พนง.พาร์ตไทม์ขอปรับขึ้นค่าจ้าง วอนเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 450 บาท กสร. ชี้เป็นไปได้ยากเหตุเศรษฐกิจชะลอตัว เชื่อกลไกตลาดแรงงานช่วยผลักดันนายจ้างขึ้นค่าจ้าง
วันนี้ (15 พ.ค.) กลุ่มพนักงานร้านอาหารฟาสต์ฟูดประมาณ 20 คนได้รวมตัวกันเรียกร้องให้บริษัทร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ทั่วโลกปรับขึ้นค่าจ้างเนื่องจากวันนี้เป็นวันเมเดย์ที่พนักงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ทั่วโลกได้นัดหมายกันเคลื่อนไหวเรียกร้อง ซึ่งในส่วนของสหภาพแรงงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกัน และมีข้อสรุปเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานพาร์ตไทม์ของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจากชั่วโมงละ 7.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (232 บาท) เพิ่มเป็นชั่วโมงละ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (480 บาท)
ตัวแทนสหภาพแรงงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในไทยรายหนึ่ง กล่าวว่า ปัจจุบันร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไทยแต่ละแห่งใช้พนักงานประจำคิดเป็นร้อยละ 30 ของพนักงานทั้งหมด โดยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท อีกร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมดเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ชั่วโมงละ 40 บาท หรือคิดเป็นเงินได้เฉลี่ยเดือนละประมาณกว่า 9,600 บาท หากจะให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ในไทยแบบอเมริกานั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะค่าเงินและสภาพเศรษฐกิจต่างกันมาก
ตัวแทนสหภาพแรงงาน กล่าวอีกว่า มองว่า รัฐบาลควรจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจากวันละ 300 บาท เป็นวันละ 450 บาท จึงจะทำให้พนักงานพาร์ตไทม์ได้ปรับขึ้นค่าจ้างรายชั่วโมงไปด้วยโดยจะมีรายได้เพิ่มเป็นเดือนละกว่า 12,000 บาท อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้เรื่องนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ยุติและภาวะเศรษฐกิจของไทยชะลอตัว ทำให้ลูกค้าเข้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดน้อยลง ส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนลดเวลาการทำงานพนักงานพาร์ตไทม์ลงจากวันละ 6-8 ชั่วโมง เหลือวันละ 5-6 ชั่วโมง ก็ทำให้มีรายได้ลดลงไปด้วย
นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายกำหนดในเรื่องค่าจ้างพาร์ตไทม์เป็นการเฉพาะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายจ้าง อย่างไรก็ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้พนักงานที่ทำงานเป็นรายชั่วโมงจะต้องมีรายได้ต่อวันเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วันละ 300 บาท ทั้งนี้ โดยปกติจะต้องทำงานพาร์ทไทม์อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีนักเรียน นักศึกษาที่ทำงานพาร์ตไทม์นั้นก็ได้รับค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาทเช่นกัน โดยให้ทำงานได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า หากจะให้พนักงานพาร์ตไทม์ได้ปรับขึ้นค่าจ้างรายชั่วโมงไปด้วย ก็จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้มากกว่าวันละ 300 บาท แต่ขณะนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะเพิ่งปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทได้ไม่นานนัก ทำให้นายจ้างมีต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น และช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจก็ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม โดยกลไกตลาดแรงงานนั้นบริษัทร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็มีการปรับขึ้นค่าจ้างพาร์ตไทม์เป็นระยะอยู่แล้ว เพื่อจูงใจให้คนมาทำงานด้วยซึ่งพนักงานพาร์ตไทม์บางส่วนก็จะย้ายที่ทำงานเพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้น
วันนี้ (15 พ.ค.) กลุ่มพนักงานร้านอาหารฟาสต์ฟูดประมาณ 20 คนได้รวมตัวกันเรียกร้องให้บริษัทร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ทั่วโลกปรับขึ้นค่าจ้างเนื่องจากวันนี้เป็นวันเมเดย์ที่พนักงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ทั่วโลกได้นัดหมายกันเคลื่อนไหวเรียกร้อง ซึ่งในส่วนของสหภาพแรงงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกัน และมีข้อสรุปเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานพาร์ตไทม์ของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจากชั่วโมงละ 7.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (232 บาท) เพิ่มเป็นชั่วโมงละ 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (480 บาท)
ตัวแทนสหภาพแรงงานร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในไทยรายหนึ่ง กล่าวว่า ปัจจุบันร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไทยแต่ละแห่งใช้พนักงานประจำคิดเป็นร้อยละ 30 ของพนักงานทั้งหมด โดยได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท อีกร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมดเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ชั่วโมงละ 40 บาท หรือคิดเป็นเงินได้เฉลี่ยเดือนละประมาณกว่า 9,600 บาท หากจะให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ในไทยแบบอเมริกานั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะค่าเงินและสภาพเศรษฐกิจต่างกันมาก
ตัวแทนสหภาพแรงงาน กล่าวอีกว่า มองว่า รัฐบาลควรจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจากวันละ 300 บาท เป็นวันละ 450 บาท จึงจะทำให้พนักงานพาร์ตไทม์ได้ปรับขึ้นค่าจ้างรายชั่วโมงไปด้วยโดยจะมีรายได้เพิ่มเป็นเดือนละกว่า 12,000 บาท อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ขณะนี้เรื่องนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่ยุติและภาวะเศรษฐกิจของไทยชะลอตัว ทำให้ลูกค้าเข้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดน้อยลง ส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนลดเวลาการทำงานพนักงานพาร์ตไทม์ลงจากวันละ 6-8 ชั่วโมง เหลือวันละ 5-6 ชั่วโมง ก็ทำให้มีรายได้ลดลงไปด้วย
นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายกำหนดในเรื่องค่าจ้างพาร์ตไทม์เป็นการเฉพาะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายจ้าง อย่างไรก็ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้พนักงานที่ทำงานเป็นรายชั่วโมงจะต้องมีรายได้ต่อวันเท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่วันละ 300 บาท ทั้งนี้ โดยปกติจะต้องทำงานพาร์ทไทม์อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ยกเว้นกรณีนักเรียน นักศึกษาที่ทำงานพาร์ตไทม์นั้นก็ได้รับค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาทเช่นกัน โดยให้ทำงานได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง
รองอธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า หากจะให้พนักงานพาร์ตไทม์ได้ปรับขึ้นค่าจ้างรายชั่วโมงไปด้วย ก็จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้มากกว่าวันละ 300 บาท แต่ขณะนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะเพิ่งปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทได้ไม่นานนัก ทำให้นายจ้างมีต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น และช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจก็ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม โดยกลไกตลาดแรงงานนั้นบริษัทร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็มีการปรับขึ้นค่าจ้างพาร์ตไทม์เป็นระยะอยู่แล้ว เพื่อจูงใจให้คนมาทำงานด้วยซึ่งพนักงานพาร์ตไทม์บางส่วนก็จะย้ายที่ทำงานเพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้น