สพฐ.คุมเข้มสอบครูผู้ช่วย สั่งเก็บตัว กก.และคนเกี่ยวข้องออกข้อสอบ ทั้งห้ามเฉลยก่อนสอบเสร็จแต่ให้เฉลยเฉพาะวิชาที่เลือกใช้สอบภายหลังการสอบเสร็จ เพื่อป้องกันการทุจริต ขณะที่ ก.ค.ศ. ส่งสายตรวจเจาะข้อมูลจับตาทุกพื้นที่ฯ มีมติให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ มีอำนาจสั่งระงับ ยกเลิกการจัดสอบทันทีหากพบส่อทุจริต
วันนี้ (17 เม.ย.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมสอบแข่งขันคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ครั้งที่ 1/ 2557 ใน 89 เขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวม 1,888 อัตรา ที่จะสอบภาค ก และ ข ในวันที่ 19-20 เม.ย. นี้ ว่า ขณะนี้ 38 เขตพื้นที่ฯ ที่จัดทำข้อสอบเอง เรียกกรรมการออกข้อสอบเก็บตัว และเริ่มออกข้อสอบแล้วตั้งแต่วันที่ 17 -18 เม.ย.เพื่อจะใช้สอบในวันที่ 19 -20 เม.ย. ส่วนอีก 51 เขตพื้นที่ฯ ที่เหลือจะใช้ข้อสอบที่ออกโดยสถาบันอุดมศึกษา ขณะที่ในส่วนของ สศศ. เริ่มออกข้อสอบไปตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากใช้กรรมการออกข้อสอบน้อย แต่เปิดสอบมากจึงต้องใช้เวลาออกข้อสอบ โดยข้อสอบทั้งหมดที่ออกและส่งไปยังคณะกรรมการเลือกข้อสอบ จะยังไม่มีเฉลยจนกว่าการสอบในวิชานั้น ๆ จะเสร็จสิ้น แล้วจึงนำข้อสอบที่ถูกเลือกกลับมาให้กรรมการออกข้อสอบทำการเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง โดยจะทำแบบเดียวกันทุกวิชาเพื่อป้องกันการทุจริต ไม่ให้รู้คำตอบล่วงหน้า
“ที่ผ่านมาจะออกข้อสอบไป เฉลยไป ทำให้ข้อสอบที่จะส่งไปถึงคณะกรรมการเลือกข้อสอบจึงมีเฉลยอยู่แล้ว ทำให้เกิดการทุจริตได้ ดังนั้นปีนี้จึงห้ามไม่ให้กรรมการข้อสอบทำเฉลยก่อนแต่ ให้เฉลยหลังสอบ และเฉลยเฉพาะข้อที่คณะกรรมการเลือกไปใช้ในการสอบครั้งนี้เท่านั้น อาทิ กรรมการออกข้อสอบไป 10 ข้อ แต่ถูกเลือกมาใช้สอบ 2 ข้อ เมื่อสอบในวิชานั้น ๆ เสร็จ ก็จะนำข้อสอบที่ถูกเลือกมาให้กรรมการออกข้อสอบทำการเฉลย หลังจากสอบเสร็จ เพื่อส่งให้คณะกรรมการตรวจข้อสอบในวันรุ่งขึ้น และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบทั้งหมดจะไม่สามารถออกจากสถานที่เก็บตัวได้ จนกว่าการสอบจะเสร็จสิ้นในวันที่ 20 เม.ย.และได้กำชับห้ามไม่ให้ผอ.เขตพื้นที่ฯ 89 เขตที่เปิดสอบไปเป็นประธานออกข้อสอบ และให้อำนวยการจัดสอบอยู่ข้างนอก เพื่อตัดสินใจเวลาที่เหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นระหว่างการสอบ”นายอภิชาติ กล่าวและว่า นอกจากนั้นยังรับความร่วมมือจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสทช.)ส่งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อป้องกันการทุจริตในระหว่างการสอบไปให้ทุกเขตพื้นที่ฯ ที่จัดสอบด้วย
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องกระบวนการทุจริตเข้ามา แต่โดยเหตุที่มูลกรณีการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยครั้งก่อน เริ่มมาจากภาคตะออกเฉียงเหนือ ดังนั้นครั้งนี้ทางสพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จึงร่วมมือกัน จับตาดูพื้นที่เหล่านี้เป็นพิเศษ ขณะเดียวกันในพื้นที่อื่นก็เช่นเดียวกัน จะมีผู้แทนจากรองเลขาธิการกพฐ. ลงไปตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ ต่าง ๆ ทั้งภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีรองเลขาธิการกพฐ. เป็นผู้ดูแล ส่วนตนจะรับผิดชอบการจัดสอบในส่วนกลางและดูแลภาพรวมทั้งหมดซึ่งจะต้องดูแลอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการจัดสอบ เกิดการทุจริต เป็นการทำลายวงการครู หวังความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับผู้เข้าสอบทุกคน โดยที่ผ่านมาก็ได้ขอให้เขตพื้นที่ฯ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยนตัวกรรมการออกข้อสอบไป 2 ราย เนื่องจากมีผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นติวเตอร์มาก่อนและที่ผ่านมาพื้นที่จะมีการจัดติวมากเป็นพิเศษ
ด้าน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า ที่ประชุมหารือถึงการจัดสอบครูผู้ช่วย โดยมีมติมอบหมายให้อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ สามารถระงับ ยับยั้งการจัดสอบได้ทันทีหากพบว่า มีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม หรือขัดแย้งกับกฎหมาย นอกจากนั้นเนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดสอบครูผู้ช่วย ที่ประชุมจึงมีมติเลื่อน ปฏิทินการเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เขตพื้นที่ฯ สามารถดำเนินการจัดสอบได้อย่างเต็มที่ โดยปฏิทินใหม่ดังนี้ รับสมัคร วันที่ 6 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภาค ก และข วันที่ 17 มิถุนายน สอบภาค ก และ ข วันที่ 21 มิถุนายน ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือก 15 กรกฎาคม
วันนี้ (17 เม.ย.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมสอบแข่งขันคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ครั้งที่ 1/ 2557 ใน 89 เขตพื้นที่การศึกษาและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวม 1,888 อัตรา ที่จะสอบภาค ก และ ข ในวันที่ 19-20 เม.ย. นี้ ว่า ขณะนี้ 38 เขตพื้นที่ฯ ที่จัดทำข้อสอบเอง เรียกกรรมการออกข้อสอบเก็บตัว และเริ่มออกข้อสอบแล้วตั้งแต่วันที่ 17 -18 เม.ย.เพื่อจะใช้สอบในวันที่ 19 -20 เม.ย. ส่วนอีก 51 เขตพื้นที่ฯ ที่เหลือจะใช้ข้อสอบที่ออกโดยสถาบันอุดมศึกษา ขณะที่ในส่วนของ สศศ. เริ่มออกข้อสอบไปตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากใช้กรรมการออกข้อสอบน้อย แต่เปิดสอบมากจึงต้องใช้เวลาออกข้อสอบ โดยข้อสอบทั้งหมดที่ออกและส่งไปยังคณะกรรมการเลือกข้อสอบ จะยังไม่มีเฉลยจนกว่าการสอบในวิชานั้น ๆ จะเสร็จสิ้น แล้วจึงนำข้อสอบที่ถูกเลือกกลับมาให้กรรมการออกข้อสอบทำการเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง โดยจะทำแบบเดียวกันทุกวิชาเพื่อป้องกันการทุจริต ไม่ให้รู้คำตอบล่วงหน้า
“ที่ผ่านมาจะออกข้อสอบไป เฉลยไป ทำให้ข้อสอบที่จะส่งไปถึงคณะกรรมการเลือกข้อสอบจึงมีเฉลยอยู่แล้ว ทำให้เกิดการทุจริตได้ ดังนั้นปีนี้จึงห้ามไม่ให้กรรมการข้อสอบทำเฉลยก่อนแต่ ให้เฉลยหลังสอบ และเฉลยเฉพาะข้อที่คณะกรรมการเลือกไปใช้ในการสอบครั้งนี้เท่านั้น อาทิ กรรมการออกข้อสอบไป 10 ข้อ แต่ถูกเลือกมาใช้สอบ 2 ข้อ เมื่อสอบในวิชานั้น ๆ เสร็จ ก็จะนำข้อสอบที่ถูกเลือกมาให้กรรมการออกข้อสอบทำการเฉลย หลังจากสอบเสร็จ เพื่อส่งให้คณะกรรมการตรวจข้อสอบในวันรุ่งขึ้น และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบทั้งหมดจะไม่สามารถออกจากสถานที่เก็บตัวได้ จนกว่าการสอบจะเสร็จสิ้นในวันที่ 20 เม.ย.และได้กำชับห้ามไม่ให้ผอ.เขตพื้นที่ฯ 89 เขตที่เปิดสอบไปเป็นประธานออกข้อสอบ และให้อำนวยการจัดสอบอยู่ข้างนอก เพื่อตัดสินใจเวลาที่เหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นระหว่างการสอบ”นายอภิชาติ กล่าวและว่า นอกจากนั้นยังรับความร่วมมือจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสทช.)ส่งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อป้องกันการทุจริตในระหว่างการสอบไปให้ทุกเขตพื้นที่ฯ ที่จัดสอบด้วย
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องกระบวนการทุจริตเข้ามา แต่โดยเหตุที่มูลกรณีการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยครั้งก่อน เริ่มมาจากภาคตะออกเฉียงเหนือ ดังนั้นครั้งนี้ทางสพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จึงร่วมมือกัน จับตาดูพื้นที่เหล่านี้เป็นพิเศษ ขณะเดียวกันในพื้นที่อื่นก็เช่นเดียวกัน จะมีผู้แทนจากรองเลขาธิการกพฐ. ลงไปตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ ต่าง ๆ ทั้งภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีรองเลขาธิการกพฐ. เป็นผู้ดูแล ส่วนตนจะรับผิดชอบการจัดสอบในส่วนกลางและดูแลภาพรวมทั้งหมดซึ่งจะต้องดูแลอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการจัดสอบ เกิดการทุจริต เป็นการทำลายวงการครู หวังความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับผู้เข้าสอบทุกคน โดยที่ผ่านมาก็ได้ขอให้เขตพื้นที่ฯ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยนตัวกรรมการออกข้อสอบไป 2 ราย เนื่องจากมีผู้ให้ข้อมูลว่าเป็นติวเตอร์มาก่อนและที่ผ่านมาพื้นที่จะมีการจัดติวมากเป็นพิเศษ
ด้าน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่า ที่ประชุมหารือถึงการจัดสอบครูผู้ช่วย โดยมีมติมอบหมายให้อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ สามารถระงับ ยับยั้งการจัดสอบได้ทันทีหากพบว่า มีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม หรือขัดแย้งกับกฎหมาย นอกจากนั้นเนื่องจากอยู่ระหว่างการจัดสอบครูผู้ช่วย ที่ประชุมจึงมีมติเลื่อน ปฏิทินการเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เขตพื้นที่ฯ สามารถดำเนินการจัดสอบได้อย่างเต็มที่ โดยปฏิทินใหม่ดังนี้ รับสมัคร วันที่ 6 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกภาค ก และข วันที่ 17 มิถุนายน สอบภาค ก และ ข วันที่ 21 มิถุนายน ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านการคัดเลือก 15 กรกฎาคม