ตากแดด 15 นาที รังสียูวีเสี่ยงทำลายผิว เกิดมะเร็งผิวหนัง แนะทากันแดด 3 จุดสำคัญบนร่างกาย เลี่ยงแดดช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แสงแดดมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่หากได้รับมากเกินไปเป็นระยะเวลานานเพียง 15 นาที รังสียูวีก็สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งผิวหนัง นัยน์ตา และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วย จำนวน 300-400 รายต่อปี โดยทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ เนื่องจากการได้รับแสงแดดปริมาณมาก ทั้งยูวีเอ และยูวีบี ส่วนยูวีซี มีพลังงานสูงที่สุด อันตรายมากที่สุด แต่พบได้น้อยเนื่องจากจะถูกชั้นบรรยากาศกรองเอาไว้ การป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสแสงแดดจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 หรือมากกว่า ทาบริเวณผิวหน้าและบริเวณที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดมาก โดยเฉพาะ 3 จุดสำคัญบนร่างกายที่ไม่ควรละเลยในการป้องกันรังสียูวี จุดแรกคือ ริมฝีปาก ควรทาลิปบาล์มที่มีสารป้องกันแสงแดด โดยสามารถทาซ้ำได้บ่อย จุดที่สองคือผิวตัว และจุดสุดท้ายคือผิวมือ ควรทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวมือบ่อยๆ และทาครีมกันแดดร่วมด้วย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การใช้ครีมกันแดดให้มีประสิทธิภาพสำหรับผิวหน้าควรใช้ปริมาณเท่ากับ 1 เหรียญบาทต่อครั้ง ส่วนผิวตัวใช้บริเวณละประมาณ 1 อุ้งมือ และควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 20 นาที หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือทาซ้ำหลังว่ายน้ำหรือเล่นกีฬา เนื่องจากน้ำและเหงื่ออาจละลายครีมกันแดดได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีได้ โดยดูจากค่าที่เรียกว่า PA หรือ Protection Grade of UVA ซึ่งเป็นค่าซึ่งเป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเอ โดยมีทั้งหมดระดับ คือ PA+, PA++ และ PA+++ เรียงตามลำดับของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีจากน้อยไปมาก
“การปกป้องผิวจากรังสียูวีไม่เฉพาะแค่ช่วงหน้าร้อนหรือบริเวณชายทะเลเท่านั้น แต่ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ และให้หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพราะเป็นเวลาที่สามารถรับรังสีจากนอกอาคารมากที่สุด นอกจากนี้ สามารถป้องกันร่างกายจากแสงแดดด้วยการอยู่ในที่ร่ม สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่ทำมาจากใยฝ้าย เพราะจะช่วยในการกรองแสงแดดและระบายความร้อนได้ดี หรือเลือกใช้เสื้อผ้าที่ผ่านการรับรองว่าป้องกันรังสียูวี สวมหมวกที่มีปีกโดยรอบเพื่อป้องกันแสงแดดที่มากระทบใบหน้า หู และด้านหลังลำคอ รวมทั้งควรสวมแว่นกันแดดที่ปิดรอบดวงตารวมทั้งด้านข้าง และต้องเป็นแว่นที่สามารถป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบี เพื่อปกป้องดวงตาและลดการเกิดต้อกระจก” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แสงแดดมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่หากได้รับมากเกินไปเป็นระยะเวลานานเพียง 15 นาที รังสียูวีก็สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งผิวหนัง นัยน์ตา และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วย จำนวน 300-400 รายต่อปี โดยทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ เนื่องจากการได้รับแสงแดดปริมาณมาก ทั้งยูวีเอ และยูวีบี ส่วนยูวีซี มีพลังงานสูงที่สุด อันตรายมากที่สุด แต่พบได้น้อยเนื่องจากจะถูกชั้นบรรยากาศกรองเอาไว้ การป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสแสงแดดจึงควรใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 หรือมากกว่า ทาบริเวณผิวหน้าและบริเวณที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดมาก โดยเฉพาะ 3 จุดสำคัญบนร่างกายที่ไม่ควรละเลยในการป้องกันรังสียูวี จุดแรกคือ ริมฝีปาก ควรทาลิปบาล์มที่มีสารป้องกันแสงแดด โดยสามารถทาซ้ำได้บ่อย จุดที่สองคือผิวตัว และจุดสุดท้ายคือผิวมือ ควรทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวมือบ่อยๆ และทาครีมกันแดดร่วมด้วย
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การใช้ครีมกันแดดให้มีประสิทธิภาพสำหรับผิวหน้าควรใช้ปริมาณเท่ากับ 1 เหรียญบาทต่อครั้ง ส่วนผิวตัวใช้บริเวณละประมาณ 1 อุ้งมือ และควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 20 นาที หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือทาซ้ำหลังว่ายน้ำหรือเล่นกีฬา เนื่องจากน้ำและเหงื่ออาจละลายครีมกันแดดได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีได้ โดยดูจากค่าที่เรียกว่า PA หรือ Protection Grade of UVA ซึ่งเป็นค่าซึ่งเป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเอ โดยมีทั้งหมดระดับ คือ PA+, PA++ และ PA+++ เรียงตามลำดับของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีจากน้อยไปมาก
“การปกป้องผิวจากรังสียูวีไม่เฉพาะแค่ช่วงหน้าร้อนหรือบริเวณชายทะเลเท่านั้น แต่ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำ และให้หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพราะเป็นเวลาที่สามารถรับรังสีจากนอกอาคารมากที่สุด นอกจากนี้ สามารถป้องกันร่างกายจากแสงแดดด้วยการอยู่ในที่ร่ม สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่ทำมาจากใยฝ้าย เพราะจะช่วยในการกรองแสงแดดและระบายความร้อนได้ดี หรือเลือกใช้เสื้อผ้าที่ผ่านการรับรองว่าป้องกันรังสียูวี สวมหมวกที่มีปีกโดยรอบเพื่อป้องกันแสงแดดที่มากระทบใบหน้า หู และด้านหลังลำคอ รวมทั้งควรสวมแว่นกันแดดที่ปิดรอบดวงตารวมทั้งด้านข้าง และต้องเป็นแว่นที่สามารถป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบี เพื่อปกป้องดวงตาและลดการเกิดต้อกระจก” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว