ปัญหาการประชุมคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) สัญจรที่ผ่านมา ดูเหมือนจะปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากกรณียกเลิกให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็น ผอ.สปสช.เขต
ซึ่งลือกันว่ามีคำสั่งจาก นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ว่าห้าม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่างๆ ห้ามมาร่วมประชุม อปสข. ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าการดำเนินการด้านบริการสาธารณสุขอาจมีปัญหาเกิดขึ้นในระดับพื้นที่
สำหรับประเด็นดังกล่าวนั้น นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ประธาน อปสข. เขต 4 สระบุรี เปิดเผยว่า จริงๆ แล้วในระดับพื้นที่ยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คือผู้บริหารระดับบนจะมีปัญหาอะไรกันก็แล้วแต่ แต่ในระดับคนทำงานยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่มีปัญหา แต่ที่ห่วงคือเมื่อ นพ.สสจ.ไม่ได้เป็น ผอ.สปสช. เขตแล้ว ก็จะไม่ได้ร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมการฯ ทำให้การแก้ปัญหาในพื้นที่อาจสะดุดได้
“ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ นพ.สสจ. จะทราบดีที่สุดว่ามีปัญหาอะไร การปฏิบัติงานในสถานบริการมีปัญหาหรือไม่ หรือเงินที่ส่งไปยังสถานบริการนั้นมีการใช้อย่างคุ้มค่างานหรือไม่ หากการประชุม อปสข. ไม่มี นพ.สสจ. เข้าร่วม อปสข. ก็จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้เลย ทำให้การวางแผน กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการประเมินผลไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเรียบร้อย ทางแก้คืออาจจะต้องปรับให้ นพ.สสจ. มีรายชื่อเป็นหนึ่งในกรรมการของ อปสข. ด้วย แต่ไม่ใช่ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต”
นพ.ชูวิทย์ มองว่า การแยกผู้ซื้อบริการและผู้รับบริการออกจากกันเป็นเรื่องที่เห็นควร แต่นอกจากปัญหาเรื่องการประชุมแล้ว สิ่งที่อาจเป็นปัญหาอีกก็คือเรื่อง มาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ ซึ่งจะจ่ายเงินก่อนโดยยังไม่ต้องชี้ผิดถูก ซึ่ง นพ.สสจ. จะมีความใกล้ชิดกับบุคลากรในโรงพยาบาลมากกว่า การไกล่เกลี่ยไม่ให้ลูกน้องถูกลงโทษ หากยกเลิกไม่ให้ นพ.สสจ. ดำเนินการ แต่ให้ สปสช. ดำเนินการก็อาจมีปัญหา เพราะไม่รู้จักใกล้ชิดกับบุคลากรในสถานบริการ ซึ่งต่างจังหวัดเป็นโรงพยาบาลสังกัด สธ. 80-90%
นพ.ชูวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาเหล่านี้ต้องแยกการทำงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันให้ได้ โดยต้องยึดประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก คือหากจะทะเลาะกระทบกระทั่งกันได้ แต่ต้องไม่กระทบการดูแลคนไข้ ทั้งนี้ เชื่อว่าบุคลากรด้านสาธารณสุขล้วนมีจิตวิญญาณเพียงพอ ที่จะไม่เอาปัญหาที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงมาทำให้เกิดปัญหาในพื้นที่ เพราะหากนำมาเป็นปัญหาย่อมกระทบคนไข้แน่นอน
สอดคล้องกับ นพ.สุนทร ไทยสมัคร ประธาน อปสข. เขต 9 นครราชสีมา ที่ระบุว่า แม้ขณะนี้ นพ.สสจ. จะไม่มาประชุม อปสข. แล้ว โดยให้ระดับเจ้าหน้าที่มาประชุมแทน แต่ถามว่างานยังเดินหน้าได้หรือไม่ คำตอบคือยังสามารถเดินหน้าได้ ทั้งนี้ การไม่มี นพ.สสจ. มาประชุมก็จะทำให้การดำเนินงานช้าลง ปัญหาบางอย่างที่ควรแก้ไขได้อย่างรวดเร็วก็กลับช้าลง เพราะ นพ.สสจ. ไม่เข้าร่วมประชุม แต่ยืนยันว่าในทางปฏิบัตินั้นไม่มีปัญหาใดๆ
อย่างไรก็ตาม การแยก นพ.สสจ. ออกจาก ผอ.สปสช. เขต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณหน้าหรือ ต.ค. นี้ นายอมรทัต นิรัตศยกุล ประธาน อปสข. เขต 1 เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประชุมจากบอร์ดใหญ่ว่าหลังจากนี้แล้วจะให้ใครมาเป็น ผอ.สปสช. เขตแทน ทาง อปสข. จึงยังไม่มีการประชุมหรือการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ คงต้องรอให้ทางบอร์ด สปสช. มีคำสั่งมาให้ชัดเจนก่อน สำหรับเรื่องการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองหน่วยงานยังไม่มีปัญหา เพราะบุคลากรทั้ง 2 ฝ่ายต่างระลึกไว้เสมอว่าผลกระทบต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเองได้ แต่ห้ามเกิดขึ้นกับประชาชน
จากคำยืนยันของประธาน อปสข. ทั้ง 3 เขต ต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัญหาระดับพื้นที่คนทำงานยังไม่มี ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคลากรสาธารณสุขมีสปิริตในการทำงานมากเลยทีเดียว ก็คงได้แต่หวังว่าผู้บริหาร สธ. และ สปสช. จะเลิกการตั้งแง่ และหันมาจับมือร่วมกันทำงานในฐานะผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการร่วมกันจะดีกว่า ซึ่ง นพ.ชูวิทย์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า
“สธ. และ สปสช. ต้องบูรณาการงานร่วมกัน จะขาดปีกใดปีกหนึ่งไปไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะบินไม่ได้ งานไม่เดินหน้า คือถ้าจะทำงานก็ต้องทำงานร่วมกัน โดยยึดประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก”
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ซึ่งลือกันว่ามีคำสั่งจาก นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ว่าห้าม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่างๆ ห้ามมาร่วมประชุม อปสข. ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าการดำเนินการด้านบริการสาธารณสุขอาจมีปัญหาเกิดขึ้นในระดับพื้นที่
สำหรับประเด็นดังกล่าวนั้น นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ประธาน อปสข. เขต 4 สระบุรี เปิดเผยว่า จริงๆ แล้วในระดับพื้นที่ยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คือผู้บริหารระดับบนจะมีปัญหาอะไรกันก็แล้วแต่ แต่ในระดับคนทำงานยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่มีปัญหา แต่ที่ห่วงคือเมื่อ นพ.สสจ.ไม่ได้เป็น ผอ.สปสช. เขตแล้ว ก็จะไม่ได้ร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมการฯ ทำให้การแก้ปัญหาในพื้นที่อาจสะดุดได้
“ที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ นพ.สสจ. จะทราบดีที่สุดว่ามีปัญหาอะไร การปฏิบัติงานในสถานบริการมีปัญหาหรือไม่ หรือเงินที่ส่งไปยังสถานบริการนั้นมีการใช้อย่างคุ้มค่างานหรือไม่ หากการประชุม อปสข. ไม่มี นพ.สสจ. เข้าร่วม อปสข. ก็จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้เลย ทำให้การวางแผน กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการประเมินผลไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเรียบร้อย ทางแก้คืออาจจะต้องปรับให้ นพ.สสจ. มีรายชื่อเป็นหนึ่งในกรรมการของ อปสข. ด้วย แต่ไม่ใช่ในตำแหน่ง ผอ.สปสช. เขต”
นพ.ชูวิทย์ มองว่า การแยกผู้ซื้อบริการและผู้รับบริการออกจากกันเป็นเรื่องที่เห็นควร แต่นอกจากปัญหาเรื่องการประชุมแล้ว สิ่งที่อาจเป็นปัญหาอีกก็คือเรื่อง มาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ ซึ่งจะจ่ายเงินก่อนโดยยังไม่ต้องชี้ผิดถูก ซึ่ง นพ.สสจ. จะมีความใกล้ชิดกับบุคลากรในโรงพยาบาลมากกว่า การไกล่เกลี่ยไม่ให้ลูกน้องถูกลงโทษ หากยกเลิกไม่ให้ นพ.สสจ. ดำเนินการ แต่ให้ สปสช. ดำเนินการก็อาจมีปัญหา เพราะไม่รู้จักใกล้ชิดกับบุคลากรในสถานบริการ ซึ่งต่างจังหวัดเป็นโรงพยาบาลสังกัด สธ. 80-90%
นพ.ชูวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาเหล่านี้ต้องแยกการทำงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันให้ได้ โดยต้องยึดประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก คือหากจะทะเลาะกระทบกระทั่งกันได้ แต่ต้องไม่กระทบการดูแลคนไข้ ทั้งนี้ เชื่อว่าบุคลากรด้านสาธารณสุขล้วนมีจิตวิญญาณเพียงพอ ที่จะไม่เอาปัญหาที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูงมาทำให้เกิดปัญหาในพื้นที่ เพราะหากนำมาเป็นปัญหาย่อมกระทบคนไข้แน่นอน
สอดคล้องกับ นพ.สุนทร ไทยสมัคร ประธาน อปสข. เขต 9 นครราชสีมา ที่ระบุว่า แม้ขณะนี้ นพ.สสจ. จะไม่มาประชุม อปสข. แล้ว โดยให้ระดับเจ้าหน้าที่มาประชุมแทน แต่ถามว่างานยังเดินหน้าได้หรือไม่ คำตอบคือยังสามารถเดินหน้าได้ ทั้งนี้ การไม่มี นพ.สสจ. มาประชุมก็จะทำให้การดำเนินงานช้าลง ปัญหาบางอย่างที่ควรแก้ไขได้อย่างรวดเร็วก็กลับช้าลง เพราะ นพ.สสจ. ไม่เข้าร่วมประชุม แต่ยืนยันว่าในทางปฏิบัตินั้นไม่มีปัญหาใดๆ
อย่างไรก็ตาม การแยก นพ.สสจ. ออกจาก ผอ.สปสช. เขต ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณหน้าหรือ ต.ค. นี้ นายอมรทัต นิรัตศยกุล ประธาน อปสข. เขต 1 เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประชุมจากบอร์ดใหญ่ว่าหลังจากนี้แล้วจะให้ใครมาเป็น ผอ.สปสช. เขตแทน ทาง อปสข. จึงยังไม่มีการประชุมหรือการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ คงต้องรอให้ทางบอร์ด สปสช. มีคำสั่งมาให้ชัดเจนก่อน สำหรับเรื่องการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองหน่วยงานยังไม่มีปัญหา เพราะบุคลากรทั้ง 2 ฝ่ายต่างระลึกไว้เสมอว่าผลกระทบต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเองได้ แต่ห้ามเกิดขึ้นกับประชาชน
จากคำยืนยันของประธาน อปสข. ทั้ง 3 เขต ต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัญหาระดับพื้นที่คนทำงานยังไม่มี ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคลากรสาธารณสุขมีสปิริตในการทำงานมากเลยทีเดียว ก็คงได้แต่หวังว่าผู้บริหาร สธ. และ สปสช. จะเลิกการตั้งแง่ และหันมาจับมือร่วมกันทำงานในฐานะผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการร่วมกันจะดีกว่า ซึ่ง นพ.ชูวิทย์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า
“สธ. และ สปสช. ต้องบูรณาการงานร่วมกัน จะขาดปีกใดปีกหนึ่งไปไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะบินไม่ได้ งานไม่เดินหน้า คือถ้าจะทำงานก็ต้องทำงานร่วมกัน โดยยึดประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก”
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่