สธ. เผย 1 ปี พบรายงานแจ้งจับหมอ-คลินิกความงามเถื่อน 45 ราย เตือนโฆษณาชวนเชื่อในโซเชียลมีเดียจำนวนมาก ระวังอย่าหลงเชื่อ แนะก่อนใช้บริการให้ตรวจสอบหลักฐาน 3 อย่าง ช่วยเซฟชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อทำหน้าพัง วอนช่วยกันแจ้งจับกวาดล้าง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชายหนุ่มเข้ารับฉีดฟิลเลอร์เสริมจมูก จากคลินิกที่โฆษณาทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่ไม่ทราบว่าเป็นคลินิกเถื่อน จนทำให้ตาบอด เนื่องจากฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงดวงตา ส่วนอีก 1 ราย จมูกเน่า ว่า ได้ให้สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กองกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ซึ่งรับผิดชอบดูแลมาตรฐานสถานพยาบาลเอกชน ทั้งประเภทคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนที่มีทั้งหมดเกือบ 18,000 แห่งทั่วประเทศ เร่งกวาดล้างสถานพยาบาลเถื่อน โดยเฉพาะคลินิกเสริมความงาม ซึ่งมีการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เป็นจำนวนมาก และยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ จึงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนร่วมสอดส่องแจ้งเบาะแส เพื่อดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน หากพบการกระทำความผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ละเว้น
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแสจากประชาชน และส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ ดำเนินการตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญขอให้เร่งเผยแพร่ความรู้กับประชาชนทุกช่องทาง รวมทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่าเป็นคลินิกที่ถูกต้องกฎหมาย รักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง อย่าหลงเชื่อการโฆษณา โดยไม่ได้ตระหนักว่าเป็นคลินิกเถื่อนหรือไม่ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ทุกครั้งที่ไปใช้บริการขอให้ตรวจสอบหลักฐานสำคัญที่ สธ. กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องปฏิบัติตาม คือ 1. ใบอนุญาตการให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล 2. ใบอนุญาตดำเนินการของสถานพยาบาล และจะต้องมีรูปถ่ายติดไว้ที่ใบอนุญาตดำเนินการให้เห็นอย่างชัดเจน และ 3. แพทย์ที่ให้การตรวจรักษาจะต้องตรงกับรูปถ่ายที่ติดไว้หน้าห้องตรวจในคลินิก หากเข้าไปใช้บริการแล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว หรือไม่ครบถ้วน ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นสถานพยาบาลเถื่อน ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนคุ้มครองผู้รับบริการสุขภาพ โทร. 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดี สบส. กล่าวว่า ปัญหาการให้บริการคลินิกเสริมความงามเถื่อนที่พบบ่อย คือ ผู้ที่ทำการรักษาไม่ใช่แพทย์ และดำเนินการ 2 ลักษณะ คือลักลอบเปิดให้บริการเลียนแบบคลินิก มีผู้ให้บริการ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสถานพยาบาล และลักษณะหิ้วกระเป๋าไปให้บริการถึงที่ตามจุดที่นัดกันไว้ มักจะมีราคาถูก และบอกกันปากต่อปาก จึงขอเตือนประชาชนอย่าไปใช้บริการเสริมความงามกับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์อย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงอันตรายสูงมาก ถึงขั้นพิการ เสียโฉม หรือเสียชีวิตได้
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีคลินิกที่ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลินิกเถื่อน จะถูกดำเนินคดีฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้อีก มิฉะนั้นจะถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดิม กรณีหมอเถื่อนจะถูกดำเนินคดีฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 ได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานพยาบาลเถื่อนหมอเถื่อน 45 เรื่อง ได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชายหนุ่มเข้ารับฉีดฟิลเลอร์เสริมจมูก จากคลินิกที่โฆษณาทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่ไม่ทราบว่าเป็นคลินิกเถื่อน จนทำให้ตาบอด เนื่องจากฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงดวงตา ส่วนอีก 1 ราย จมูกเน่า ว่า ได้ให้สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กองกฎหมาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ซึ่งรับผิดชอบดูแลมาตรฐานสถานพยาบาลเอกชน ทั้งประเภทคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนที่มีทั้งหมดเกือบ 18,000 แห่งทั่วประเทศ เร่งกวาดล้างสถานพยาบาลเถื่อน โดยเฉพาะคลินิกเสริมความงาม ซึ่งมีการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม เป็นจำนวนมาก และยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ จึงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนร่วมสอดส่องแจ้งเบาะแส เพื่อดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน หากพบการกระทำความผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ละเว้น
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแสจากประชาชน และส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ ดำเนินการตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญขอให้เร่งเผยแพร่ความรู้กับประชาชนทุกช่องทาง รวมทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่าเป็นคลินิกที่ถูกต้องกฎหมาย รักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง อย่าหลงเชื่อการโฆษณา โดยไม่ได้ตระหนักว่าเป็นคลินิกเถื่อนหรือไม่ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ทุกครั้งที่ไปใช้บริการขอให้ตรวจสอบหลักฐานสำคัญที่ สธ. กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องปฏิบัติตาม คือ 1. ใบอนุญาตการให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล 2. ใบอนุญาตดำเนินการของสถานพยาบาล และจะต้องมีรูปถ่ายติดไว้ที่ใบอนุญาตดำเนินการให้เห็นอย่างชัดเจน และ 3. แพทย์ที่ให้การตรวจรักษาจะต้องตรงกับรูปถ่ายที่ติดไว้หน้าห้องตรวจในคลินิก หากเข้าไปใช้บริการแล้วไม่พบหลักฐานดังกล่าว หรือไม่ครบถ้วน ขอให้สงสัยว่าอาจเป็นสถานพยาบาลเถื่อน ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนคุ้มครองผู้รับบริการสุขภาพ โทร. 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้าน น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดี สบส. กล่าวว่า ปัญหาการให้บริการคลินิกเสริมความงามเถื่อนที่พบบ่อย คือ ผู้ที่ทำการรักษาไม่ใช่แพทย์ และดำเนินการ 2 ลักษณะ คือลักลอบเปิดให้บริการเลียนแบบคลินิก มีผู้ให้บริการ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสถานพยาบาล และลักษณะหิ้วกระเป๋าไปให้บริการถึงที่ตามจุดที่นัดกันไว้ มักจะมีราคาถูก และบอกกันปากต่อปาก จึงขอเตือนประชาชนอย่าไปใช้บริการเสริมความงามกับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์อย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงอันตรายสูงมาก ถึงขั้นพิการ เสียโฉม หรือเสียชีวิตได้
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีคลินิกที่ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลินิกเถื่อน จะถูกดำเนินคดีฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้อีก มิฉะนั้นจะถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดิม กรณีหมอเถื่อนจะถูกดำเนินคดีฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 ได้รับการแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานพยาบาลเถื่อนหมอเถื่อน 45 เรื่อง ได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่