จ่อชงบอร์ด สปสช. ถกแก้ปัญหากระจายรายชื่อสิทธิบัตรทอง กทม. ลงคลินิกใกล้บ้าน จี้ทุก รพ. ที่ดำเนินการแล้วต้องประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง พร้อมติดตามการย้ายบ้าน หลังพบจดหมายแจ้งถูกตีกลับกว่าครึ่ง ห่วงกระทบการเดินทางใช้บริการ ยันไปรักษาที่ รพ. ตามสิทธิ แม้ชื่อถูกย้าย ไม่ต้องจ่ายเงิน
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองที่โรงพยาบาลพื้นที่ กทม. ได้ เนื่องจากไม่ทราบว่ารายชื่อถูกโรงพยาบาลกระจายไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน ว่า การกระจายรายชื่อผู้ใช้สิทธิบัตรทองจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านนั้นเป็นการเดินหน้าตามมติบอร์ด สปสช. คือ เรื่องของใกล้บ้านใกล้ใจ แต่กลับมีปัญหาในทางปฏิบัติคือ เมื่อกระจายรายชื่อไปแล้วกลับไม่ได้แจ้งให้ประชาชนรับทราบว่าสิทธิของตัวเองถูกย้ายไปแล้ว เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยตนจะนำเรื่องนี้เข้าหารือทั้งในส่วนคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และในส่วนของบอร์ด สปสช. เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิของตนเอง
“เบื้องต้นคือโรงพยาบาลที่มีการกระจายรายชื่อผู้ใช้สิทธิบัตรทองไปแล้วจะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้สิทธิทราบ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาไปใช้สิทธิที่โรงพยาบาลแล้วไม่สามารถใช้ได้ สุดท้ายก็ต้องจ่ายเงินเอง ซึ่งกรณีเช่นนี้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่อำนวยความสะดวกให้ ทั้งที่รับเงินรายหัวจาก สปสช. ไปแล้ว ก็ต้องให้บริการตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยร้องเรียนได้ที่ สปสช. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นต้นเรื่องในการติดตามแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่พอใจอาจย้ายสิทธิไปยังโรงพยาบาลอื่นก็ได้ เพราะขณะนี้มติบอร์ด สปสช.ก็ให้สิทธิในการเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ถึง 4 ครั้งต่อปี” นพ.จรัล กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะสามารถย้ายโรงพยาบาลได้ แต่ปัญหาคือในพื้นที่ กทม. ส่วนใหญ่โรงพยาบาลสังกัดของรัฐมีน้อย และ รพ.เอกชนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าร่วมในโครงการหลักประกันสุขภาพฯ นพ.จรัล กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่เราต้องพัฒนา เพื่อให้สถานบริการเข้ามาร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะ รพ. เอกชน
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ สปสช. ในฐานะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าการสื่อสารยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม จะต้องหามาตรการเพิ่มเติมทำอย่างไรให้ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองอีกกว่าครึ่งหนึ่งใน กทม. ซึ่งมีทั้งหมดกว่า 5 ล้านคน รับทราบว่าสิทธิของตนถูกกระจายไปยังคลินิกปฐมภูมิใกล้บ้านแล้ว นอกจากนี้ จะต้องติดตามผลกระทบจากการกระจายรายชื่อด้วย โดยเฉพาะเรื่องความสะดวกในการเดินทางไปรับบริการ เพราะชัดเจนว่าจดหมายแจ้งถูกตีกลับกว่าครึ่งหนึ่ง แสดงว่าผู้ใช้สิทธิส่วนหนึ่งมีการย้ายบ้าน จึงอาจประสบปัญหาดังกล่าว เพราะถูกกระจายรายชื่อไปยังคลินิกปฐมภูมิใกล้บ้านเดิม แต่อาจไกลจากบ้านที่ย้ายไปอยู่ใหม่ โดยจะต้องประสานกับหน่วยบริการเพื่อติดตามแก้ปัญหานี้ด้วย
ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองใน กทม.ไม่ต้องเป็นกังวล หากไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่เคยเลือกไว้แล้วพบว่ารายชื่อถูกกระจายไปยังคลินิกปฐมภูมิแล้ว โรงพยาบาลก็ต้องรับการรักษา โดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน เพราะโรงพยาบาลสามารถไปเรียกเก็บเงินคืนภายหลังหรือเคลมจากคลินิกที่กระจายรายชื่อไปแล้วได้ เนื่องจากงบถูกโอนไปยังคลินิกแล้ว แต่หากโรงพยาบาลยืนยันที่จะเก็บเงินก็สามารถโทรศัพท์มายังสายด่วน 1330 ได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสายด่วนชี้แจ้งกับทางโรงพยาบาลแทน สำหรับผู้ที่เคยประสบปัญหาดังกล่าวแล้วต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลเอง สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงาน สปสช.เขต กทม. เพื่อรับเงินคืน อย่างไรก็ตาม ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ ผอ.สปสช.เขต กทม. กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองที่โรงพยาบาลพื้นที่ กทม. ได้ เนื่องจากไม่ทราบว่ารายชื่อถูกโรงพยาบาลกระจายไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน ว่า การกระจายรายชื่อผู้ใช้สิทธิบัตรทองจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านนั้นเป็นการเดินหน้าตามมติบอร์ด สปสช. คือ เรื่องของใกล้บ้านใกล้ใจ แต่กลับมีปัญหาในทางปฏิบัติคือ เมื่อกระจายรายชื่อไปแล้วกลับไม่ได้แจ้งให้ประชาชนรับทราบว่าสิทธิของตัวเองถูกย้ายไปแล้ว เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยตนจะนำเรื่องนี้เข้าหารือทั้งในส่วนคณะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และในส่วนของบอร์ด สปสช. เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิของตนเอง
“เบื้องต้นคือโรงพยาบาลที่มีการกระจายรายชื่อผู้ใช้สิทธิบัตรทองไปแล้วจะต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้สิทธิทราบ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาไปใช้สิทธิที่โรงพยาบาลแล้วไม่สามารถใช้ได้ สุดท้ายก็ต้องจ่ายเงินเอง ซึ่งกรณีเช่นนี้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่อำนวยความสะดวกให้ ทั้งที่รับเงินรายหัวจาก สปสช. ไปแล้ว ก็ต้องให้บริการตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยร้องเรียนได้ที่ สปสช. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นต้นเรื่องในการติดตามแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม หากประชาชนไม่พอใจอาจย้ายสิทธิไปยังโรงพยาบาลอื่นก็ได้ เพราะขณะนี้มติบอร์ด สปสช.ก็ให้สิทธิในการเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ถึง 4 ครั้งต่อปี” นพ.จรัล กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะสามารถย้ายโรงพยาบาลได้ แต่ปัญหาคือในพื้นที่ กทม. ส่วนใหญ่โรงพยาบาลสังกัดของรัฐมีน้อย และ รพ.เอกชนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าร่วมในโครงการหลักประกันสุขภาพฯ นพ.จรัล กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่เราต้องพัฒนา เพื่อให้สถานบริการเข้ามาร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะ รพ. เอกชน
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ สปสช. ในฐานะอนุกรรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าการสื่อสารยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม จะต้องหามาตรการเพิ่มเติมทำอย่างไรให้ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองอีกกว่าครึ่งหนึ่งใน กทม. ซึ่งมีทั้งหมดกว่า 5 ล้านคน รับทราบว่าสิทธิของตนถูกกระจายไปยังคลินิกปฐมภูมิใกล้บ้านแล้ว นอกจากนี้ จะต้องติดตามผลกระทบจากการกระจายรายชื่อด้วย โดยเฉพาะเรื่องความสะดวกในการเดินทางไปรับบริการ เพราะชัดเจนว่าจดหมายแจ้งถูกตีกลับกว่าครึ่งหนึ่ง แสดงว่าผู้ใช้สิทธิส่วนหนึ่งมีการย้ายบ้าน จึงอาจประสบปัญหาดังกล่าว เพราะถูกกระจายรายชื่อไปยังคลินิกปฐมภูมิใกล้บ้านเดิม แต่อาจไกลจากบ้านที่ย้ายไปอยู่ใหม่ โดยจะต้องประสานกับหน่วยบริการเพื่อติดตามแก้ปัญหานี้ด้วย
ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองใน กทม.ไม่ต้องเป็นกังวล หากไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่เคยเลือกไว้แล้วพบว่ารายชื่อถูกกระจายไปยังคลินิกปฐมภูมิแล้ว โรงพยาบาลก็ต้องรับการรักษา โดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน เพราะโรงพยาบาลสามารถไปเรียกเก็บเงินคืนภายหลังหรือเคลมจากคลินิกที่กระจายรายชื่อไปแล้วได้ เนื่องจากงบถูกโอนไปยังคลินิกแล้ว แต่หากโรงพยาบาลยืนยันที่จะเก็บเงินก็สามารถโทรศัพท์มายังสายด่วน 1330 ได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสายด่วนชี้แจ้งกับทางโรงพยาบาลแทน สำหรับผู้ที่เคยประสบปัญหาดังกล่าวแล้วต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลเอง สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงาน สปสช.เขต กทม. เพื่อรับเงินคืน อย่างไรก็ตาม ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ ผอ.สปสช.เขต กทม. กำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่