กกจ. จัดโครงการแนะแนวอาชีพสู่ ร.ร. ดึงครูแนะแนวเป็นเครือข่าย สอนนักเรียน ม.ต้นให้รู้ถึงความชอบ-ถนัดด้านทักษะอาชีพ พร้อมป้อนข้อมูลตลาดแรงงาน ประเดิมจ่ายค่าเบี้ยให้ครูแนะแนว 200 คนใน 8 พื้นที่คนละ 600 บ. ต่อเดือน เดินหน้าปรับปรุงระบบไอทีบริการสมัครงาน-เพิ่มข้อมูลนายจ้าง
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ. มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน โดยการศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำเพื่อให้คนไทยมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดด้านทักษะอาชีพ จึงจัดโครงการแนะแนวอาชีพสู่โรงเรียนขึ้นเพื่อให้แก่นักเรียนที่เรียนระดับ ม.ต้นได้รู้ถึงความชอบและความถนัดของตนเอง และความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน จะได้เลือกเรียนอย่างเหมาะสมและจบแล้วมีงานทำโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกแห่งได้สร้างเครือข่ายเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนต่างๆ ช่วยถ่ายทอดความรู้ทักษะและความถนัดด้านอาชีพ รวมทั้งมีแบบทดสอบความถนัดทางอาชีพให้ทดลองทำเพื่อจะได้รู้ถึงความชอบและถนัดของตนเองและแจ้งข้อมูลความต้องกำลังแรงงานของตลาดแรงงานให้นักเรียนได้รับรู้ด้วย ทั้งนี้ ในปีงบประมาณในปี 2557 กกจ. ได้รับงบจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่ครูแนะแนว 200 คน ได้รับคนละ 600 บาทต่อเดือน โดยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงใน 8 พื้นที่ได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก, ขอนแก่น, สงขลา, ระยอง, นครปฐม รวมทั้งสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ 4,6,9 ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีงบดำเนินการเช่นนี้
“โครงการแนะแนวอาชีพสู่โรงเรียน จะช่วยให้เด็กรู้ถึงความชอบและถนัดของตนเองแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่ใช่เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ไม่รู้ว่าตนเองมีความถนัดและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ เมื่อจบออกมาแล้วก็ไม่มีงานทำ หรือกรณีปัญหาเด็กซิ่วเพราะเลือกเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัด ทำให้ต้องออกกลางคันมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี” อธิบดี กกจ. กล่าว
นายประวิทย์กล่าวด้วยว่า กกจ. จะปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์และไอทีของศูนย์บริการจัดหางานของ กกจ. ในสำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ ให้มีความทันสมัยและสามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานได้รวดเร็วขึ้นและจะเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการให้มากขึ้น เช่น รายละเอียดของตำแหน่งงานที่แต่ละบริษัทรับสมัคร เงินเดือน สวัสดิการ และผู้สมัครงานสามารถกรอกข้อมูลประวัติได้อย่างละเอียด รวมทั้งจะเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานประกอบการ ผู้สมัครงานเพียงแค่นำใบสมัครงานที่สำนักงานจัดหางานพิมพ์ออกมาให้ไปยื่นแก่บริษัทที่สมัครงานเท่านั้น ทางบริษัทก็สามารถค้นหาข้อมูลประวัติผู้สมัครได้ทันที ขณะนี้ได้ให้สำนักงานจัดหางานทุกแห่งจัดตั้งฝ่ายข้อมูลนายจ้างขึ้นมาเพื่อประสานงานขอข้อมูลจากสถานประกอบการต่างๆ นำมาบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้ว
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ. มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน โดยการศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำเพื่อให้คนไทยมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดด้านทักษะอาชีพ จึงจัดโครงการแนะแนวอาชีพสู่โรงเรียนขึ้นเพื่อให้แก่นักเรียนที่เรียนระดับ ม.ต้นได้รู้ถึงความชอบและความถนัดของตนเอง และความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน จะได้เลือกเรียนอย่างเหมาะสมและจบแล้วมีงานทำโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกแห่งได้สร้างเครือข่ายเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนต่างๆ ช่วยถ่ายทอดความรู้ทักษะและความถนัดด้านอาชีพ รวมทั้งมีแบบทดสอบความถนัดทางอาชีพให้ทดลองทำเพื่อจะได้รู้ถึงความชอบและถนัดของตนเองและแจ้งข้อมูลความต้องกำลังแรงงานของตลาดแรงงานให้นักเรียนได้รับรู้ด้วย ทั้งนี้ ในปีงบประมาณในปี 2557 กกจ. ได้รับงบจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่ครูแนะแนว 200 คน ได้รับคนละ 600 บาทต่อเดือน โดยจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงใน 8 พื้นที่ได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก, ขอนแก่น, สงขลา, ระยอง, นครปฐม รวมทั้งสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ 4,6,9 ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีงบดำเนินการเช่นนี้
“โครงการแนะแนวอาชีพสู่โรงเรียน จะช่วยให้เด็กรู้ถึงความชอบและถนัดของตนเองแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่ใช่เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ไม่รู้ว่าตนเองมีความถนัดและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ เมื่อจบออกมาแล้วก็ไม่มีงานทำ หรือกรณีปัญหาเด็กซิ่วเพราะเลือกเรียนในสิ่งที่ไม่ถนัด ทำให้ต้องออกกลางคันมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี” อธิบดี กกจ. กล่าว
นายประวิทย์กล่าวด้วยว่า กกจ. จะปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์และไอทีของศูนย์บริการจัดหางานของ กกจ. ในสำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ ให้มีความทันสมัยและสามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งงานได้รวดเร็วขึ้นและจะเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการให้มากขึ้น เช่น รายละเอียดของตำแหน่งงานที่แต่ละบริษัทรับสมัคร เงินเดือน สวัสดิการ และผู้สมัครงานสามารถกรอกข้อมูลประวัติได้อย่างละเอียด รวมทั้งจะเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานประกอบการ ผู้สมัครงานเพียงแค่นำใบสมัครงานที่สำนักงานจัดหางานพิมพ์ออกมาให้ไปยื่นแก่บริษัทที่สมัครงานเท่านั้น ทางบริษัทก็สามารถค้นหาข้อมูลประวัติผู้สมัครได้ทันที ขณะนี้ได้ให้สำนักงานจัดหางานทุกแห่งจัดตั้งฝ่ายข้อมูลนายจ้างขึ้นมาเพื่อประสานงานขอข้อมูลจากสถานประกอบการต่างๆ นำมาบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้ว