“ชัยพฤกษ์” ระบุเพิ่มยอดผู้เรียนอาชีวะ ปวช. ภาคใต้ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องยาก แจงเด็กนิยมเรียนศาสนามากกว่าเรียนสายอาชีพ เผยเน้นจับกลุ่มเป้าหมายใหม่คือคนไม่เลือกเรียนต่อกับคนทำงานแต่ต้องการความรู้ทางสายอาชีพ มั่นใจช่วยสะท้อนภาพสัดส่วนผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับทราบข้อเสนอจากผู้บริหาร ครู และผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงการจัดการศึกษาสายอาชีพ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าในปีการศึกษา 2556 ที่ผ่านมา สัดส่วนนักเรียนที่เรียนสายอาชีวศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีจำนวนน้อยกว่านักเรียนสายสามัญมาก โดยมีสัดส่วนระหว่างนักเรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ อยู่ที่ 6:94 ดังนั้น จึงได้เน้นย้ำให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เพื่อให้สัดส่วนของผู้เรียนสายอาชีพต่อสายสามัญสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เบื้องต้นทราบว่า สอศ.มีนโยบายขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอยู่
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า เด็กพื้นที่ภาคใต้ให้ความสำคัญกับการเรียนศาสนาจึงนิยมศึกษาต่อในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามมากกว่าทำให้เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือการศึกษาภาคบังคับจึงไม่ค่อยสนใจเลือกเรียนต่อสายอาชีพในระดับ ปวช. เท่าใดนัก สวนทางกับระดับ ปวส. ที่แนวโน้มผู้เรียนสูงขึ้นเพราะเด็กที่จบ ม.6 แต่ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็จะหันมาเลือกเรียนสายอาชีพ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สอศ. ได้หาวิธีการที่จะเพิ่มผู้เรียนในระดับ ปวช. ในพื้นที่ภาคใต้ให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนปอเนาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ 10 โรงจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ปวช. ควบคู่กับการเรียนการสอนศาสนา โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาก็จะได้วุฒิระดับ ปวช. ด้วย นอกจากนี้ ยังได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในอำเภอห่างไกลและอำเภอหน้าด่านชายแดน จำนวน 22 ศูนย์ และจัดให้มีทุนอาชีวศึกษาระดับ ปวช./ปวส. จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในส่วนของศูนย์ฝึกอบรมนั้นได้รับความสนใจทั้งจากนักเรียน และประชาชนที่สนใจอยากฝึกอาชีพอย่างมากเนื่องจากในพื้นที่ไม่มีวิทยาลัยที่สอนอาชีพมากนัก
“เป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้น สอศ. กำลังพยายามดำเนินการ แต่ยอมรับว่าหากจะให้เพิ่มสูงขึ้นจากให้สูงขึ้นถึงประมาณกว่า 10% นั้นค่อนข้างเป็นได้ยาก เพราะภาพรวมการกำหนดสัดส่วนผู้เรียนจะดูจากผู้ที่จบ ม.3 ว่าจะเลือกเรียนสายสามัญและสายอาชีพเท่าไร เช่น ปีการศึกษา 2556 มีผู้จบการศึกษาระดับภาคบังคับประมาณ 9 แสนราย ในจำนวนนี้เรียนสายสามัญ 5 แสนราย สายอาชีพ 3 แสนราย และอีก 1 แสนรายไม่เรียนอะไรซึ่งอาชีวะมองว่าเราน่าจะต้องดึงคนในกลุ่มนี้เข้ามาสู่สายอาชีพมากขึ้นซึ่งก็ให้นโยบายวิทยาลัยทุกแห่งลงไปดำเนินการ และส่วนของ สอศ. ก็พยายามไปเพิ่มตัวชี้วัดในเรื่องดังกล่าวเชื่อว่าจะสะท้อนภาพของผู้เรียนสายอาชีพที่เพิ่มขึ้นได้”นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการรับนักศึกษาของภาคใต้ในปีการศึกษา 2557 นั้นเบื้องต้นได้รับรายงานว่า เฉพาะระดับ ปวช. ปีที่ 1 ที่วิทยากาญจนาภิเษกปัตตานี รับเด็กจนเต็มจำนวนของแผนที่รับได้แล้ว ซึ่งวิทยาลัยแห่งนี้ถือว่ามีนักเรียนมาสมัครเรียนสูงแบบก้าวกระโดดซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เด็กเลือกมาเรียนที่นี่เยอะเพราะมีหอพัก แต่ในส่วนวิทยาลัยอื่นๆ ก็ยังมีที่นั่งรองรับอยู่ เช่น วิทยาลัยประมงปัตตานี วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก และสารพัดช่างนราธิวาส เป็นต้น ส่วนสาขายอดนิยมเต็มแล้วทั้ง ช่างยนต์ สาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับทราบข้อเสนอจากผู้บริหาร ครู และผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงการจัดการศึกษาสายอาชีพ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าในปีการศึกษา 2556 ที่ผ่านมา สัดส่วนนักเรียนที่เรียนสายอาชีวศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีจำนวนน้อยกว่านักเรียนสายสามัญมาก โดยมีสัดส่วนระหว่างนักเรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ อยู่ที่ 6:94 ดังนั้น จึงได้เน้นย้ำให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เพื่อให้สัดส่วนของผู้เรียนสายอาชีพต่อสายสามัญสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เบื้องต้นทราบว่า สอศ.มีนโยบายขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอยู่
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า เด็กพื้นที่ภาคใต้ให้ความสำคัญกับการเรียนศาสนาจึงนิยมศึกษาต่อในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามมากกว่าทำให้เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือการศึกษาภาคบังคับจึงไม่ค่อยสนใจเลือกเรียนต่อสายอาชีพในระดับ ปวช. เท่าใดนัก สวนทางกับระดับ ปวส. ที่แนวโน้มผู้เรียนสูงขึ้นเพราะเด็กที่จบ ม.6 แต่ไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็จะหันมาเลือกเรียนสายอาชีพ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สอศ. ได้หาวิธีการที่จะเพิ่มผู้เรียนในระดับ ปวช. ในพื้นที่ภาคใต้ให้มากขึ้น โดยร่วมมือกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนปอเนาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ 10 โรงจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ปวช. ควบคู่กับการเรียนการสอนศาสนา โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาก็จะได้วุฒิระดับ ปวช. ด้วย นอกจากนี้ ยังได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในอำเภอห่างไกลและอำเภอหน้าด่านชายแดน จำนวน 22 ศูนย์ และจัดให้มีทุนอาชีวศึกษาระดับ ปวช./ปวส. จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในส่วนของศูนย์ฝึกอบรมนั้นได้รับความสนใจทั้งจากนักเรียน และประชาชนที่สนใจอยากฝึกอาชีพอย่างมากเนื่องจากในพื้นที่ไม่มีวิทยาลัยที่สอนอาชีพมากนัก
“เป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มขึ้น สอศ. กำลังพยายามดำเนินการ แต่ยอมรับว่าหากจะให้เพิ่มสูงขึ้นจากให้สูงขึ้นถึงประมาณกว่า 10% นั้นค่อนข้างเป็นได้ยาก เพราะภาพรวมการกำหนดสัดส่วนผู้เรียนจะดูจากผู้ที่จบ ม.3 ว่าจะเลือกเรียนสายสามัญและสายอาชีพเท่าไร เช่น ปีการศึกษา 2556 มีผู้จบการศึกษาระดับภาคบังคับประมาณ 9 แสนราย ในจำนวนนี้เรียนสายสามัญ 5 แสนราย สายอาชีพ 3 แสนราย และอีก 1 แสนรายไม่เรียนอะไรซึ่งอาชีวะมองว่าเราน่าจะต้องดึงคนในกลุ่มนี้เข้ามาสู่สายอาชีพมากขึ้นซึ่งก็ให้นโยบายวิทยาลัยทุกแห่งลงไปดำเนินการ และส่วนของ สอศ. ก็พยายามไปเพิ่มตัวชี้วัดในเรื่องดังกล่าวเชื่อว่าจะสะท้อนภาพของผู้เรียนสายอาชีพที่เพิ่มขึ้นได้”นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการรับนักศึกษาของภาคใต้ในปีการศึกษา 2557 นั้นเบื้องต้นได้รับรายงานว่า เฉพาะระดับ ปวช. ปีที่ 1 ที่วิทยากาญจนาภิเษกปัตตานี รับเด็กจนเต็มจำนวนของแผนที่รับได้แล้ว ซึ่งวิทยาลัยแห่งนี้ถือว่ามีนักเรียนมาสมัครเรียนสูงแบบก้าวกระโดดซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เด็กเลือกมาเรียนที่นี่เยอะเพราะมีหอพัก แต่ในส่วนวิทยาลัยอื่นๆ ก็ยังมีที่นั่งรองรับอยู่ เช่น วิทยาลัยประมงปัตตานี วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก และสารพัดช่างนราธิวาส เป็นต้น ส่วนสาขายอดนิยมเต็มแล้วทั้ง ช่างยนต์ สาขาบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์