โวยนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินพ่นพิษ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เผย รพ.วิภาวดีกั๊กข้อมูลเบิกจ่าย ไม่บอกผู้ป่วยว่าเบิกเงิน สปสช.ได้ไม่ครบ จนต้องจ่ายเองอีกหลายแสนบาท ด้าน สปสช.ชี้จ่ายได้บางส่วน ชงปรับแก้กฎกระทรวง
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกรณีโรงพยาบาลวิภาวดี มีผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 75 ปี มาจาก จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมงานแต่งงาน และเกิดอุบัติเหตุล้มลงจนลิ้นจุกปาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่สุด คือ รพ.วิภาวดี ปัญหาคือ โรงพยาบาลแจ้งว่ามีค่าใช้จ่ายสูง ทางคนไข้จึงต้องการย้าย แต่โรงพยาบาลไม่อนุญาตบอกว่าอันตราย จึงต้องทำการรักษา โดยมีหนังสือมาให้ญาติเซ็นยินยอม
“รพ.วิภาวดีบอกกับญาติว่า ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดอยู่ที่ประมาณ 7-8 แสนบาท สามารถเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่บอกว่าเบิกได้ไม่ครบ ซึ่งญาติต้องสำรองจ่าย สุดท้ายหลังผ่าตัดมีการเรียกเก็บเงินอีก และพอติดต่อไปทาง สปสช.กลับจ่ายให้เพียง 250,000 บาท ถามว่ากรณีที่เกิดขึ้น ประชาชนจะต้องมารับเคราะห์จากนโยบายที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่ จึงอยากให้ สปสช.ออกมาให้ความชัดเจน เพราะสุดท้ายเกรงว่าจะต้องถึงขั้นการฟ้องร้องอีก” นางปรียนันท์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า สปสช.ได้ติดต่อกับทาง รพ.วิภาวดี เพื่อขอความเห็นใจกับกรณีดังกล่าว แต่ต้องยอมรับว่า สปสช.ไม่สามารถจ่ายได้ทั้งหมด เพราะตามนโยบายสามารถจ่ายได้ตามกลุ่มและระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งจะมีราคาข้อกำหนดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สปสช.ตั้งใจจะพัฒนาระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้ารับบริการเมื่อประชาชนประสบกับภาวะฉุกเฉิน ซึ่งยอมรับว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีแต่อาจมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะ รพ.เอกชนที่ยังตกลงอัตราการรับค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดสปสช.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด
แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมด คือ รพ.เอกชนหลายแห่งไม่ได้บอกค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจนแก่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยว่า กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจะเบิกเงินกับ สปสช.ได้ในวงเงินเท่าใด และต้องออกเองเท่าใด จึงเป็นปัญหา ซึ่ง สปสช.ก็ไม่มีกฎหมายมาควบคุม มีเพียงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ซึ่งมาตรานี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเพิ่มเติมว่า รพ.เอกชนต้องรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกกรณี ขณะเดียวกันห้ามเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเด็ดขาด แต่ให้มาเรียกเก็บเฉพาะ สปสช.เท่านั้น ซึ่งจะควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาได้
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่าย มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกรณีโรงพยาบาลวิภาวดี มีผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 75 ปี มาจาก จ.สุราษฎร์ธานี เดินทางมาร่วมงานแต่งงาน และเกิดอุบัติเหตุล้มลงจนลิ้นจุกปาก ต้องนำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่สุด คือ รพ.วิภาวดี ปัญหาคือ โรงพยาบาลแจ้งว่ามีค่าใช้จ่ายสูง ทางคนไข้จึงต้องการย้าย แต่โรงพยาบาลไม่อนุญาตบอกว่าอันตราย จึงต้องทำการรักษา โดยมีหนังสือมาให้ญาติเซ็นยินยอม
“รพ.วิภาวดีบอกกับญาติว่า ค่าใช้จ่ายการผ่าตัดอยู่ที่ประมาณ 7-8 แสนบาท สามารถเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่บอกว่าเบิกได้ไม่ครบ ซึ่งญาติต้องสำรองจ่าย สุดท้ายหลังผ่าตัดมีการเรียกเก็บเงินอีก และพอติดต่อไปทาง สปสช.กลับจ่ายให้เพียง 250,000 บาท ถามว่ากรณีที่เกิดขึ้น ประชาชนจะต้องมารับเคราะห์จากนโยบายที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่ จึงอยากให้ สปสช.ออกมาให้ความชัดเจน เพราะสุดท้ายเกรงว่าจะต้องถึงขั้นการฟ้องร้องอีก” นางปรียนันท์ กล่าว
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า สปสช.ได้ติดต่อกับทาง รพ.วิภาวดี เพื่อขอความเห็นใจกับกรณีดังกล่าว แต่ต้องยอมรับว่า สปสช.ไม่สามารถจ่ายได้ทั้งหมด เพราะตามนโยบายสามารถจ่ายได้ตามกลุ่มและระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่งจะมีราคาข้อกำหนดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สปสช.ตั้งใจจะพัฒนาระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้ารับบริการเมื่อประชาชนประสบกับภาวะฉุกเฉิน ซึ่งยอมรับว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีแต่อาจมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะ รพ.เอกชนที่ยังตกลงอัตราการรับค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดสปสช.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์ที่สุด
แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาทั้งหมด คือ รพ.เอกชนหลายแห่งไม่ได้บอกค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจนแก่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยว่า กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจะเบิกเงินกับ สปสช.ได้ในวงเงินเท่าใด และต้องออกเองเท่าใด จึงเป็นปัญหา ซึ่ง สปสช.ก็ไม่มีกฎหมายมาควบคุม มีเพียงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่มีกฎหมายดูแลเรื่องนี้ คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 36 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้นๆ เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อหรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาต และผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ซึ่งมาตรานี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเพิ่มเติมว่า รพ.เอกชนต้องรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกกรณี ขณะเดียวกันห้ามเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยเด็ดขาด แต่ให้มาเรียกเก็บเฉพาะ สปสช.เท่านั้น ซึ่งจะควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาได้