แพทยสภาลั่นยังไม่รับรอง หมอเฉพาะทาง “เวชศาสตร์ชะลอวัย-ความงาม” ชี้คนอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความผิด โทษทั้งจำทั้งปรับ เผยต่างประเทศมีแพทย์เฉพาะสาขาย่อยมากมาย ทั้งได้รับการยอมรับและไม่ยอมรับ ระบุปัจจุบันที 80 สาขาเชี่ยวชาญ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การที่แพทย์จะสามารถแสดงตนเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาได้นั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจากแพทยสภาตามกฎหมายก่อน ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองและดำเนินการควบคุมมาตรฐานความเชี่ยวชาญของแพทย์ทั้ง 80 สาขา แบ่งเป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 38 สาขาหลัก อาทิ อายุรศาสตร์ทั่วไป กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา เป็นต้น และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่อยอดจากสาขาหลักอีก 42 สาขา เช่น อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคไต กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ และศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น โดยประชาชนจะตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.tmc.or.th/service_check_doctor.php ตลอด 24 ชม.
“ปัญหาคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งบางสาขาแพทยสภาไทยยังไม่ได้ยอมรับ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ความงาม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการอบรมเพื่อเทียบกับมาตรฐานไทยผ่านทางราชวิทยาลัยผู้เชี่ยวชาญ 14 แห่ง พบว่า สาขาเชี่ยวชาญในบางประเทศมีการขยายสาขาปลีกย่อยมากมาย บางสาขาได้รับการยอมรับจากสถาบันหลักที่เป็นมาตรฐาน แต่บางสาขาไม่เป็นที่ยอมรับ และพบว่าบางสาขาออกให้คนที่ไม่ใช่แพทย์ บางแห่งแค่อบรมสั้นๆ แล้วสอบทำให้เกิดความทับซ้อน สร้างความสับสนกับประชาชน ซึ่งแพทยสภารับทราบปัญหานี้ดี จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียด ในทุกสาขาที่เกิดขึ้นใหม่” รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวและว่า ดังนั้น ผู้ที่อ้างความเชี่ยวชาญในสาขาที่แพทยสภายังไม่ได้รับรองถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าวว่า การเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาของประเทศไทยนั้นต้องเป็นแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต 6 ปี และศึกษาต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เสมือนการเรียนระดับปริญญาโทโดยใช้เวลาเรียนอีก 3-5 ปี จากนั้นศึกษาสาขาต่อยอดหลังจากจบจากสาขาหลักเสมือนระดับปริญญาเอก อีก 2-3 ปีซึ่งแพทย์แต่ละคนกว่าที่จะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาจะต้องใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 9-12 ปี โดยต้องสอบผ่านมาตรฐานแพทยสภาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติจึงจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ที่ประชาชนมั่นใจได้ไม่ใช่เพียงอบรมระยะสั้นๆ และรับใบประกาศต่างๆ มาเท่านั้น
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การที่แพทย์จะสามารถแสดงตนเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาได้นั้น จะต้องได้รับการอนุมัติจากแพทยสภาตามกฎหมายก่อน ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองและดำเนินการควบคุมมาตรฐานความเชี่ยวชาญของแพทย์ทั้ง 80 สาขา แบ่งเป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 38 สาขาหลัก อาทิ อายุรศาสตร์ทั่วไป กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา เป็นต้น และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่อยอดจากสาขาหลักอีก 42 สาขา เช่น อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคไต กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ และศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น โดยประชาชนจะตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.tmc.or.th/service_check_doctor.php ตลอด 24 ชม.
“ปัญหาคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งบางสาขาแพทยสภาไทยยังไม่ได้ยอมรับ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ความงาม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการอบรมเพื่อเทียบกับมาตรฐานไทยผ่านทางราชวิทยาลัยผู้เชี่ยวชาญ 14 แห่ง พบว่า สาขาเชี่ยวชาญในบางประเทศมีการขยายสาขาปลีกย่อยมากมาย บางสาขาได้รับการยอมรับจากสถาบันหลักที่เป็นมาตรฐาน แต่บางสาขาไม่เป็นที่ยอมรับ และพบว่าบางสาขาออกให้คนที่ไม่ใช่แพทย์ บางแห่งแค่อบรมสั้นๆ แล้วสอบทำให้เกิดความทับซ้อน สร้างความสับสนกับประชาชน ซึ่งแพทยสภารับทราบปัญหานี้ดี จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียด ในทุกสาขาที่เกิดขึ้นใหม่” รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวและว่า ดังนั้น ผู้ที่อ้างความเชี่ยวชาญในสาขาที่แพทยสภายังไม่ได้รับรองถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร กล่าวว่า การเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาของประเทศไทยนั้นต้องเป็นแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต 6 ปี และศึกษาต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เสมือนการเรียนระดับปริญญาโทโดยใช้เวลาเรียนอีก 3-5 ปี จากนั้นศึกษาสาขาต่อยอดหลังจากจบจากสาขาหลักเสมือนระดับปริญญาเอก อีก 2-3 ปีซึ่งแพทย์แต่ละคนกว่าที่จะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาจะต้องใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 9-12 ปี โดยต้องสอบผ่านมาตรฐานแพทยสภาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติจึงจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ที่ประชาชนมั่นใจได้ไม่ใช่เพียงอบรมระยะสั้นๆ และรับใบประกาศต่างๆ มาเท่านั้น