สธ.เสนอ 4 ประเด็นต่อฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. เดินหน้าระบบบริการสุขภาพเชิงรุก 5 กลุ่มวัย-เขตบริการสุขภาพ-สร้างขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่-แยกตัวออกจาก ก.พ.
วันนี้ (27 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ประกอบด้วย 7 กระทรวง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า สธ. ได้เสนอยุทธศาสตร์และนโยบายในการดำเนินงาน 4 ประเด็นคือ 1. การจัดระบบบริการสุขภาพ ซึ่ง คสช. ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดระบบบริการที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน มีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงบริการ และต้องทำงานในแบบเชิงรุก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สธ.อยู่แล้วใน 5 กลุ่มอายุ แบ่งเป็น เด็ก เด็กวัยเรียน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2. การจัดเขตบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยบริการภายในเขต นำไปสู่ความเท่าเทียมของการรับบริการสาธารณสุขของประชาชน 3. ขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ คือ การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการ ซึ่ง สธ. ยังค้างการบรรจุอีก 2 ปี ซึ่งเดิมทียังติดอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่จากนี้สามารถดำเนินการได้เลย โดยเสนอตรงให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช.พิจารณา รวมถึงค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และ 4. การเตรียมออกนอกสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่ง สธ. มีแนวทางศึกษาอยู่แล้ว แต่จะต้องศึกษาประสบการณ์การออกนอก ก.พ. ของหน่วยงานอื่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการประชุมฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีการหารือเรื่องการปรับทัศนคติของหมู่บ้านเสื้อแดงด้วยหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ก็มีการพูดคุย เป็นเรื่องที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยาต้องทำ เนื่องจาก คสช. ได้ให้ทุกกระทรวงมีหน้าที่ทำความเข้าใจในการสร้างความปรองดองของคนในชาติ ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ซึ่งทุกกระทรวงได้รับมอบหมายให้ไปหารือร่วมกัน แต่คงต้องรอให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยาให้นโยบายก่อน
“ส่วนของ สธ. ได้มีการจัดตั้งทีมประสานงานกับฝ่ายสังคมจิตวิทยาไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับส่วนตัวเห็นว่าควรมีการศึกษาถึงสาเหตุที่มีคณะกรรมการหลายคณะได้ทำการศึกษาไว้แล้ว เช่น สาเหตุของความเหลื่อมล้ำในเรื่องต่างๆ หรือทัศนคติยอมรับการโกงได้ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด เป็นต้น” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (27 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา ประกอบด้วย 7 กระทรวง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า สธ. ได้เสนอยุทธศาสตร์และนโยบายในการดำเนินงาน 4 ประเด็นคือ 1. การจัดระบบบริการสุขภาพ ซึ่ง คสช. ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดระบบบริการที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน มีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงบริการ และต้องทำงานในแบบเชิงรุก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ สธ.อยู่แล้วใน 5 กลุ่มอายุ แบ่งเป็น เด็ก เด็กวัยเรียน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า 2. การจัดเขตบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยบริการภายในเขต นำไปสู่ความเท่าเทียมของการรับบริการสาธารณสุขของประชาชน 3. ขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ คือ การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการ ซึ่ง สธ. ยังค้างการบรรจุอีก 2 ปี ซึ่งเดิมทียังติดอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่จากนี้สามารถดำเนินการได้เลย โดยเสนอตรงให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช.พิจารณา รวมถึงค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และ 4. การเตรียมออกนอกสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่ง สธ. มีแนวทางศึกษาอยู่แล้ว แต่จะต้องศึกษาประสบการณ์การออกนอก ก.พ. ของหน่วยงานอื่นด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการประชุมฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีการหารือเรื่องการปรับทัศนคติของหมู่บ้านเสื้อแดงด้วยหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ก็มีการพูดคุย เป็นเรื่องที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยาต้องทำ เนื่องจาก คสช. ได้ให้ทุกกระทรวงมีหน้าที่ทำความเข้าใจในการสร้างความปรองดองของคนในชาติ ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ซึ่งทุกกระทรวงได้รับมอบหมายให้ไปหารือร่วมกัน แต่คงต้องรอให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยาให้นโยบายก่อน
“ส่วนของ สธ. ได้มีการจัดตั้งทีมประสานงานกับฝ่ายสังคมจิตวิทยาไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับส่วนตัวเห็นว่าควรมีการศึกษาถึงสาเหตุที่มีคณะกรรมการหลายคณะได้ทำการศึกษาไว้แล้ว เช่น สาเหตุของความเหลื่อมล้ำในเรื่องต่างๆ หรือทัศนคติยอมรับการโกงได้ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด เป็นต้น” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่