สปส. จ่ายเงินบำนาญชราภาพผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ขั้นต่ำ 720 บาท ผู้ประกันตนได้รับเงินเพิ่ม 54 ราย หลังสำรวจพบต่ำกว่าเงินต่ำสุด
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส. ได้เริ่มจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพในส่วนของเงินบำนาญชราภาพปีนี้เป็นปีแรก โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เกษียณอายุจากการทำงานและสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน รวมทั้งส่งเงินสมทบครบ 180 งวด หรือเป็นเวลา 15 ปี โดยจากการคำนวณพบว่า ผู้ประกันตนที่มีฐานเงินเดือนซึ่งคิดจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 4,800 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 5,000 บาท ได้รับเงินบำนาญฯ 1,000 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 8,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 1,600 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 10,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,000 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 12,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,400 บาทต่อเดือน และฐานเงินเดือน 15,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000 บาท
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน สปส. ได้ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในปีนี้ ซึ่งพบว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 720 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ สปส. ได้ตรวจสอบผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 พบว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพต่ำสุดอยู่ที่ 960 บาทต่อเดือน สูงกว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ จึงไม่ต้องจ่ายเงินบำนาญชราภาพเพิ่มเติม แต่ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 39 มีผู้ที่มีฐานเงินเดือนอยู่ระหว่าง 1,650 - 3,000 บาท ซึ่งได้รับเงินบำนาญชราภาพอยู่ที่กว่า 300-600 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ ทำให้ สปส. ต้องจ่ายเงินชำบำนาญชราภาพเพิ่มเติมให้ครบ 720 บาทต่อเดือน รวมทั้งหมด 54 คน รวมเงินบำนาญชราภาพที่ สปส. ต้องจ่ายเพิ่มกว่า 6,630 บาทต่อเดือน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุจากการทำงานมีรายได้ที่สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
“แต่ละปี สปส. จะร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อดูว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าใด และแต่ละเดือนจะเพิ่มเงินบำนาญชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งได้รับเงินบำนาญชราภาพต่ำกว่าเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเพื่อให้ได้ครบตามอัตราขั้นต่ำ” นพ.สุรเดช กล่าว
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส. ได้เริ่มจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพในส่วนของเงินบำนาญชราภาพปีนี้เป็นปีแรก โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เกษียณอายุจากการทำงานและสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน รวมทั้งส่งเงินสมทบครบ 180 งวด หรือเป็นเวลา 15 ปี โดยจากการคำนวณพบว่า ผู้ประกันตนที่มีฐานเงินเดือนซึ่งคิดจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 4,800 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 5,000 บาท ได้รับเงินบำนาญฯ 1,000 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 8,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 1,600 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 10,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,000 บาทต่อเดือน ฐานเงินเดือน 12,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 2,400 บาทต่อเดือน และฐานเงินเดือน 15,000 บาท ได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000 บาท
รองเลขาธิการ สปส. กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน สปส. ได้ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในปีนี้ ซึ่งพบว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 720 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ สปส. ได้ตรวจสอบผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 พบว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพต่ำสุดอยู่ที่ 960 บาทต่อเดือน สูงกว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ จึงไม่ต้องจ่ายเงินบำนาญชราภาพเพิ่มเติม แต่ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 39 มีผู้ที่มีฐานเงินเดือนอยู่ระหว่าง 1,650 - 3,000 บาท ซึ่งได้รับเงินบำนาญชราภาพอยู่ที่กว่า 300-600 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ ทำให้ สปส. ต้องจ่ายเงินชำบำนาญชราภาพเพิ่มเติมให้ครบ 720 บาทต่อเดือน รวมทั้งหมด 54 คน รวมเงินบำนาญชราภาพที่ สปส. ต้องจ่ายเพิ่มกว่า 6,630 บาทต่อเดือน เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุจากการทำงานมีรายได้ที่สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
“แต่ละปี สปส. จะร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อดูว่าอัตราเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าใด และแต่ละเดือนจะเพิ่มเงินบำนาญชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งได้รับเงินบำนาญชราภาพต่ำกว่าเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเพื่อให้ได้ครบตามอัตราขั้นต่ำ” นพ.สุรเดช กล่าว