คนวัยทำงานป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมากขึ้น กรมแพทย์เผยสาเหตุทำงานเครียด ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ สังเกตอาการเตือนปวดหลังนานเกิน 2 สัปดาห์ และปวดร้าวลงขา ให้รีบพบแพทย์ด่วน ก่อนเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต แนะเลี่ยงยืน เดิน นั่งนานๆ ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมสภาพ การยกของหนัก การสูบบุหรี่ และอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ รวมถึงการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูก ซึ่งร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างกระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว ซึ่งปกติกระดูกที่งอกนี้จะไม่มีอาการ แต่บางรายอาจเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ทำให้ปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานช่วงอายุ 25 - 50 ปี สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่เคร่งเครียด ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าและเสื่อมสภาพลงไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการคือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาถือเป็นอาการเด่นของโรค แต่จะปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกกดมากหรือน้อย
“ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง และอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า แนวทางป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทคือการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี ในช่วงเวลาทำงานโดยการหลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการยกของหนักและควรออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง สามารถช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมสภาพ การยกของหนัก การสูบบุหรี่ และอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ รวมถึงการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูก ซึ่งร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างกระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัว ซึ่งปกติกระดูกที่งอกนี้จะไม่มีอาการ แต่บางรายอาจเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ทำให้ปวดร้าวไปตามเส้นประสาทของร่างกายได้
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานช่วงอายุ 25 - 50 ปี สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่เคร่งเครียด ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้าและเสื่อมสภาพลงไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการคือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาถือเป็นอาการเด่นของโรค แต่จะปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาทถูกกดมากหรือน้อย
“ถ้าทิ้งไว้นานเส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินและควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาจถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้รักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น จะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลง และอาจมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า แนวทางป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทคือการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี ในช่วงเวลาทำงานโดยการหลีกเลี่ยงการนั่ง ยืน เดิน เป็นระยะเวลานานๆ หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ลดน้ำหนักให้สมดุลกับร่างกาย งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการยกของหนักและควรออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแข็งแรง สามารถช่วยพยุงให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่