ระเบียบจ่ายเงิน สปสช.ผิดระเบียบอื้อ ทั้งงบส่งเสริมป้องกันโรค ค่าตอบแทนโครงการพิเศษ สธ.ขอให้ระงับด่วน เหตุ สตง.ท้วงติง สั่ง จนท.สธ.ชะลอเบิก เร่งขอเจรจาร่วมสางปัญหาใน 2 สัปดาห์ ระบุเงินบัญชี 6 ค้างท่อกว่า 3 พันล้านบาท
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงภายหลังการประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรื่องการบริหารจัดการงบประมาณของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สาขาจังหวัด ใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1.งบค่าบริการส่งเสริมและป้องกันโรค 2.งบชดเชยเยียวยาความเสียหายจาการรับบริการทางการแพทย์ 3.งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4.งบลงทุนเพื่อการทดแทนหรืองบค่าเสื่อม และ 5.การกันเงินค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายเพื่อบริหารจัดการในระดับจังหวัด
“ช่วง 6 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 สธ.จะเสนอขอให้ สปสช.ดำเนินการปรับตามที่ สตง.ทักท้วง อีกทั้งการบริหารการเงินการคลังหลักประกันสุขภาพฯ บางส่วนทำให้เกิดทุกข์ต่อระบบและเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะระดับตำบล จิตวิญญาณของเจ้าหน้าที่ในการเพื่อประชาชนน้อยลง เพราะมีภาระต้องบันทึกรายงานเพื่อขอเบิกเงิน ซึ่ง สธ.เสนอขอให้มีการปรับการทำงานร่วมกันกับ สปสช.เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน” ปลัด สธ.กล่าว
ด้านนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า หลังจากนี้ จะดำเนินการ 3 เรื่องใหญ่ คือ 1.งบบัญชี 6 หรืองบส่งเสริมและป้องกันโรคประชาชน จะต้องจ่ายงบตรงไปยังหน่วยบริการ แต่ สปสช.กลับจ่ายผ่านหน่วยบริหารคือ สปสช.สาขาจังหวัด คือ สสจ.ซึ่งระเบียบการจ่ายไม่ถูกต้อง สธ.จึงเสนอให้ สปสช.งดใช้ระเบียบนี้ แล้วมาหารือร่วมกันถึงวิธีการบริหารงบส่วนนี้ 2.การจ่ายเงินค่าตอบแทนในการดำเนินการโครงการพิเศษต่างๆ ของ สปสช.ที่ สตง.ท้วงว่าไม่ถูกต้องตามระเบียบ เช่น โครงการล้างไต เนื่องจากมีการจ่ายค่าตอบแทนให้รายบุคคลแทนที่จะจ่ายผ่านหน่วยบริการ สธ.จึงขอให้ สปสช.ระงับการใช้ระเบียบนี้และเจรจาร่วมกับ สธ.ว่าจะใช้ระเบียบใดในการจ่ายค่าตอบแทนส่วนนี้ให้ถูกต้อง และ 3.สตง.ท้วงติงเรื่องงบลงทุนเพื่อทดแทนครุภัณฑ์ เครื่องมือ สิ่งก่อสร้าง หรืองบค่าเสื่อม ซึ่งบางเรื่องไม่สามารถดำเนินการได้ สธ.จะทำหนังสือถึงสปสช.ขอให้ระงับการจัดซื้อในส่วนที่สตง.ท้วงติง โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ที่ สปสช.จะตอบรับการเจรจาร่วม นอกจากนี้ ปลัด สธ.ได้ลงนามในหนังสือท้วงถึงคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ให้ชี้แจงต่อกรณีที่ สตง.ท้วงติงด้วย
“ในช่วงนี้เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการของ สธ.จะชะลอการขอเบิกงบในส่วนของบัญชี 6 และค่าตอบแทนรายบุคคลที่ทำโครงการพิเศษต่างๆ จากสปสช.จนกว่าจะมีการเจรจาและได้แนวทางออกร่วมกันระหว่าง สปสช.และ สธ.ซึ่งเงินตามบัญชี 6 กลุ่มประกันสุขภาพของ สธ.รายงานว่า จากการตรวจสอบในจังหวัดต่างๆ ได้ 48% ของจังหวัดทั้งหมด มีเงินส่วนนี้ค้างท่อตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 จำนวนกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งในการแก้ปัญหาทั้ง 2 เรื่องนี้ หากมีการเจรจาร่วมกันเพื่อทำให้ถูกต้องตามระเบียบนั้น สามารถดำเนินการได้โดย สธ.ออกระเบียบเงินบำรุง ให้มีการจ่ายงบผ่านหน่วยบริการ ไม่ใช่หน่วยบริหารหรือจ่ายรายบุคคล แต่ถ้าไม่มีการหารือร่วมกัน สธ.อาจจะมีข้อเสนอต่อว่า นพ.สสจ.ยังจำเป็นต้องทำหน้าที่เป็น ผอ.สปสช.สาขจังหวัดตามประกาศ สปสช.ปี 2545 ต่อไปหรือไม่” นพ.วชิระกล่าว
แหล่งข่าวในที่ประชุม กล่าวว่า ภายในการประชุมมีการหารือถึงขนาดที่ว่าระหว่างที่ สปสช.ยังไม่มาเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกับ สธ.นั้น สธ.จะไม่ทำงานร่วมกับ สปสช.จนกว่าจะมีการเจรจาได้ข้อยุติ และไม่ร่วมสังฆกรรมโดยถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ร่วมกับ สปสช.ด้วย
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงภายหลังการประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรื่องการบริหารจัดการงบประมาณของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สาขาจังหวัด ใน 5 ประเด็น ได้แก่ 1.งบค่าบริการส่งเสริมและป้องกันโรค 2.งบชดเชยเยียวยาความเสียหายจาการรับบริการทางการแพทย์ 3.งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4.งบลงทุนเพื่อการทดแทนหรืองบค่าเสื่อม และ 5.การกันเงินค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายเพื่อบริหารจัดการในระดับจังหวัด
“ช่วง 6 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 สธ.จะเสนอขอให้ สปสช.ดำเนินการปรับตามที่ สตง.ทักท้วง อีกทั้งการบริหารการเงินการคลังหลักประกันสุขภาพฯ บางส่วนทำให้เกิดทุกข์ต่อระบบและเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะระดับตำบล จิตวิญญาณของเจ้าหน้าที่ในการเพื่อประชาชนน้อยลง เพราะมีภาระต้องบันทึกรายงานเพื่อขอเบิกเงิน ซึ่ง สธ.เสนอขอให้มีการปรับการทำงานร่วมกันกับ สปสช.เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน” ปลัด สธ.กล่าว
ด้านนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า หลังจากนี้ จะดำเนินการ 3 เรื่องใหญ่ คือ 1.งบบัญชี 6 หรืองบส่งเสริมและป้องกันโรคประชาชน จะต้องจ่ายงบตรงไปยังหน่วยบริการ แต่ สปสช.กลับจ่ายผ่านหน่วยบริหารคือ สปสช.สาขาจังหวัด คือ สสจ.ซึ่งระเบียบการจ่ายไม่ถูกต้อง สธ.จึงเสนอให้ สปสช.งดใช้ระเบียบนี้ แล้วมาหารือร่วมกันถึงวิธีการบริหารงบส่วนนี้ 2.การจ่ายเงินค่าตอบแทนในการดำเนินการโครงการพิเศษต่างๆ ของ สปสช.ที่ สตง.ท้วงว่าไม่ถูกต้องตามระเบียบ เช่น โครงการล้างไต เนื่องจากมีการจ่ายค่าตอบแทนให้รายบุคคลแทนที่จะจ่ายผ่านหน่วยบริการ สธ.จึงขอให้ สปสช.ระงับการใช้ระเบียบนี้และเจรจาร่วมกับ สธ.ว่าจะใช้ระเบียบใดในการจ่ายค่าตอบแทนส่วนนี้ให้ถูกต้อง และ 3.สตง.ท้วงติงเรื่องงบลงทุนเพื่อทดแทนครุภัณฑ์ เครื่องมือ สิ่งก่อสร้าง หรืองบค่าเสื่อม ซึ่งบางเรื่องไม่สามารถดำเนินการได้ สธ.จะทำหนังสือถึงสปสช.ขอให้ระงับการจัดซื้อในส่วนที่สตง.ท้วงติง โดยให้เวลา 2 สัปดาห์ที่ สปสช.จะตอบรับการเจรจาร่วม นอกจากนี้ ปลัด สธ.ได้ลงนามในหนังสือท้วงถึงคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ให้ชี้แจงต่อกรณีที่ สตง.ท้วงติงด้วย
“ในช่วงนี้เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการของ สธ.จะชะลอการขอเบิกงบในส่วนของบัญชี 6 และค่าตอบแทนรายบุคคลที่ทำโครงการพิเศษต่างๆ จากสปสช.จนกว่าจะมีการเจรจาและได้แนวทางออกร่วมกันระหว่าง สปสช.และ สธ.ซึ่งเงินตามบัญชี 6 กลุ่มประกันสุขภาพของ สธ.รายงานว่า จากการตรวจสอบในจังหวัดต่างๆ ได้ 48% ของจังหวัดทั้งหมด มีเงินส่วนนี้ค้างท่อตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2557 จำนวนกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งในการแก้ปัญหาทั้ง 2 เรื่องนี้ หากมีการเจรจาร่วมกันเพื่อทำให้ถูกต้องตามระเบียบนั้น สามารถดำเนินการได้โดย สธ.ออกระเบียบเงินบำรุง ให้มีการจ่ายงบผ่านหน่วยบริการ ไม่ใช่หน่วยบริหารหรือจ่ายรายบุคคล แต่ถ้าไม่มีการหารือร่วมกัน สธ.อาจจะมีข้อเสนอต่อว่า นพ.สสจ.ยังจำเป็นต้องทำหน้าที่เป็น ผอ.สปสช.สาขจังหวัดตามประกาศ สปสช.ปี 2545 ต่อไปหรือไม่” นพ.วชิระกล่าว
แหล่งข่าวในที่ประชุม กล่าวว่า ภายในการประชุมมีการหารือถึงขนาดที่ว่าระหว่างที่ สปสช.ยังไม่มาเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกับ สธ.นั้น สธ.จะไม่ทำงานร่วมกับ สปสช.จนกว่าจะมีการเจรจาได้ข้อยุติ และไม่ร่วมสังฆกรรมโดยถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ร่วมกับ สปสช.ด้วย