เวทีสัมมนาคุ้มครองเด็ก-แรงงานต่างชาติเสนอ 5 ด้าน ใส่ในร่างนโยบาย-แผนระดับชาติเพื่อขจัดใช้แรงงานเด็กปี 2558-2563 เน้นทำฐานข้อมูลเด็กทำงาน ให้โอกาสการศึกษา เสนอให้นายจ้างรับผิดชอบค่าเล่าเรียนลูกจ้างเด็ก ปรับปรุงกฎหมายตั้งศูนย์เรียนรู้
นางฉัตรเทวี อริน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานแรงงานหญิงเด็กและเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน สำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) นำเสนอรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายปีพ.ศ.2552-2557 ในงานสัมมนา “การคุ้มครองแรงงานเด็กและแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเล” ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯเมื่อเร็วๆนี้ว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ก้าวหน้าไปมากโดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากลไกและระบบการบริหารจัดการ ขณะนี้กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการคือ การทำความเข้าใจเรื่องนิยามแรงงานเด็กกับเด็กทำงานตามหลักสากลให้ทุกฝ่ายในสังคมเข้าใจตรงกันว่า กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หากจ้างงานก็ผิดกฎหมายเด็กทำงาน คือผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและทำงานโดยได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย ส่วนแรงงานเด็กคือ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ทำงานอันตราย มีผลเสียต่อร่างกาย จิตใจและสุขภาพ ผิดศีลธรรม ซื้อ ขาย บังคับในลักษณะทาสซึ่งเป็นการค้ามนุษย์ ขณะที่เด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำงานไม่นับอยู่ในกลุ่มใดเลย
“ที่ผ่านมาจากความเข้าใจผิด เช่น พบเด็กทำงาน 10 คน แต่จ้างงานถูกต้อง 9 คน มีการใช้แรงงานเด็ก 1 คน แต่เขียนรายงานว่ามีเด็กถูกใช้แรงงาน 10 คน ทำให้ต่างชาติเข้าใจผิดและเป็นส่วนหนึ่งทำให้ไทยถูกมองว่ามีการใช้แรงงานเด็กและค้ามนุษย์ จึงต้องเร่งทำความเข้าใจแก่สังคม รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเด็กทำงานเพื่อจะได้รู้ว่ามีจำนวนกี่คน อยู่ในอุตสาหกรรมไหนและพื้นที่ใดบ้าง จะต้องขอความร่วมมือสำนักงานสถิติแห่งชาติช่วยสำรวจเพื่อนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหาและการรวบรวมข้อมูลความคืบหน้าการแก้ปัญหาต้องเป็นระบบซึ่งขณะนี้กสร.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้” นางฉัตรเทวี กล่าว
ด้าน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวหลังรับมอบข้อเสนอแนะว่า มีข้อเสนอได้แก่ 1.ด้านการคุ้มครองทางสังคมให้สร้างระบบเฝ้าระวังการใช้แรงงานเด็ก โดยอาสาสมัครในชุมชน ออกมาตรการทางกฎหมายให้นายจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้เด็กทำงาน อีกทั้งให้ความรู้นายจ้างและชุมชนเรื่องการใช้แรงงานเด็ก 2. ด้านการศึกษาให้จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเด็กทำงานเพื่อจะเข้าสู่ระบบการศึกษาและจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสม ปรับปรุงกฎหมายเพื่อขออนุญาตจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมการศึกษาทางเลือกและนอกระบบแก่เด็กข้ามชาติ 3.ด้านบริการสุขภาวะให้จัดทำฐานข้อมูลการรับบริการสาธารณสุขของเด็กทำงานและเด็กต่างชาติ ให้บริการด้านสุขภาวะเชิงรุกผ่านหน่วยบริการเคลื่อนที่และศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคและสุขอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง รวมทั้งจัดทำสื่อในภาษาของแรงงานข้ามชาติ และจัดหาล่ามให้โรงพยาบาล 4.ด้านการรับรองสถานะด้านบุคคลและทะเบียน เสนอให้ปรับปรุงฐานข้อมูลตัวเลข 13 หลักให้เป็นระบบ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม เช่น รหัสพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) เพิ่มภาษาอังกฤษคู่กับภาษาไทยในสูติบัตร บังคับใช้กฎหมายการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและเด็กทำงานอย่างเคร่งครัด และ 5.ด้านการส่งเสริมอาชีพอิสระของเยาวชนให้จัดอบรมอาชีพและพัฒนาวิชาชีพล่ามให้เยาวชน
นางฉัตรเทวี อริน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานแรงงานหญิงเด็กและเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน สำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) นำเสนอรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายปีพ.ศ.2552-2557 ในงานสัมมนา “การคุ้มครองแรงงานเด็กและแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเล” ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯเมื่อเร็วๆนี้ว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ก้าวหน้าไปมากโดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากลไกและระบบการบริหารจัดการ ขณะนี้กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการคือ การทำความเข้าใจเรื่องนิยามแรงงานเด็กกับเด็กทำงานตามหลักสากลให้ทุกฝ่ายในสังคมเข้าใจตรงกันว่า กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หากจ้างงานก็ผิดกฎหมายเด็กทำงาน คือผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและทำงานโดยได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย ส่วนแรงงานเด็กคือ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ทำงานอันตราย มีผลเสียต่อร่างกาย จิตใจและสุขภาพ ผิดศีลธรรม ซื้อ ขาย บังคับในลักษณะทาสซึ่งเป็นการค้ามนุษย์ ขณะที่เด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำงานไม่นับอยู่ในกลุ่มใดเลย
“ที่ผ่านมาจากความเข้าใจผิด เช่น พบเด็กทำงาน 10 คน แต่จ้างงานถูกต้อง 9 คน มีการใช้แรงงานเด็ก 1 คน แต่เขียนรายงานว่ามีเด็กถูกใช้แรงงาน 10 คน ทำให้ต่างชาติเข้าใจผิดและเป็นส่วนหนึ่งทำให้ไทยถูกมองว่ามีการใช้แรงงานเด็กและค้ามนุษย์ จึงต้องเร่งทำความเข้าใจแก่สังคม รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเด็กทำงานเพื่อจะได้รู้ว่ามีจำนวนกี่คน อยู่ในอุตสาหกรรมไหนและพื้นที่ใดบ้าง จะต้องขอความร่วมมือสำนักงานสถิติแห่งชาติช่วยสำรวจเพื่อนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหาและการรวบรวมข้อมูลความคืบหน้าการแก้ปัญหาต้องเป็นระบบซึ่งขณะนี้กสร.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้” นางฉัตรเทวี กล่าว
ด้าน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวหลังรับมอบข้อเสนอแนะว่า มีข้อเสนอได้แก่ 1.ด้านการคุ้มครองทางสังคมให้สร้างระบบเฝ้าระวังการใช้แรงงานเด็ก โดยอาสาสมัครในชุมชน ออกมาตรการทางกฎหมายให้นายจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการศึกษาให้เด็กทำงาน อีกทั้งให้ความรู้นายจ้างและชุมชนเรื่องการใช้แรงงานเด็ก 2. ด้านการศึกษาให้จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเด็กทำงานเพื่อจะเข้าสู่ระบบการศึกษาและจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสม ปรับปรุงกฎหมายเพื่อขออนุญาตจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ส่งเสริมการศึกษาทางเลือกและนอกระบบแก่เด็กข้ามชาติ 3.ด้านบริการสุขภาวะให้จัดทำฐานข้อมูลการรับบริการสาธารณสุขของเด็กทำงานและเด็กต่างชาติ ให้บริการด้านสุขภาวะเชิงรุกผ่านหน่วยบริการเคลื่อนที่และศูนย์เด็กเล็ก รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคและสุขอนามัยแก่เด็กและผู้ปกครอง รวมทั้งจัดทำสื่อในภาษาของแรงงานข้ามชาติ และจัดหาล่ามให้โรงพยาบาล 4.ด้านการรับรองสถานะด้านบุคคลและทะเบียน เสนอให้ปรับปรุงฐานข้อมูลตัวเลข 13 หลักให้เป็นระบบ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม เช่น รหัสพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) เพิ่มภาษาอังกฤษคู่กับภาษาไทยในสูติบัตร บังคับใช้กฎหมายการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและเด็กทำงานอย่างเคร่งครัด และ 5.ด้านการส่งเสริมอาชีพอิสระของเยาวชนให้จัดอบรมอาชีพและพัฒนาวิชาชีพล่ามให้เยาวชน