กรมแพทย์เผยผู้หญิงป่วยข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า เริ่มเป็นมากในวัย 40 ปีขึ้นไป แนะลดน้ำหนัก นั่งห้อยขาให้ฝ่าเท้าราบกับพื้นพอดี เลี่ยงนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบมากในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก 1. อายุที่เพิ่มขึ้น 2. การใช้งานข้อเข่ามาก 3. น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับ 4. การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาดหรือมีกระดูกผิวข้อแตก และ 5. มีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สำหรับอาการข้อเข่าเสื่อมคือปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่น่องและข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้ออุ่นหรือร้อนขึ้น ข้อขัด ข้อฝืด เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่าจากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ ข้อเข่าบวมเพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือมีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าแตกออกมา เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือมีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การรักษามีหลายวิธี ได้แก่ กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า แต่ถ้าใช้นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ การกินยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ ยาชะลอความเสื่อม ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน - 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อหรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การป้องกันคือ ควรลดน้ำหนักเพื่อให้เข่ารับแรงกดน้อยลง จัดท่านั่งบนเก้าอี้ที่เหมาะสมสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น เวลาเข้าห้องน้ำควรนั่งบนโถนั่งชักโครก ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมากหรือทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้นและอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ยหรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมีขนาดกระชับพอดี
“ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูปควรใช้ไม้เท้า เพื่อช่วยรับน้ำหนักและช่วยพยุงตัว ที่สำคัญควรออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็วๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาด และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ ถ้ามีอาการปวดให้พักการใช้ข้อเข่าและประคบด้วยความเย็นความร้อนหรือใช้ยานวดร่วมด้วยได้” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึกจะมีการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบมากในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก 1. อายุที่เพิ่มขึ้น 2. การใช้งานข้อเข่ามาก 3. น้ำหนักตัวที่มากขึ้นทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับ 4. การได้รับบาดเจ็บ เช่น การมีเอ็นไขว้หรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาดหรือมีกระดูกผิวข้อแตก และ 5. มีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สำหรับอาการข้อเข่าเสื่อมคือปวดข้อเข่า รู้สึกเมื่อย ตึงที่น่องและข้อพับเข่า ผิวหนังบริเวณข้ออุ่นหรือร้อนขึ้น ข้อขัด ข้อฝืด เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่าจากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ ข้อเข่าบวมเพราะน้ำไขข้อมากขึ้นจากการอักเสบ หรือมีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าแตกออกมา เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือมีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูปร่าง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การรักษามีหลายวิธี ได้แก่ กายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อาจใช้ผ้ารัดเข่า เฝือกอ่อนพยุงเข่า แต่ถ้าใช้นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อลีบ การกินยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ ยาชะลอความเสื่อม ฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเฉลี่ย 6 เดือน - 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง การผ่าตัดถือเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ใช้ในการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการมาก และรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล เช่น ผ่าตัดจัดแนวกระดูกใหม่เพื่อลดเข่าโก่ง ส่องกล้องเข้าไปในข้อหรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า การป้องกันคือ ควรลดน้ำหนักเพื่อให้เข่ารับแรงกดน้อยลง จัดท่านั่งบนเก้าอี้ที่เหมาะสมสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งราบบนพื้น เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น เวลาเข้าห้องน้ำควรนั่งบนโถนั่งชักโครก ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียงที่ชันมากหรือทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้นและอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ยหรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมีขนาดกระชับพอดี
“ผู้ที่ปวดมากหรือข้อเข่าโก่งผิดรูปควรใช้ไม้เท้า เพื่อช่วยรับน้ำหนักและช่วยพยุงตัว ที่สำคัญควรออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ เป็นต้น ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนักที่เข่าเพิ่มขึ้น เช่น วิ่งเร็วๆ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล เทนนิส แบดมินตัน บาสเกตบอล เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเข่าเกิดการฉีกขาด และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ ถ้ามีอาการปวดให้พักการใช้ข้อเข่าและประคบด้วยความเย็นความร้อนหรือใช้ยานวดร่วมด้วยได้” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว