ครูเตรียมเฮ! ศธ. เล็งปล่อยกู้เงินทุนหมุนเวียนฯ เพิ่ม แถมขยายวงเงินให้กู้ “จาตุรนต์” มอบปลัด ศธ. เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้สินครูทั้งในและนอกกระทรวง ประชุมหาทางสางหนี้ครู คาดการณ์มูลค่าหนี้ครูจากทุกแหล่งสูงถึง 1 ล้านล้านบาท
วันนี้ (22 พ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และมีความเห็นว่าจะปล่อยกู้เพิ่มจากปัจจุบันที่ปล่อยกู้เพียงร้อยละ 40 ของสินทรัพย์กองทุนซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่กรรมการหลายฝ่ายโดยเฉพาะจากสถาบันการเงินให้ความเห็นว่าสัดส่วนการปล่อยกู้ที่มีประสิทธิภาพมากสุดต้องปล่อยกู้ประมาณ ร้อยละ 80-90 ของวงเงินสินทรัพย์กองทุน เพราะฉะนั้น ที่ประชุมจะขยายวงเงินปล่อยกู้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังเห็นว่าควรขยับวงเงินปล่อยกู้ในแต่ละรายให้สูงขึ้นจากปัจจุบันปล่อยกู้สูงสุดรายละ 200,000 แสนบาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก แต่ควรขยับวงเงินกู้ให้สูงขึ้นเท่าไรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่จะต้องไปศึกษามา อย่างไรก็ตาม คงไม่ปล่อยกู้ต่อรายสูงมากเหมือนแหล่งเงินกู้อื่นๆ มิฉะนั้นแล้วเงินกองทุนที่มีอยู่จะไม่เพียงพอปล่อยกู้ครอบคลุมครูที่มีความจำเป็น เช่น กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ปัจจุบันโครงการ ช.พ.ค. 7 ปล่อยกู้สูงถึงรายละ 3 ล้านบาท เป็นต้น
“ได้มอบให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และรวบรวมข้อมูลมาว่าลูกหนี้ของกองทุนเงินทุนหมุนเวียนฯ ในปัจจุบันเป็นกลุ่มไหนบ้าง รวมทั้งให้กำหนดคุณลักษณะของผู้กู้ให้ชัดเจนว่าจะเน้นปล่อยกู้กลุ่มใดหากจะเพิ่มวงเงินปล่อยกู้ เนื่องจากไม่ต้องการให้กองทุนนี้เป็นแหล่งกู้ของคนที่ไม่สามารถจะไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้ เพราะต้องการให้เป็นแหล่งกู้เงินสำหรับครูที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ อย่างไรก็ตาม กองทุนเงินทุนหมุนเวียนฯ มีสินทรัพย์ 1,500 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวไม่ถึง ร้อยละ 1 ของเงินกู้ทั้งหมดที่ครูไปกู้จากแหล่งเงินกู้หลักๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารออมสิน ช.พ.ค. ซึ่งรวมแล้ววงเงินที่ครูเป็นหนี้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ยังให้เชิญ สกสค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินครูทั้งหมด อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะที่ดูแลกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาหารือด้วยเพราะต้องการรู้ตัวเลขหนี้สินครูที่แท้จริงว่าสูงเท่าใดและมาจากแหล่งเงินกู้ใดบ้าง เพราะ ศธ. ต้องการที่จะแก้ปัญหาหนี้สินในภาพรวม
ด้าน นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า จะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน เพราะ รมว.ศึกษาธิการได้เน้นย้ำว่าให้เร่งดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยเร็วที่สุดโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 2 เดือน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (22 พ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และมีความเห็นว่าจะปล่อยกู้เพิ่มจากปัจจุบันที่ปล่อยกู้เพียงร้อยละ 40 ของสินทรัพย์กองทุนซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่กรรมการหลายฝ่ายโดยเฉพาะจากสถาบันการเงินให้ความเห็นว่าสัดส่วนการปล่อยกู้ที่มีประสิทธิภาพมากสุดต้องปล่อยกู้ประมาณ ร้อยละ 80-90 ของวงเงินสินทรัพย์กองทุน เพราะฉะนั้น ที่ประชุมจะขยายวงเงินปล่อยกู้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ยังเห็นว่าควรขยับวงเงินปล่อยกู้ในแต่ละรายให้สูงขึ้นจากปัจจุบันปล่อยกู้สูงสุดรายละ 200,000 แสนบาท ซึ่งถือว่าต่ำมาก แต่ควรขยับวงเงินกู้ให้สูงขึ้นเท่าไรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่จะต้องไปศึกษามา อย่างไรก็ตาม คงไม่ปล่อยกู้ต่อรายสูงมากเหมือนแหล่งเงินกู้อื่นๆ มิฉะนั้นแล้วเงินกองทุนที่มีอยู่จะไม่เพียงพอปล่อยกู้ครอบคลุมครูที่มีความจำเป็น เช่น กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ปัจจุบันโครงการ ช.พ.ค. 7 ปล่อยกู้สูงถึงรายละ 3 ล้านบาท เป็นต้น
“ได้มอบให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และรวบรวมข้อมูลมาว่าลูกหนี้ของกองทุนเงินทุนหมุนเวียนฯ ในปัจจุบันเป็นกลุ่มไหนบ้าง รวมทั้งให้กำหนดคุณลักษณะของผู้กู้ให้ชัดเจนว่าจะเน้นปล่อยกู้กลุ่มใดหากจะเพิ่มวงเงินปล่อยกู้ เนื่องจากไม่ต้องการให้กองทุนนี้เป็นแหล่งกู้ของคนที่ไม่สามารถจะไปกู้เงินจากแหล่งอื่นได้ เพราะต้องการให้เป็นแหล่งกู้เงินสำหรับครูที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ อย่างไรก็ตาม กองทุนเงินทุนหมุนเวียนฯ มีสินทรัพย์ 1,500 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวไม่ถึง ร้อยละ 1 ของเงินกู้ทั้งหมดที่ครูไปกู้จากแหล่งเงินกู้หลักๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารออมสิน ช.พ.ค. ซึ่งรวมแล้ววงเงินที่ครูเป็นหนี้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ยังให้เชิญ สกสค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินครูทั้งหมด อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะที่ดูแลกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาหารือด้วยเพราะต้องการรู้ตัวเลขหนี้สินครูที่แท้จริงว่าสูงเท่าใดและมาจากแหล่งเงินกู้ใดบ้าง เพราะ ศธ. ต้องการที่จะแก้ปัญหาหนี้สินในภาพรวม
ด้าน นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวว่า จะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน เพราะ รมว.ศึกษาธิการได้เน้นย้ำว่าให้เร่งดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยเร็วที่สุดโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 2 เดือน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่