สธ. หนุนเด็กไทยให้ดื่มนมจืดมากขึ้น เพื่อให้เติบโตสมวัย เผยขณะนี้เด็กไทยดื่มนมน้อยมากเมื่อเทียบกับทั่วโลก เฉลี่ยเพียงคนละ 14 ลิตรต่อปี น้อยกว่าเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 เท่า ต่ำกว่าทั่วโลก 7 เท่าตัว ส่งผลให้เตี้ยกว่าปกติ ไอคิวตกเกณฑ์สากล แนะให้ดื่มนมจืดให้ได้วันละ 2-3 แก้ว ดื่มหลังอาหารจะดีที่สุด
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 มิถุนายน ทุกปี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ (FAO) กำหนดให้เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) เพื่อให้ประเทศและองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญและสนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสรรพคุณของนม และดื่มนมอย่างเพียงพอ เนื่องจากนมมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับทุกวัย มีสารโปรตีนคุณภาพดีและมีปริมาณแคลเซียม มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และการพัฒนาไอคิวหรือความเฉลียวฉลาดทางปัญญา
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สธ. มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยดื่มนมจืดโดยเฉพาะเด็กไทย เพื่อสร้างแคลเซียม ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะนมโคสด 100 เปอร์เซ็นต์ ไขมันต่ำ รสจืด มีคุณค่าโภชนาการดีกว่านมที่มีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาลและกลิ่น เนื่องจากมีแคลเซียมในปริมาณมาก ช่วยสร้างกระดูก มีผลต่อการพัฒนาด้านความสูง เพื่อให้เด็กไทยเติบโตอย่างสมวัย แข็งแรง และร่างกายสมส่วน สูง และสมาร์ท จากผลสำรวจล่าสุด พบว่า เด็กไทยดื่มนมน้อยมาก เฉลี่ยคนละประมาณ 14 ลิตรต่อปี ต่ำกว่าเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก 3-7 เท่าตัวโดยเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดื่มเฉลี่ยคนละ 60 ลิตรต่อปี ขณะที่เด็กทั่วโลกดื่มเฉลี่ยคนละ 103.9 ลิตรต่อปี ส่งผลให้เด็กไทยเมื่อมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ มีความสูงเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเตี้ย ผู้ชายสูงเฉลี่ย 167.1 เซนติเมตร และผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157.4 เซนติเมตรเท่านั้น โดยเฉลี่ยเด็กไทยขณะนี้มีสัดส่วนความสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 61 จะเพิ่มให้ได้เป็นร้อยละ 70 เพื่อให้ทัดเทียมต่างประเทศ โดยให้เด็กผู้ชายต้องสูงเฉลี่ยให้ได้ 181.75 เซนติเมตร ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 162 เซนติเมตร และคนไทยอายุยืน 80 ปี ภายใน พ.ศ. 2566
ด้านนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มีผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดื่มนมวันละประมาณ 2 แก้ว หรือประมาณ 400-500 ซีซี ร่วมกับการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และการออกกำลังกายประเภทที่มีการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ บาสเก็ตบอล และโหนบาร์ จะช่วยเพิ่มความสูงได้ นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของสำนักโภชนาการ โดยนำนมโคสดแท้ซึ่งเป็นนมจืด นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิลิตรเท่ากัน มาเปรียบเทียบคุณค่าสารอาหาร พบว่า นมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่จำเป็น ได้แก่ แคลเซียม 135 มิลลิลิตร โปรตีน 3.3 กรัม วิตามินเอ 71 มิลลิกรัม และวิตามันอี 0.22 มิลลิกรัม ในขณะที่นมปรุงแต่งรสหวานกลับให้สารที่จำเป็นลดลง คือ แคลเซียม ลงลดเหลือ 102 มิลลิกรัม โปรตีน 2.3 กรัม วิตามินเอ 28 มิลลิกรัม และวิตามินอี 0.16 มิลลิกรัม ดังนั้น นมโคสดจืดจึงเป็นนมที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในการดื่มเพื่อผลของการมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้การดื่มนมจืดจะลดพฤติกรรมการติดหวาน ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุด้วย
“เด็กที่มีรูปร่างเตี้ยที่เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูจะมีผลเสียหลายด้าน กล่าวคือ ด้านสติปัญญา การเรียนรู้ พบว่า ส่วนใหญ่จะมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามวัย โดยพบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยไอคิวเพียง 98.59 ขณะที่ไอคิวค่ากลางของมาตรฐานสากลเท่ากับ 100 และอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพบางอาชีพ ผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย หากตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างคลอดได้ เนื่องจากกระดูกเชิงกรานแคบ มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม และอาจเกิดภาวะเช่นนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้” นพ.พรเทพ กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาความสูงของเด็กให้สมวัยมีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ เด็กหญิงจะเริ่มเจริญเติบโตเร็วในช่วงชั้นประถมศึกษาที่ 6 ส่วนเด็กผู้ชายจะเติบโตเร็วในช่วงมัธยมศึกษาที่ 1 จึงขอให้เตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยนี้ ทั้งเรื่องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ 5 หมู่และหลากหลาย รวมทั้งเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ พร้อมดื่มนมทุกวัน โดยในวัยเด็กก่อนวัยเรียนให้ดื่มนมชนิดธรรมดา 2-3 แก้ว วัยเรียนดื่มนมวันละ 2 แก้ว เนื่องจากเด็กต้องมีการเจริญเติบโต ส่วนวัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารเพื่อใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จึงขอแนะนำให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ดื่มนมชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยวันละ 1 แก้ว ส่วนหญิงที่ตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรให้ดื่มวันละ 2 แก้ว ซึ่งแคลเซียมที่อยู่ในนมจะช่วยบำรุงกระดูกมารดาและสร้างกระดูกทารกในครรภ์
อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังมีความเข้าใจเรื่องการดื่มนมไม่ถูกต้อง โดยเข้าใจว่าลูกจะโตสูงใหญ่ได้ ควรจะต้องดื่มนมแทนน้ำเปล่า ซึ่งแม้ว่าข้อมูลทางวิชาการจะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่ก็ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เพราะหลังการดื่มนมแล้วจะทำให้อิ่ม ไม่อยากรับประทานอาหารอย่างอื่นอีก ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ ให้ดื่มนมหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 1 แก้ว หากผู้ที่ดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืด ท้องเสีย ขอเรียนว่าอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากดื่มนมไม่ต่อเนื่องหรือไม่ดื่มประจำตั้งแต่เด็ก โดยคนเอเชียฯส่วนใหญ่จะมีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสซึ่งอยู่ในนมที่จะลดลงมากเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป จึงทำให้ไม่เพียงพอที่จะไปย่อยน้ำตาลดังกล่าว ก็ไม่ต้องตกใจ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการเริ่มต้นดื่มในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพ และไม่ควรดื่มขณะท้องว่าง นายแพทย์ พรเทพ กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 มิถุนายน ทุกปี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ (FAO) กำหนดให้เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) เพื่อให้ประเทศและองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญและสนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสรรพคุณของนม และดื่มนมอย่างเพียงพอ เนื่องจากนมมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับทุกวัย มีสารโปรตีนคุณภาพดีและมีปริมาณแคลเซียม มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และการพัฒนาไอคิวหรือความเฉลียวฉลาดทางปัญญา
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สธ. มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยดื่มนมจืดโดยเฉพาะเด็กไทย เพื่อสร้างแคลเซียม ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะนมโคสด 100 เปอร์เซ็นต์ ไขมันต่ำ รสจืด มีคุณค่าโภชนาการดีกว่านมที่มีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาลและกลิ่น เนื่องจากมีแคลเซียมในปริมาณมาก ช่วยสร้างกระดูก มีผลต่อการพัฒนาด้านความสูง เพื่อให้เด็กไทยเติบโตอย่างสมวัย แข็งแรง และร่างกายสมส่วน สูง และสมาร์ท จากผลสำรวจล่าสุด พบว่า เด็กไทยดื่มนมน้อยมาก เฉลี่ยคนละประมาณ 14 ลิตรต่อปี ต่ำกว่าเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก 3-7 เท่าตัวโดยเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดื่มเฉลี่ยคนละ 60 ลิตรต่อปี ขณะที่เด็กทั่วโลกดื่มเฉลี่ยคนละ 103.9 ลิตรต่อปี ส่งผลให้เด็กไทยเมื่อมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ มีความสูงเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างเตี้ย ผู้ชายสูงเฉลี่ย 167.1 เซนติเมตร และผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157.4 เซนติเมตรเท่านั้น โดยเฉลี่ยเด็กไทยขณะนี้มีสัดส่วนความสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 61 จะเพิ่มให้ได้เป็นร้อยละ 70 เพื่อให้ทัดเทียมต่างประเทศ โดยให้เด็กผู้ชายต้องสูงเฉลี่ยให้ได้ 181.75 เซนติเมตร ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 162 เซนติเมตร และคนไทยอายุยืน 80 ปี ภายใน พ.ศ. 2566
ด้านนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มีผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดื่มนมวันละประมาณ 2 แก้ว หรือประมาณ 400-500 ซีซี ร่วมกับการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และการออกกำลังกายประเภทที่มีการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ บาสเก็ตบอล และโหนบาร์ จะช่วยเพิ่มความสูงได้ นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของสำนักโภชนาการ โดยนำนมโคสดแท้ซึ่งเป็นนมจืด นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิลิตรเท่ากัน มาเปรียบเทียบคุณค่าสารอาหาร พบว่า นมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่จำเป็น ได้แก่ แคลเซียม 135 มิลลิลิตร โปรตีน 3.3 กรัม วิตามินเอ 71 มิลลิกรัม และวิตามันอี 0.22 มิลลิกรัม ในขณะที่นมปรุงแต่งรสหวานกลับให้สารที่จำเป็นลดลง คือ แคลเซียม ลงลดเหลือ 102 มิลลิกรัม โปรตีน 2.3 กรัม วิตามินเอ 28 มิลลิกรัม และวิตามินอี 0.16 มิลลิกรัม ดังนั้น นมโคสดจืดจึงเป็นนมที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในการดื่มเพื่อผลของการมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้การดื่มนมจืดจะลดพฤติกรรมการติดหวาน ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุด้วย
“เด็กที่มีรูปร่างเตี้ยที่เป็นผลมาจากการเลี้ยงดูจะมีผลเสียหลายด้าน กล่าวคือ ด้านสติปัญญา การเรียนรู้ พบว่า ส่วนใหญ่จะมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามวัย โดยพบว่าเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยไอคิวเพียง 98.59 ขณะที่ไอคิวค่ากลางของมาตรฐานสากลเท่ากับ 100 และอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพบางอาชีพ ผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย หากตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างคลอดได้ เนื่องจากกระดูกเชิงกรานแคบ มีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม และอาจเกิดภาวะเช่นนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้” นพ.พรเทพ กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาความสูงของเด็กให้สมวัยมีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ เด็กหญิงจะเริ่มเจริญเติบโตเร็วในช่วงชั้นประถมศึกษาที่ 6 ส่วนเด็กผู้ชายจะเติบโตเร็วในช่วงมัธยมศึกษาที่ 1 จึงขอให้เตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยนี้ ทั้งเรื่องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ 5 หมู่และหลากหลาย รวมทั้งเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ พร้อมดื่มนมทุกวัน โดยในวัยเด็กก่อนวัยเรียนให้ดื่มนมชนิดธรรมดา 2-3 แก้ว วัยเรียนดื่มนมวันละ 2 แก้ว เนื่องจากเด็กต้องมีการเจริญเติบโต ส่วนวัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารเพื่อใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จึงขอแนะนำให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ดื่มนมชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยวันละ 1 แก้ว ส่วนหญิงที่ตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรให้ดื่มวันละ 2 แก้ว ซึ่งแคลเซียมที่อยู่ในนมจะช่วยบำรุงกระดูกมารดาและสร้างกระดูกทารกในครรภ์
อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังมีความเข้าใจเรื่องการดื่มนมไม่ถูกต้อง โดยเข้าใจว่าลูกจะโตสูงใหญ่ได้ ควรจะต้องดื่มนมแทนน้ำเปล่า ซึ่งแม้ว่าข้อมูลทางวิชาการจะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่ก็ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เพราะหลังการดื่มนมแล้วจะทำให้อิ่ม ไม่อยากรับประทานอาหารอย่างอื่นอีก ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ ให้ดื่มนมหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 1 แก้ว หากผู้ที่ดื่มนมแล้วมีอาการท้องอืด ท้องเสีย ขอเรียนว่าอาการดังกล่าวเป็นผลมาจากดื่มนมไม่ต่อเนื่องหรือไม่ดื่มประจำตั้งแต่เด็ก โดยคนเอเชียฯส่วนใหญ่จะมีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสซึ่งอยู่ในนมที่จะลดลงมากเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป จึงทำให้ไม่เพียงพอที่จะไปย่อยน้ำตาลดังกล่าว ก็ไม่ต้องตกใจ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการเริ่มต้นดื่มในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพ และไม่ควรดื่มขณะท้องว่าง นายแพทย์ พรเทพ กล่าว