ปลัด สธ. ลงพื้นที่เหตุไฟไหม้กองขยะที่อยุธยา สั่งตั้งวอร์รูมเฝ้าระวังผลกระทบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เกิดจากไฟไหม้ขยะครัวเรือนและตลาดสด แจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เพื่อป้องกันการสูดละอองควันไฟ พร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์ดูแลสุขภาพ ย้ำเตือนกลุ่มเสี่ยง เช่น หญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก ใจสั่น สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยจากควันพิษ คุณภาพอากาศไม่เกินมาตรฐาน
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะ เดินทางไปพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้กองขยะ ในตำบลบ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อวางมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพประชาชน ป้องกันและลดผลกระทบจากมลพิษละอองควันไฟดังกล่าว โดย นพ.ณรงค์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ติดตามปัญหาสุขภาพที่อาจได้รับผลกระทบจากไฟไหม้กองขยะ ซึ่งพบว่าได้มีการจัดระบบดูแลในเรื่องนี้เป็นอย่างดี 2 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ จะดูแลภายนอกอาคาร ส่วนกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้กรมควบคุมโรค ดูแลภายในอาคารบ้านเรือน สารที่เกิดจากการเผาไหม้กองขยะครั้งนี้ ซึ่งเป็นขยะจากครัวเรือน และจากตลาดสด ที่อาจเกิดปัญหาได้คือสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) จะมีการติดตามเฝ้าระวัง หากพบว่าสูงเกินมาตรฐาน จะแจ้งจังหวัดในการพิจารณาอพยพประชาชน ผลการตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศขณะนี้ อยู่ในเกณฑ์ไม่เกินมาตรฐาน ส่วนมาตรการที่สอง คือการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนที่อาศัยใกล้เคียงรอบๆ บ่อขยะ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุข จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งวอร์รูมที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ติดตามวางแผนแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการดูแลประชาชน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ เป็นต้น
ด้าน นพ.วชิระ กล่าวว่า ในระยะเร่งด่วนนี้ ได้จัดหน่วยแพทย์พร้อมรถพยาบาลระดับสูง มีเครื่องมือแพทย์ครบครันจากโรงพยาบาลในจังหวัด หมุนเวียนไปให้บริการที่ อบต. บ้านป้อม ตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลทั้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงกับกองขยะ ซึ่งมีประมาณ 300 ครัวเรือน โดยได้แจกหน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปให้ประชาชน 10,000 ชิ้น และชนิดพิเศษให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง 100 ชิ้น เพื่อใช้ป้องกันการสูดควันเข้าสู่ร่างกายระหว่างปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันผลกระทบให้มากที่สุด
สำหรับผลการติดตามสุขภาพประชาชน ในเบื้องต้น พบผู้ป่วย 3 ราย จากอาการหอบหืด แต่ไม่ได้เกิดจากควันพิษกองขยะ ทั้งนี้ สธ. จะมีการติดตามประเมินสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงรอบบ่อขยะในรัศมี 1 กิโลเมตร ทุกวัน ในระยะนี้ขอแนะนำให้ประชาชนอยู่ภายในบ้าน งดกิจกรรมกลางแจ้งชั่วคราว เช่นออกกำลังกาย หากประชาชนมีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา แสบคอ แสบจมูก ไอ หอบ หรือในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นหญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 15 กิโลเมตร
วันนี้ (4 พ.ค.) ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะ เดินทางไปพื้นที่เกิดเหตุเพลิงไหม้กองขยะ ในตำบลบ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อวางมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพประชาชน ป้องกันและลดผลกระทบจากมลพิษละอองควันไฟดังกล่าว โดย นพ.ณรงค์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ติดตามปัญหาสุขภาพที่อาจได้รับผลกระทบจากไฟไหม้กองขยะ ซึ่งพบว่าได้มีการจัดระบบดูแลในเรื่องนี้เป็นอย่างดี 2 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ จะดูแลภายนอกอาคาร ส่วนกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้กรมควบคุมโรค ดูแลภายในอาคารบ้านเรือน สารที่เกิดจากการเผาไหม้กองขยะครั้งนี้ ซึ่งเป็นขยะจากครัวเรือน และจากตลาดสด ที่อาจเกิดปัญหาได้คือสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) จะมีการติดตามเฝ้าระวัง หากพบว่าสูงเกินมาตรฐาน จะแจ้งจังหวัดในการพิจารณาอพยพประชาชน ผลการตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศขณะนี้ อยู่ในเกณฑ์ไม่เกินมาตรฐาน ส่วนมาตรการที่สอง คือการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนที่อาศัยใกล้เคียงรอบๆ บ่อขยะ ได้ให้สำนักงานสาธารณสุข จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งวอร์รูมที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ติดตามวางแผนแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการดูแลประชาชน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ เป็นต้น
ด้าน นพ.วชิระ กล่าวว่า ในระยะเร่งด่วนนี้ ได้จัดหน่วยแพทย์พร้อมรถพยาบาลระดับสูง มีเครื่องมือแพทย์ครบครันจากโรงพยาบาลในจังหวัด หมุนเวียนไปให้บริการที่ อบต. บ้านป้อม ตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลทั้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงกับกองขยะ ซึ่งมีประมาณ 300 ครัวเรือน โดยได้แจกหน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปให้ประชาชน 10,000 ชิ้น และชนิดพิเศษให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง 100 ชิ้น เพื่อใช้ป้องกันการสูดควันเข้าสู่ร่างกายระหว่างปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันผลกระทบให้มากที่สุด
สำหรับผลการติดตามสุขภาพประชาชน ในเบื้องต้น พบผู้ป่วย 3 ราย จากอาการหอบหืด แต่ไม่ได้เกิดจากควันพิษกองขยะ ทั้งนี้ สธ. จะมีการติดตามประเมินสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงรอบบ่อขยะในรัศมี 1 กิโลเมตร ทุกวัน ในระยะนี้ขอแนะนำให้ประชาชนอยู่ภายในบ้าน งดกิจกรรมกลางแจ้งชั่วคราว เช่นออกกำลังกาย หากประชาชนมีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา แสบคอ แสบจมูก ไอ หอบ หรือในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นหญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 15 กิโลเมตร