โพลชี้คนสูบบุหรี่เกินครึ่งเพราะอยากลอง เห็นด้วยมาตรการขึ้นภาษีช่วยลดการสูบลงได้ รู้ดีวิธีเลิก แต่ไม่มีกำลังใจในการเลิกสูบ ระบุขึ้นภาษีบุหรี่จะเลิกสูบ 7% ด้าน “หมอประกิต” ยันไม่ช่วยให้เลิกสูบเยอะขนาดนี้ เหตุต้องขึ้นภาษียาเส้นด้วย เพราะอาจหันไปสูบแทนจากการมีราคาถูกกว่า
วันนี้ (28 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันงดสูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปี ซึ่งปีนี้องค์การอนามัยโลกกำหนดประเด็นการรณรงค์ คือ “Raise Taxes on Tobacco” หรือ “บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” เพราะผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มภาษีช่วยลดการบริโภคยาสูบได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้ต่ำ และป้องกันเยาวชนจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การเพิ่มภาษีทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ลดการบริโภคยาสูบได้ร้อยละ 4 ในประเทศที่มีรายได้สูง และร้อยละ 8 ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า แต่ละปีบุหรี่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลก จำนวนเกือบ 6 ล้านคน จำนวนนี้มากกว่า 600,000 ราย เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ถ้าหากไม่มีการดำเนินการใดๆ คาดว่าในปี 2030 ประชากรมากกว่า 8 ล้านคนในทุกปี จะเสียชีวิตจากบุหรี่ และมากกว่าร้อยละ 80 ของการเสียชีวิตเหล่านี้จะเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ โดยปี 2554 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป 9.9 ล้านคนสูบบุหรี่ประจำ เด็กไทยเริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้น เฉลี่ยที่อายุ 16.2 ปี ขณะนี้ คร. กำลังเร่งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ โดยจะลดนักสูบรายใหม่ ลดนักสูบรายเก่าในเขตชนบท โดยเฉพาะผู้สูบยาเส้น และลดควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน ที่สาธารณะ และที่บ้าน พร้อมกับเพิ่มกลไกการป้องกันอุตสาหกรรมยาสูบแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของรัฐ เพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่ จังหวัด และท้องถิ่น และเพิ่มนวัตกรรมการควบคุมยาสูบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผู้บริโภคยาสูบรายใหม่
นพ.โสภณ กล่าวว่า การเพิ่มภาษียาสูบเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการควบคุมยาสูบที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด โดยประเด็นการรณรงค์ “บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” ในวันงดสูบบุหรี่โลก จะจัดขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. เวลา 11.00 - 19.00 น. ที่บริเวณ Cascata ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน และประทานรางวัล World No Tobacco Day Award 2014 และโล่ประกาศเกียรติคุณแก่เครือข่ายที่มีการดำเนินการดีเด่นตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2557 รวมทั้งบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดี คร. กล่าวว่า กรมฯได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ เรื่องบุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด ในชาวไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,200 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายสูบบุหรี่มากมากว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 31-45 ปี สูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่สูบบุหรี่คือ อยากลอง ร้อยละ 50.3 คลายเครียด ร้อยละ 43.8 และเพื่อนชวน ร้อยละ 31.0
นพ.นพพร กล่าวอีกว่า ถ้าขึ้นราคาบุหรี่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ซื้อ ร้อยละ 44.2 รองลงมา จะซื้อ ร้อยละ 43.3 และเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 7.2 เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างทราบหรือไม่ว่า การเลิกบุหรี่ต้องทำอย่างไร พบว่า ทราบ ร้อยละ 56.0 แต่ไม่สามารถเลิกได้ เนื่องมาจากไม่มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่มากพอ หรือสูบบุหรี่มานานแล้วจนไม่สามารถเลิกได้ และเมื่อถามว่าถ้ามีการขึ้นภาษีบุหรี่ เพื่อลดนักสูบหน้าใหม่ เห็นด้วยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วย ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 30.9 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.3
“การลดสิงห์รมควัน และป้องกันนักสูบหน้าใหม่ นอกจากการเพิ่มภาษียาสูบแล้ว ต้องดำเนินงานอื่นๆ ด้วย เช่น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกเยี่ยมบ้านผู้ติดบุหรี่ที่ต้องการเลิก เพื่อให้ความรู้ให้กำลังใจ ช่วยแก้ปัญหา ผู้นำในชุมชนช่วยกันตักเตือนเมื่อเห็นผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและช่วยตักเตือนเมื่อเห็นผู้สูบบุหรี่ รวมทั้งช่วยกันให้กำลังใจผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ และครอบครัวควรอบรมให้ความรู้แก่บุตรหลาน ให้ความรัก เอาใจใส่ให้คำปรึกษาเวลาที่บุตรหลานมีปัญหา เป็นต้น” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ผลการสำรวจดังกล่าวเมื่อขึ้นภาษีบุหรี่จะไม่ซื้อร้อยละ 44.2 และจะเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 7.2 นั้นไม่เป็นความจริง เพราะจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า แม้จะขึ้นภาษีบุหรี่ แต่ไม่ขึ้นภาษียาเส้น ก็ทำให้นักสูบหันมาสูบยาเส้นแทน เพราะถูกกว่า และพบว่ามีคนที่เลิกสูบบุหรี่เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น โดยยาเส้นถือเป็นอีกกลุ่มที่ต้องขึ้นภาษี เพราะที่ผ่านมายาเส้นขึ้นภาษีเพียง 1 บาทต่อกรัมเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก ถึงเวลาที่ควรขึ้นภาษีเต็มเพดาน คือ 3 บาทต่อกรัม ส่วนบุหรี่ซิกาแรตควรปรับเพิ่มเช่นกัน แบ่งเป็นคิดตามมูลค่าจากปัจจุบันเก็บภาษีร้อยละ 87 เป็นร้อยละ 90 ส่วนคิดตามสภาพจาก 1 บาทต่อกรัมเพิ่มเป็น 1.5 บาทต่อกรัม หรือ 1.5 บาทต่อมวน
“ที่สำคัญซิการ์ก็ควรขึ้นภาษีให้มากขึ้น เพราะคนรวยนิยมสูบ แต่ขึ้นภาษีน้อย โดยเดิมคิดตามมูลค่าร้อยละ 20 ควรปรับเป็นร้อยละ 50 ส่วนการคิดตามปริมาณนั้นอยู่ที่ 1 บาทต่อกรัมให้เพิ่มเป็น 5 บาทต่อกรัม อีกทั้งต้องขึ้นค่าใบอนุญาตขายปลีกยาสูบด้วย เพราะปัจจุบันร้านค้าปลีกมีจำนวนมากอย่างขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตมีถึง 670,000 ราย ขณะที่ขายปลีกยาเส้นมีถึง 370,000 ราย หากเพิ่มค่าใบอนุญาตจาก 40 บาทต่อปี เป็น 200 บาทต่อปี ก็จะทำให้ร้านค้าปลีกน้อยลง โดยข้อเสนอทั้งหมดจะทำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ทันที” นพ.ประกิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันงดสูบบุหรี่โลก ตรงกับวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปี ซึ่งปีนี้องค์การอนามัยโลกกำหนดประเด็นการรณรงค์ คือ “Raise Taxes on Tobacco” หรือ “บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” เพราะผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มภาษีช่วยลดการบริโภคยาสูบได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้ต่ำ และป้องกันเยาวชนจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การเพิ่มภาษีทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ลดการบริโภคยาสูบได้ร้อยละ 4 ในประเทศที่มีรายได้สูง และร้อยละ 8 ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า แต่ละปีบุหรี่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลก จำนวนเกือบ 6 ล้านคน จำนวนนี้มากกว่า 600,000 ราย เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ถ้าหากไม่มีการดำเนินการใดๆ คาดว่าในปี 2030 ประชากรมากกว่า 8 ล้านคนในทุกปี จะเสียชีวิตจากบุหรี่ และมากกว่าร้อยละ 80 ของการเสียชีวิตเหล่านี้จะเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ โดยปี 2554 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป 9.9 ล้านคนสูบบุหรี่ประจำ เด็กไทยเริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้น เฉลี่ยที่อายุ 16.2 ปี ขณะนี้ คร. กำลังเร่งดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ โดยจะลดนักสูบรายใหม่ ลดนักสูบรายเก่าในเขตชนบท โดยเฉพาะผู้สูบยาเส้น และลดควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน ที่สาธารณะ และที่บ้าน พร้อมกับเพิ่มกลไกการป้องกันอุตสาหกรรมยาสูบแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของรัฐ เพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่ จังหวัด และท้องถิ่น และเพิ่มนวัตกรรมการควบคุมยาสูบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผู้บริโภคยาสูบรายใหม่
นพ.โสภณ กล่าวว่า การเพิ่มภาษียาสูบเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการควบคุมยาสูบที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด โดยประเด็นการรณรงค์ “บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” ในวันงดสูบบุหรี่โลก จะจัดขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. เวลา 11.00 - 19.00 น. ที่บริเวณ Cascata ชั้น G ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน และประทานรางวัล World No Tobacco Day Award 2014 และโล่ประกาศเกียรติคุณแก่เครือข่ายที่มีการดำเนินการดีเด่นตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2557 รวมทั้งบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดี คร. กล่าวว่า กรมฯได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ เรื่องบุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด ในชาวไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,200 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายสูบบุหรี่มากมากว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 31-45 ปี สูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่สูบบุหรี่คือ อยากลอง ร้อยละ 50.3 คลายเครียด ร้อยละ 43.8 และเพื่อนชวน ร้อยละ 31.0
นพ.นพพร กล่าวอีกว่า ถ้าขึ้นราคาบุหรี่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ซื้อ ร้อยละ 44.2 รองลงมา จะซื้อ ร้อยละ 43.3 และเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 7.2 เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างทราบหรือไม่ว่า การเลิกบุหรี่ต้องทำอย่างไร พบว่า ทราบ ร้อยละ 56.0 แต่ไม่สามารถเลิกได้ เนื่องมาจากไม่มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่มากพอ หรือสูบบุหรี่มานานแล้วจนไม่สามารถเลิกได้ และเมื่อถามว่าถ้ามีการขึ้นภาษีบุหรี่ เพื่อลดนักสูบหน้าใหม่ เห็นด้วยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วย ร้อยละ 52.8 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 30.9 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.3
“การลดสิงห์รมควัน และป้องกันนักสูบหน้าใหม่ นอกจากการเพิ่มภาษียาสูบแล้ว ต้องดำเนินงานอื่นๆ ด้วย เช่น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกเยี่ยมบ้านผู้ติดบุหรี่ที่ต้องการเลิก เพื่อให้ความรู้ให้กำลังใจ ช่วยแก้ปัญหา ผู้นำในชุมชนช่วยกันตักเตือนเมื่อเห็นผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและช่วยตักเตือนเมื่อเห็นผู้สูบบุหรี่ รวมทั้งช่วยกันให้กำลังใจผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ และครอบครัวควรอบรมให้ความรู้แก่บุตรหลาน ให้ความรัก เอาใจใส่ให้คำปรึกษาเวลาที่บุตรหลานมีปัญหา เป็นต้น” รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ผลการสำรวจดังกล่าวเมื่อขึ้นภาษีบุหรี่จะไม่ซื้อร้อยละ 44.2 และจะเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 7.2 นั้นไม่เป็นความจริง เพราะจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า แม้จะขึ้นภาษีบุหรี่ แต่ไม่ขึ้นภาษียาเส้น ก็ทำให้นักสูบหันมาสูบยาเส้นแทน เพราะถูกกว่า และพบว่ามีคนที่เลิกสูบบุหรี่เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น โดยยาเส้นถือเป็นอีกกลุ่มที่ต้องขึ้นภาษี เพราะที่ผ่านมายาเส้นขึ้นภาษีเพียง 1 บาทต่อกรัมเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก ถึงเวลาที่ควรขึ้นภาษีเต็มเพดาน คือ 3 บาทต่อกรัม ส่วนบุหรี่ซิกาแรตควรปรับเพิ่มเช่นกัน แบ่งเป็นคิดตามมูลค่าจากปัจจุบันเก็บภาษีร้อยละ 87 เป็นร้อยละ 90 ส่วนคิดตามสภาพจาก 1 บาทต่อกรัมเพิ่มเป็น 1.5 บาทต่อกรัม หรือ 1.5 บาทต่อมวน
“ที่สำคัญซิการ์ก็ควรขึ้นภาษีให้มากขึ้น เพราะคนรวยนิยมสูบ แต่ขึ้นภาษีน้อย โดยเดิมคิดตามมูลค่าร้อยละ 20 ควรปรับเป็นร้อยละ 50 ส่วนการคิดตามปริมาณนั้นอยู่ที่ 1 บาทต่อกรัมให้เพิ่มเป็น 5 บาทต่อกรัม อีกทั้งต้องขึ้นค่าใบอนุญาตขายปลีกยาสูบด้วย เพราะปัจจุบันร้านค้าปลีกมีจำนวนมากอย่างขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตมีถึง 670,000 ราย ขณะที่ขายปลีกยาเส้นมีถึง 370,000 ราย หากเพิ่มค่าใบอนุญาตจาก 40 บาทต่อปี เป็น 200 บาทต่อปี ก็จะทำให้ร้านค้าปลีกน้อยลง โดยข้อเสนอทั้งหมดจะทำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ทันที” นพ.ประกิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่