“อภิชาติ” เล็งปรับ รับ นร.เพิ่มสอบข้อเขียนหลังพบหลาย ร.ร.นำมาใช้ ชี้ช่วยวัดทักษะภาษา จ่อชง กพฐ.เห็นชอบ ขณะที่ภาพรวมสอบเข้า ม.4 ราบรื่น
วันนี้ (30 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จ.ปทุมธานี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เดินทางมาตรวจเยี่ยมการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2557 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดให้มีการจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ มีน.ส.สุภาวดี วงษ์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้การตอนรับ
โดย น.ส.สุภาวดี กล่าวว่า โรงเรียนส่วนกุหลาบฯ จะใช้วิธีสอบเข้าทั้งในส่วนของ ม.3 เดิมที่ต้องการเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 และนักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆ โดยปีนี้มีนักเรียนจากโรงเรียนอื่น สมัครสอบที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ จำนวน 431 คน รับได้ 40 คน และนักเรียนที่จบชั้น ม.3 เดิม สมัครสอบ 515 คน ดำเนินการสอบไปเรียบร้อยแล้ว และมีนักเรียนผ่านการคัดเลือกจำนวน 400 คน ทั้งนี้ในการสอบทางโรงเรียนจะพิจารณาจากคะแนนใน 3 ส่วนคือ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET 30% คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร หรือ GPAX จำนวน 30% และส่วนที่เหลือคือคะแนนสอบใน 5 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา สาเหตุที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับคะแนน O-NET เพราะเห็นว่า เกรดเฉลี่ยไม่ได้เป็นตัวสะท้อนความรู้ความสามารถของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการเรียนของเด็กด้วย ขณะที่คะแนน O-NET จะสะท้อนความสามารถในวิชาพื้นฐาน และเมื่อมารวมกับการสอบคัดเลือกของโรงเรียนก็เชื่อว่าจะสามารถคัดเด็กที่มีความรู้ความสามารถเข้าเรียนได้อย่างแท้จริง
ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น.ในวันเดียวกันที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี นายอภิชาติ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมสนามสอบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ภาพรวมการจัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีปัญหา ในส่วนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ประสานข้อความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยอำนวยความสะดวกเรื่องการจราจร ซึ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักเรียนเข้าสอบได้ตามเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจเยี่ยมสนามสอบพบประเด็นน่าสนใจ เรื่องการออกข้อสอบของแต่ละโรงเรียน อาทิ โรงเรียนศึกษานารี ให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ช่วยออกข้อสอบ ขณะที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ออกข้อสอบเอง แต่น่าสนใจตรงที่มีข้อสอบอัตนัย ให้เด็กได้เขียน เป็นการวัดทักษะความสามารถในการใช้ภาษาของเด็กแต่ละคนไปในตัว ไม่ใช่ให้กากบาทแบบปรนัยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2558 ตนจะเสนอให้ทุกโรงเรียนสอบข้อเขียนเพิ่ม เพื่อจะได้รู้ทักษะในการใช้ภาษาของเด็กตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน แต่ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจะต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมถึงรับฟังความคิดเห็นจากโรงเรียนต่างๆ ด้วย
“หากสามารถวัดทักษะการใช้ภาษาของเด็กไทยตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะจะรู้จุดอ่อนของเด็กแต่ละคน แต่เรื่องนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย ว่าจะตัดสินใจอย่างไร เพราะเข้าใจว่า หากมีความเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อระบบการจัดสอบในภาพรวม เพราะจะทำให้การตรวจข้อสอบช้าลง ส่งผลกระทบต่อการเข้าเรียนต่อของเด็ก ดังนั้นจึงอาจต้องต้องปรับเวลาการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 โดยต้องเลื่อนให้เร็วขึ้น เพื่อให้โรงเรียนมีเวลาตรวจข้อสอบ”นายอภิชาติ กล่าว
นายปรเมษฐ์ โมลี ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยปีนี้มีเด็กมาสมัครสอบใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จำนวน11,000 คน รับได้เพียง 1,480 คน แบ่งเป็นสายวิทย์-คณิต จำนวน 1,000 คน และสายศิลป์-ภาษา จำนวน 480 คน ส่วนมาตรการป้องกันทุจริตนั้น จะไม่อนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องมือสื่อสารเข้ามาในห้องสอบอย่างเด็ดขาด โดยมีกรรมการคุมสอบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และอนุญาตให้นำเข้าได้เพียง ดินสอ ปากกา และยางลบเท่านั้น ส่วนข้อสอบจะออกโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทั้งจากมหาวิทยาลัย และอาจารย์ของโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เอง โดยกระบวนการออกข้อสอบทุกอย่างถือเป็นความลับ และไม่มีใครเห็นข้อสอบจนถึงวันสอบแน่นอน
วันนี้ (30 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต จ.ปทุมธานี นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เดินทางมาตรวจเยี่ยมการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2557 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดให้มีการจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ มีน.ส.สุภาวดี วงษ์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้การตอนรับ
โดย น.ส.สุภาวดี กล่าวว่า โรงเรียนส่วนกุหลาบฯ จะใช้วิธีสอบเข้าทั้งในส่วนของ ม.3 เดิมที่ต้องการเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 และนักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆ โดยปีนี้มีนักเรียนจากโรงเรียนอื่น สมัครสอบที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ จำนวน 431 คน รับได้ 40 คน และนักเรียนที่จบชั้น ม.3 เดิม สมัครสอบ 515 คน ดำเนินการสอบไปเรียบร้อยแล้ว และมีนักเรียนผ่านการคัดเลือกจำนวน 400 คน ทั้งนี้ในการสอบทางโรงเรียนจะพิจารณาจากคะแนนใน 3 ส่วนคือ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET 30% คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร หรือ GPAX จำนวน 30% และส่วนที่เหลือคือคะแนนสอบใน 5 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา สาเหตุที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับคะแนน O-NET เพราะเห็นว่า เกรดเฉลี่ยไม่ได้เป็นตัวสะท้อนความรู้ความสามารถของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการเรียนของเด็กด้วย ขณะที่คะแนน O-NET จะสะท้อนความสามารถในวิชาพื้นฐาน และเมื่อมารวมกับการสอบคัดเลือกของโรงเรียนก็เชื่อว่าจะสามารถคัดเด็กที่มีความรู้ความสามารถเข้าเรียนได้อย่างแท้จริง
ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น.ในวันเดียวกันที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี นายอภิชาติ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมสนามสอบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมว่า ภาพรวมการจัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีปัญหา ในส่วนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ประสานข้อความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยอำนวยความสะดวกเรื่องการจราจร ซึ่งทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นักเรียนเข้าสอบได้ตามเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจเยี่ยมสนามสอบพบประเด็นน่าสนใจ เรื่องการออกข้อสอบของแต่ละโรงเรียน อาทิ โรงเรียนศึกษานารี ให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ช่วยออกข้อสอบ ขณะที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ออกข้อสอบเอง แต่น่าสนใจตรงที่มีข้อสอบอัตนัย ให้เด็กได้เขียน เป็นการวัดทักษะความสามารถในการใช้ภาษาของเด็กแต่ละคนไปในตัว ไม่ใช่ให้กากบาทแบบปรนัยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2558 ตนจะเสนอให้ทุกโรงเรียนสอบข้อเขียนเพิ่ม เพื่อจะได้รู้ทักษะในการใช้ภาษาของเด็กตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน แต่ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจะต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมถึงรับฟังความคิดเห็นจากโรงเรียนต่างๆ ด้วย
“หากสามารถวัดทักษะการใช้ภาษาของเด็กไทยตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะจะรู้จุดอ่อนของเด็กแต่ละคน แต่เรื่องนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย ว่าจะตัดสินใจอย่างไร เพราะเข้าใจว่า หากมีความเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อระบบการจัดสอบในภาพรวม เพราะจะทำให้การตรวจข้อสอบช้าลง ส่งผลกระทบต่อการเข้าเรียนต่อของเด็ก ดังนั้นจึงอาจต้องต้องปรับเวลาการสอบเข้า ม.1 และ ม.4 โดยต้องเลื่อนให้เร็วขึ้น เพื่อให้โรงเรียนมีเวลาตรวจข้อสอบ”นายอภิชาติ กล่าว
นายปรเมษฐ์ โมลี ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยปีนี้มีเด็กมาสมัครสอบใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จำนวน11,000 คน รับได้เพียง 1,480 คน แบ่งเป็นสายวิทย์-คณิต จำนวน 1,000 คน และสายศิลป์-ภาษา จำนวน 480 คน ส่วนมาตรการป้องกันทุจริตนั้น จะไม่อนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องมือสื่อสารเข้ามาในห้องสอบอย่างเด็ดขาด โดยมีกรรมการคุมสอบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และอนุญาตให้นำเข้าได้เพียง ดินสอ ปากกา และยางลบเท่านั้น ส่วนข้อสอบจะออกโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทั้งจากมหาวิทยาลัย และอาจารย์ของโรงเรียนเตรียมอุดมฯ เอง โดยกระบวนการออกข้อสอบทุกอย่างถือเป็นความลับ และไม่มีใครเห็นข้อสอบจนถึงวันสอบแน่นอน