สมศ. จ่อประเมินศิษย์เก่า นำผลวัดคุณภาพบัณฑิตในการประเมินมหา’ลัยรอบสี่ เชื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ อ้างการจัดอันดับมหา’ลัยโลกก็ประเมินส่วนนี้ พร้อมถกบอร์ด เดือน มิ.ย. นี้หาตัวบ่งชี้อื่นมาแทน U-NET
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-NET ที่จะนำร่องในปีการศึกษา 2557 และจะเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนดนั้น ตนจะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เพื่อพิจารณาว่าจะนำตัวบ่งชี้ใดมาใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (2559-2563) แทนการใช้ U-NET ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สมศ. อาจนำผลประเมินคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF มาใช้แทน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เดิมที่เคยใช้ในการประเมินฯรอบสาม แต่เนื่องจากทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ต้องการให้ สมศ. นำผลดังกล่าวมาใช้ ดังนั้น คงต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบด้วยว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ในการประเมินฯรอบสี่ ได้มีการปรับตัวบ่งชี้การประเมินระดับอุดมศึกษา ด้านคุณภาพศิษย์ โดยเพิ่มการประเมินศิษย์เก่าด้วย เพราะถือเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัย และเป็นตัวหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของสถานศึกษา ครูอาจารย์ ที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และกลับมาช่วยเหลือมหาวิทยาลัย ซึ่งจะพิจารณาจากการทำประโยชน์ให้สถาบัน เช่น พัฒนางานวิชาการ งานวิจัย พัฒนารุ่นน้อง ช่วยระดมทรัพยากรให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทุกปี มีกองทุนศิษย์เก่า และมีศิษย์เก่าที่ได้รับยกย่องเชิดชูระดับชาติ/นานาชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าตัวบ่งชี้นี้จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในอุดมศึกษา ให้มีระบบความผูกพันที่ยาวนานระหว่างครูอาจารย์ และลูกศิษย์ต่อไป โดยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของหน่วยงานต่างๆ ก็มีการประเมินจากศิษย์เก่าด้วยเช่นกัน
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มีมติยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือ U-NET ที่จะนำร่องในปีการศึกษา 2557 และจะเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนดนั้น ตนจะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สมศ. ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เพื่อพิจารณาว่าจะนำตัวบ่งชี้ใดมาใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (2559-2563) แทนการใช้ U-NET ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สมศ. อาจนำผลประเมินคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF มาใช้แทน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เดิมที่เคยใช้ในการประเมินฯรอบสาม แต่เนื่องจากทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ต้องการให้ สมศ. นำผลดังกล่าวมาใช้ ดังนั้น คงต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบด้วยว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ในการประเมินฯรอบสี่ ได้มีการปรับตัวบ่งชี้การประเมินระดับอุดมศึกษา ด้านคุณภาพศิษย์ โดยเพิ่มการประเมินศิษย์เก่าด้วย เพราะถือเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัย และเป็นตัวหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของสถานศึกษา ครูอาจารย์ ที่ทำให้ลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และกลับมาช่วยเหลือมหาวิทยาลัย ซึ่งจะพิจารณาจากการทำประโยชน์ให้สถาบัน เช่น พัฒนางานวิชาการ งานวิจัย พัฒนารุ่นน้อง ช่วยระดมทรัพยากรให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องทุกปี มีกองทุนศิษย์เก่า และมีศิษย์เก่าที่ได้รับยกย่องเชิดชูระดับชาติ/นานาชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าตัวบ่งชี้นี้จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในอุดมศึกษา ให้มีระบบความผูกพันที่ยาวนานระหว่างครูอาจารย์ และลูกศิษย์ต่อไป โดยในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของหน่วยงานต่างๆ ก็มีการประเมินจากศิษย์เก่าด้วยเช่นกัน