โดย...รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
แสงแดดและอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน มีผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนังของเรา ทั้งปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวแดง ผิวไหม้ ไปจนถึงปัญหาใหญ่อย่างมะเร็งผิวหนัง การหลีกเลี่ยงและป้องกันแสงแดดและแสงยูวีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
ในปัจจุบัน นอกจากการมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและป้องกันแดดต่างๆ มาให้เลือกใช้กันแล้ว ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายต่อต้านกับแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งพบในผักใบเขียว แครอท พริก หรือพริกหยวกสีแดง ผลไม้สีเหลืองอย่างมะม่วง แตงโม โดยจะให้ประสิทธิภาพดีหากมีการรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงเหล่านี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป
ส่วนสาร ไลโคปีน (lycopene) ก็เป็นสารอีกตัวหนึ่งในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งนอกจากจะเป็นสารต้านมะเร็งแล้ว หากรับประทานต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป ก็จะเห็นผลดีในการช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด ซึ่งสารไลโคปีนนี้พบมากในมะเขือเทศ และฟักข้าว
มะเขือเทศ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีสารจำพวก ไลโคปีน (lycopene) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และกรดอะมิโน เป็นต้น
มะเขือเทศมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย มีการศึกษาพบว่าการรับประทานซอสมะเขือเทศวันละ 48 - 55 กรัม หรือประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานน้ำมะเขือเทศวันละ 250 ซีซี ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ในผิวหนัง และอาการแดงของผิวหนังหลังจากโดนแสงแดดจะน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่รับประทานซอสมะเขือเทศถึง 33% นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่รับประทานมะเขือเทศ แสงแดดจะทำลายโมเลกุลของ DNA ในผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน และมีการสร้าง procollagen มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน
ส่วนฟักข้าวนั้น เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยไลโคปีน ซึ่งมีปริมาณสูงกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า และมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้า-แคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีวิตามินซี มากกว่าส้ม 40 เท่า มีซีแซนทีน มากกว่าข้าวโพด 40 เท่า อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า-3, โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
นอกจากนี้ ในฟักข้าว ยังมีไลโคปีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปแคโรทีน (Lipocarotene) ซึ่งเป็นกรดไขมันสายยาวที่ช่วยดักจับและดูดซึมแคโรทีน ฟักข้าวจึงจัดเป็นแหล่งของไลโคปีนที่ดีที่สุด
สำหรับการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวนั้น แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวที่ผ่านความร้อน ซึ่งจะมีปริมาณไลโคปีนสูงกว่าในผลสด เนื่องจากความร้อนจะทำให้เซลล์มะเขือเทศหรือฟักข้าวแตก ส่วนการบดก็จะยิ่งทำให้ไลโคปีนออกมานอกเซลล์ได้มากขึ้น และสารไลโคปีนในธรรมชาติเมื่อถูกความร้อนร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความร้อนที่ใช้ปรุงจะต้องไม่สูงมาก และไม่ให้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ไลโคปีนสลายไปนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้อื่นๆ ที่อุดมไปด้วยไลโคปีน เช่น แตงโม 1 ชิ้น (286 กรัม) มีไลโคปีน 12,962 ไมโครกรัม, มะละกอ 1 ผล (304 กรัม) มีไลโคปีน 5,557 ไมโครกรัม, มะม่วง 1 ผล (207 กรัม) มีไลโคปีน 6 ไมโครกรัม และในแครอท 1 ผล (72 กรัม) มีปริมาณไลโคปีน 1 ไมโครกรัม
ส่วนใน ชาเขียว ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ โพลีฟีนอล (Pholyphenols) ก็สามารถช่วยปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายจากรังสียูวีได้ โดยร่างกายสามารถรับได้ทั้งจากการดื่ม และการทาครีมที่มีส่วนผสมของชาเขียว และยังมีงานวิจัยพบว่าสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการที่ผิวหนังถูกทำลายจากความร้อนของแสงแดด การทาครีมกันแดดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดให้ดีที่สุดควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว คือ หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10.00 - 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรง หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด หากมีความจำเป็นต้องออกแดด
แสงแดดและอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน มีผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนังของเรา ทั้งปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวแดง ผิวไหม้ ไปจนถึงปัญหาใหญ่อย่างมะเร็งผิวหนัง การหลีกเลี่ยงและป้องกันแสงแดดและแสงยูวีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
ในปัจจุบัน นอกจากการมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและป้องกันแดดต่างๆ มาให้เลือกใช้กันแล้ว ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายต่อต้านกับแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งพบในผักใบเขียว แครอท พริก หรือพริกหยวกสีแดง ผลไม้สีเหลืองอย่างมะม่วง แตงโม โดยจะให้ประสิทธิภาพดีหากมีการรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงเหล่านี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป
ส่วนสาร ไลโคปีน (lycopene) ก็เป็นสารอีกตัวหนึ่งในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งนอกจากจะเป็นสารต้านมะเร็งแล้ว หากรับประทานต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป ก็จะเห็นผลดีในการช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด ซึ่งสารไลโคปีนนี้พบมากในมะเขือเทศ และฟักข้าว
มะเขือเทศ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีสารจำพวก ไลโคปีน (lycopene) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และกรดอะมิโน เป็นต้น
มะเขือเทศมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย มีการศึกษาพบว่าการรับประทานซอสมะเขือเทศวันละ 48 - 55 กรัม หรือประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานน้ำมะเขือเทศวันละ 250 ซีซี ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ในผิวหนัง และอาการแดงของผิวหนังหลังจากโดนแสงแดดจะน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่รับประทานซอสมะเขือเทศถึง 33% นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่รับประทานมะเขือเทศ แสงแดดจะทำลายโมเลกุลของ DNA ในผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน และมีการสร้าง procollagen มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน
ส่วนฟักข้าวนั้น เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยไลโคปีน ซึ่งมีปริมาณสูงกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า และมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้า-แคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีวิตามินซี มากกว่าส้ม 40 เท่า มีซีแซนทีน มากกว่าข้าวโพด 40 เท่า อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า-3, โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
นอกจากนี้ ในฟักข้าว ยังมีไลโคปีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปแคโรทีน (Lipocarotene) ซึ่งเป็นกรดไขมันสายยาวที่ช่วยดักจับและดูดซึมแคโรทีน ฟักข้าวจึงจัดเป็นแหล่งของไลโคปีนที่ดีที่สุด
สำหรับการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวนั้น แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวที่ผ่านความร้อน ซึ่งจะมีปริมาณไลโคปีนสูงกว่าในผลสด เนื่องจากความร้อนจะทำให้เซลล์มะเขือเทศหรือฟักข้าวแตก ส่วนการบดก็จะยิ่งทำให้ไลโคปีนออกมานอกเซลล์ได้มากขึ้น และสารไลโคปีนในธรรมชาติเมื่อถูกความร้อนร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความร้อนที่ใช้ปรุงจะต้องไม่สูงมาก และไม่ให้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ไลโคปีนสลายไปนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้อื่นๆ ที่อุดมไปด้วยไลโคปีน เช่น แตงโม 1 ชิ้น (286 กรัม) มีไลโคปีน 12,962 ไมโครกรัม, มะละกอ 1 ผล (304 กรัม) มีไลโคปีน 5,557 ไมโครกรัม, มะม่วง 1 ผล (207 กรัม) มีไลโคปีน 6 ไมโครกรัม และในแครอท 1 ผล (72 กรัม) มีปริมาณไลโคปีน 1 ไมโครกรัม
ส่วนใน ชาเขียว ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ โพลีฟีนอล (Pholyphenols) ก็สามารถช่วยปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายจากรังสียูวีได้ โดยร่างกายสามารถรับได้ทั้งจากการดื่ม และการทาครีมที่มีส่วนผสมของชาเขียว และยังมีงานวิจัยพบว่าสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการที่ผิวหนังถูกทำลายจากความร้อนของแสงแดด การทาครีมกันแดดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดให้ดีที่สุดควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว คือ หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10.00 - 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรง หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด หากมีความจำเป็นต้องออกแดด