด กรมฯได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ลงนามความร่วมมือสำรวจกองขยะเก่าเพื่อปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะใหม่ เบื้องต้นพบกองขยะเก่ามีสูงถึง 2,490 แห่งจากทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1. บ่อขยะที่มีการจัดการถูกสุขลักษณะจำนวน 466 บ่อ เป็นบ่อของภาครัฐ 427 บ่อ 2. บ่อขยะที่ไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ 2,024 บ่อ หรือประมาณ 80% โดยเป็นของรัฐถึง 1,889 บ่อ โดยส่วนใหญ่จะเป็นของ อปท. และ เทศบาลต่างๆ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า กรมอนามัยจะเสนอ ครม. ชุดใหม่ 3 เรื่อง คือ 1.ทำกองขยะให้เป็นสวนสาธารณะ โดยจะตรวจสอบก่อนว่ากองขยะใดไม่มีการปล่อยสารเคมี โลหกะหนักลงแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง และจะทำข้อเสนอให้เจ้าของพื้นที่หรือท้องถิ่นฝังกลบทำเป็นสวนสาธารณะ 2. เสนอร่างกฎกระทรวงเก็บค่าบำบัดขยะเพิ่มเติม เพราะที่ผ่านมาประชาชนจะเสียแค่ค่าขนขยะไปทิ้งเท่านั้น ต้องเพิ่มเรื่องการบำบัดขยะให้ถูกวิธีด้วย เบื้องต้นเสนอว่า ครัวเรือนไหนมีขยะมากเกิน 5 กิโลกรัมจะต้องจ่ายค่าบำบัดขยะไม่เกิน 150 บาทต่อเดือน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะกำหนดราคาแตกต่างกัน และ 3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ฉบับปรับปรุง 2550 หากไม่ดำเนินการตามก็จะมีความผิดโดยมีโทษปรับเบื้องต้น 10,000 บาท
“นอกจากนี้ จากโครงการสุขอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยในปี 2558 จะดำเนินการสร้างส้วมในโรงเรียนต่างๆ เบื้องต้น 60 แห่ง จึงมีแนวคิดเชิญชวนคนในกรมอนามัยจัดหาขยะหรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วนำมาขาย เพื่อสมทบทุนในโครงการดังกล่าว รวมถึงจะหารือกับธนาคารออมสิน เพื่อแลกขยะเป็นทุนการศึกษาให้เด็กด้วย โดยเปิดบัญชีให้นักเรียนเก็บออม ด้วยการนำขยะเหลือใช้จากบ้านเรือน นำมาให้ทางโรงเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากนั้นทางโรงเรียนจะนำไปชั่งขายและนำเงินเข้าบัญชีเด็ก ซึ่งนอกจากจะได้จัดเก็บขยะอย่างถูกวิธี ลดปริมาณการใช้ขยะ ยังช่วยให้เด็กรู้จักการเก็บออมเงิน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่