ศธ. เตรียมเสนอตั้งกรรมการระดับชาติคุมผลิต-พัฒนาครูภาพรวม หลังพบสถาบันแห่ผลิตจนล้นตลาดต่อเนื่อง 5 ปี พร้อมขู่หากท้ายสุดสถาบันผลิตไม่ทำตามแผนงาน จะงัดมาตรการไม่จัดสรรงบประมาณมาใช้
วันนี้ (1 พ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ว่า ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้าจะจัดประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อนำมายกร่างยุทธศาสตร์พัฒนาระบบผลิตและพัฒนาครู อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีมติเห็นตรงกันว่าจำป็นต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูแลระบบผลิตและพัฒนาครูในภาพรวม และประเด็นเรื่องการตั้งคณะกรรมการระดับชาตินี้ จะเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในร่างยุทธศาสตร์ฯ ทั้งนี้ เหตุผลที่เห็นควรให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ขึ้นมาดูแลการผลิตและพัฒนาครูในภาพรวม เพราะเห็นว่าการผลิตครูในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการ ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ปัจจุบันมีอัตราเกษียณอยู่ที่ปีละประมาณ 20,000 คน แต่ยอดรวมจำนวนครูที่ทุกสถาบันผลิตในระยะ 5 ปี จากนี้สูงถึงปีละ 50,000 คน โดยเฉพาะปี 2558 เป็นปีที่มียอดรวมการผลิตครูสูงสุดถึง 61,000 คน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นระบบของการผลิตครู
ขณะเดียวกันยังมีการผลิตไม่ตรงกับความต้องการจริง อาทิ สาขาพลศึกษามีการผลิตครูมากที่สุด ทั้งที่สาขานี้ไม่ใช่สาขาขาดแคลน ยังไม่รวมถึงคุณภาพของครูที่ผลิตออกมาตอบสนองการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน ให้ทันต่อกระแสโลกได้หรือไม่ โดยเฉพาะการสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ขณะเดียวกันที่ประชุมยังหารือ ถึงการผลิตครูในสถาบันอาชีวศึกษาด้วย ซึ่งยังขาดแคลนโดยเฉพาะครูช่างที่สามารถสอนในหลักสูตรใหม่ๆ ที่เปิดขึ้นได้
“เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายจึงเห็นตรงกับว่าควรจะมีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากทุกสังกัดที่มีสถาบันผลิตครู ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักปลัด ศธ. เป็นต้น โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมาร่วมกันกำหนดทิศทางและการผลิตครู โดยใช้ข้อมูลแท้จริงที่จะมีการสำรวจตามมา เพื่อให้การผลิตครูไม่ล้นตลาด และตรงกับสาขาที่ต้องการ โดยจะอาศัยมาตรการทางงบประมาณ เป็นตัวกดดันสถาบันผลิตครู เช่นหากสถาบันผลิตบัณฑิตครูเกินกว่าที่กำหนด และไม่ใช่ในสาขาที่ขาดแคลนก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะเอามาตรการดังกล่าวมมาใช้เป็นลำดับแรก แต่จะใช้วิธีการพูดคุยทำความเข้าใจกับสถาบันผลิตก่อน หากเข้าใจตรงกันก็ไม่มีปัญหา” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การเสนอตั้งคณะกรรมการระดับชาติไม่สามารถดำเนินการแต่งตั้งได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างรักษาการ แต่จะเป็นการจัดทำรายละเอียดโครงสร้าง ขอบเขตหน้าที่ของกรรมการไว้ พร้อมใจทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูด้านอื่นๆ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดต่อไป
วันนี้ (1 พ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ว่า ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้าจะจัดประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อนำมายกร่างยุทธศาสตร์พัฒนาระบบผลิตและพัฒนาครู อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีมติเห็นตรงกันว่าจำป็นต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูแลระบบผลิตและพัฒนาครูในภาพรวม และประเด็นเรื่องการตั้งคณะกรรมการระดับชาตินี้ จะเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในร่างยุทธศาสตร์ฯ ทั้งนี้ เหตุผลที่เห็นควรให้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ขึ้นมาดูแลการผลิตและพัฒนาครูในภาพรวม เพราะเห็นว่าการผลิตครูในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการ ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ปัจจุบันมีอัตราเกษียณอยู่ที่ปีละประมาณ 20,000 คน แต่ยอดรวมจำนวนครูที่ทุกสถาบันผลิตในระยะ 5 ปี จากนี้สูงถึงปีละ 50,000 คน โดยเฉพาะปี 2558 เป็นปีที่มียอดรวมการผลิตครูสูงสุดถึง 61,000 คน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นระบบของการผลิตครู
ขณะเดียวกันยังมีการผลิตไม่ตรงกับความต้องการจริง อาทิ สาขาพลศึกษามีการผลิตครูมากที่สุด ทั้งที่สาขานี้ไม่ใช่สาขาขาดแคลน ยังไม่รวมถึงคุณภาพของครูที่ผลิตออกมาตอบสนองการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน ให้ทันต่อกระแสโลกได้หรือไม่ โดยเฉพาะการสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ขณะเดียวกันที่ประชุมยังหารือ ถึงการผลิตครูในสถาบันอาชีวศึกษาด้วย ซึ่งยังขาดแคลนโดยเฉพาะครูช่างที่สามารถสอนในหลักสูตรใหม่ๆ ที่เปิดขึ้นได้
“เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายจึงเห็นตรงกับว่าควรจะมีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากทุกสังกัดที่มีสถาบันผลิตครู ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักปลัด ศธ. เป็นต้น โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมาร่วมกันกำหนดทิศทางและการผลิตครู โดยใช้ข้อมูลแท้จริงที่จะมีการสำรวจตามมา เพื่อให้การผลิตครูไม่ล้นตลาด และตรงกับสาขาที่ต้องการ โดยจะอาศัยมาตรการทางงบประมาณ เป็นตัวกดดันสถาบันผลิตครู เช่นหากสถาบันผลิตบัณฑิตครูเกินกว่าที่กำหนด และไม่ใช่ในสาขาที่ขาดแคลนก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะเอามาตรการดังกล่าวมมาใช้เป็นลำดับแรก แต่จะใช้วิธีการพูดคุยทำความเข้าใจกับสถาบันผลิตก่อน หากเข้าใจตรงกันก็ไม่มีปัญหา” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การเสนอตั้งคณะกรรมการระดับชาติไม่สามารถดำเนินการแต่งตั้งได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างรักษาการ แต่จะเป็นการจัดทำรายละเอียดโครงสร้าง ขอบเขตหน้าที่ของกรรมการไว้ พร้อมใจทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูด้านอื่นๆ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดต่อไป