เตือนคนผ่าตัดทวารเทียม ระวังหน้าร้อนเหงื่อออกง่ายทำกาวปิดผิวหนังเสื่อมสภาพไว เสี่ยงติดเชื้อง่าย หมอแนะเปลี่ยนแผ่นปิดผิวหนังไวขึ้นจาก 7 วัน เป็น 5 วัน ห่วงกลุ่มสูงอายุและผู้ป่วยไร้คนดูแล พบชอบปล่อยถุงอุจจาระจนเต็ม ปริแตก หรือทำถุงพลาสติกใช้เอง แนะคนลำไส้เหลือน้อยควรกินอาหารเสริมควบคู่
นพ.วิษณุ ปานจันทร์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยที่มีทวารใหม่ ว่า ทวารใหม่หรือทวารเทียมคือการเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้อง มีทั้งแบบชั่วคราวคือประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี และแบบถาวรหรือตลอดชีวิต สาเหตุที่ต้องเปิดทวารทางหน้าท้อง เนื่องจากมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในโรคมะเร็ง อุบัติเหตุจนลำไส้ใหญ่ทะลุ ลำไส้ใหญ่ติดเชื้อรุนแรง หรือเป็นมะเร็งทวารหนัก ซึ่งการจะเปิดชั่วคราวหรือถาวรอยู่ที่ลักษณะโรคของผู้ป่วย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ผ่าตัดทวารเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่มีจำนวนที่แน่ชัดนัก ส่วนใหญ่จะพบผ่าตัดทวารเทียมแบบชั่วคราวมากกว่าแบบถาวร ที่น่าห่วงคือ เมื่อผ่าตัดใส่ทวารเทียมแล้วจะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อย่าให้สารที่ออกมาจากทวารเทียมปนเปื้อนผิวหนังรอบๆ ลำไส้ เพราะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้
นพ.วิษณุ กล่าวว่า การดูแลทำความสะอาดทวารเทียม แพทย์ พยาบาลจะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติก่อนที่จะกลับบ้าน ซึ่งจะมีการนัดมาตรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าสามารถดูแลทำความสะอาดได้ดีหรือไม่ ทำให้ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเจอปัญหาการติดเชื้อ แต่กลุ่มที่น่าห่วงคือ ผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปที่ช่วยเหลือตัวเองลำบาก ไม่สามารถดูแลเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีคนดูแล บางครั้งคนกลุ่มนี้เมื่อถุงอุจจาระเต็มก็ไม่เปลี่ยน ทำให้ถุงปริ แตก อุจจาระล้นจนเซาะเข้าไปตามแผ่นปิดผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือไปหาถุงพลาสติกธรรมดามาเปลี่ยนเอง เนื่องจากไม่มีคนพาไปซื้อที่โรงพยาบาล
“ปัจจุบันแผ่นปิดผิวหนังสามารถปิดผิวหนังบริเวณใกล้ทวารเทียมได้นานถึง 7 วัน โดยไม่ต้องทำความสะอาดเลย ส่วนถุงอุจจาระก็สามารถป้องกันน้ำได้ ทำให้การดูแลความสะอาดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเช็ดให้แห้งหลังอาบน้ำ และคอยเปลี่ยนถุงอุจจาระอยู่เสมอเมื่อถุงเต็ม ส่วนแผ่นปิดผิวหนังก็เปลี่ยนทุก 7 วัน เพราะกาวจะเริ่มเสื่อมสภาพ จนหลุดออกในที่สุด หากไม่เปลี่ยนก็มีความเสี่ยงติดเชื้อเช่นกัน อีกปัจจัยหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือ ไทยเป็นเมืองร้อน และช่วงนี้ก็เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว หากเหงื่อออกเยอะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของกาว ผู้ป่วยและญาติต้องคอยสังเกต หากกาวเริ่มเสื่อมสภาพต้องรีบเปลี่ยนแผ่นปิดผิวหนังทันที โดยอาจเปลี่ยนทุกๆ 5 วันแทน” นพ.วิษณุ กล่าว
นพ.วิษณุ กล่าวว่า เมื่อต่อทวารเทียมแล้วจะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระได้ ดังนั้น ปริมาณอุจจาระที่ออกมาจึงสัมพันธ์กับอาหารที่กินเข้าไป หากกินมากการขับถ่ายก็จะยิ่งมาก รวมถึงสัมพันธ์กับปริมาณลำไส้ที่เหลืออยู่ด้วย หากผ่าตัดลำไส้ออกไปมาก การดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจึงน้อย ทำให้อุจจาระออกมามาก แต่หากเหลือลำไส้อยู่มากของเสียก็จะออกมาน้อย ดังนั้น ผู้ที่เหลือลำไส้ไม่มากจึงควรกินอาหารเสริมร่วมด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร
นพ.วิษณุ ปานจันทร์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยที่มีทวารใหม่ ว่า ทวารใหม่หรือทวารเทียมคือการเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้อง มีทั้งแบบชั่วคราวคือประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี และแบบถาวรหรือตลอดชีวิต สาเหตุที่ต้องเปิดทวารทางหน้าท้อง เนื่องจากมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ในโรคมะเร็ง อุบัติเหตุจนลำไส้ใหญ่ทะลุ ลำไส้ใหญ่ติดเชื้อรุนแรง หรือเป็นมะเร็งทวารหนัก ซึ่งการจะเปิดชั่วคราวหรือถาวรอยู่ที่ลักษณะโรคของผู้ป่วย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ผ่าตัดทวารเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่มีจำนวนที่แน่ชัดนัก ส่วนใหญ่จะพบผ่าตัดทวารเทียมแบบชั่วคราวมากกว่าแบบถาวร ที่น่าห่วงคือ เมื่อผ่าตัดใส่ทวารเทียมแล้วจะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อย่าให้สารที่ออกมาจากทวารเทียมปนเปื้อนผิวหนังรอบๆ ลำไส้ เพราะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้
นพ.วิษณุ กล่าวว่า การดูแลทำความสะอาดทวารเทียม แพทย์ พยาบาลจะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติก่อนที่จะกลับบ้าน ซึ่งจะมีการนัดมาตรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าสามารถดูแลทำความสะอาดได้ดีหรือไม่ ทำให้ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเจอปัญหาการติดเชื้อ แต่กลุ่มที่น่าห่วงคือ ผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปที่ช่วยเหลือตัวเองลำบาก ไม่สามารถดูแลเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีคนดูแล บางครั้งคนกลุ่มนี้เมื่อถุงอุจจาระเต็มก็ไม่เปลี่ยน ทำให้ถุงปริ แตก อุจจาระล้นจนเซาะเข้าไปตามแผ่นปิดผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือไปหาถุงพลาสติกธรรมดามาเปลี่ยนเอง เนื่องจากไม่มีคนพาไปซื้อที่โรงพยาบาล
“ปัจจุบันแผ่นปิดผิวหนังสามารถปิดผิวหนังบริเวณใกล้ทวารเทียมได้นานถึง 7 วัน โดยไม่ต้องทำความสะอาดเลย ส่วนถุงอุจจาระก็สามารถป้องกันน้ำได้ ทำให้การดูแลความสะอาดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเช็ดให้แห้งหลังอาบน้ำ และคอยเปลี่ยนถุงอุจจาระอยู่เสมอเมื่อถุงเต็ม ส่วนแผ่นปิดผิวหนังก็เปลี่ยนทุก 7 วัน เพราะกาวจะเริ่มเสื่อมสภาพ จนหลุดออกในที่สุด หากไม่เปลี่ยนก็มีความเสี่ยงติดเชื้อเช่นกัน อีกปัจจัยหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือ ไทยเป็นเมืองร้อน และช่วงนี้ก็เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว หากเหงื่อออกเยอะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของกาว ผู้ป่วยและญาติต้องคอยสังเกต หากกาวเริ่มเสื่อมสภาพต้องรีบเปลี่ยนแผ่นปิดผิวหนังทันที โดยอาจเปลี่ยนทุกๆ 5 วันแทน” นพ.วิษณุ กล่าว
นพ.วิษณุ กล่าวว่า เมื่อต่อทวารเทียมแล้วจะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระได้ ดังนั้น ปริมาณอุจจาระที่ออกมาจึงสัมพันธ์กับอาหารที่กินเข้าไป หากกินมากการขับถ่ายก็จะยิ่งมาก รวมถึงสัมพันธ์กับปริมาณลำไส้ที่เหลืออยู่ด้วย หากผ่าตัดลำไส้ออกไปมาก การดูดซึมสารอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจึงน้อย ทำให้อุจจาระออกมามาก แต่หากเหลือลำไส้อยู่มากของเสียก็จะออกมาน้อย ดังนั้น ผู้ที่เหลือลำไส้ไม่มากจึงควรกินอาหารเสริมร่วมด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร