ปลัด รง.เผยหลังหารือทูตไทยประจำอเมริกา-บ.ที่ปรึกษา ทูตไทยพอใจการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ชี้มีแนวโน้มที่ดีไม่หล่นไปอยู่ระดับ 3 ด้าน บ.ที่ปรึกษาแนะ ก.แรงงานคุมเข้มสถานประกอบการขนาดเล็ก-พื้นที่ชายแดน
วันนี้ (26 มี.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวภายหลังหารือกับดร.วิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและคณะบริษัท Holland & Knight ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานและเผยแพร่ข้อมูลการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของไทยเพื่อเสนอต่ออเมริกาที่กระทรวงแรงงานว่า วันนี้ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง ตำรวจน้ำและเอ็นจีโอได้นำเสนอสรุปการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในสินค้าอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม ได้แก่ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย สื่อลามก และปลา ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานโดยในส่วนของกระทรวงแรงงานได้เสนอการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและแรงงานต่างด้าว ซึ่งเน้นการป้องกัน ตรวจสอบและดูแลคุ้มครองไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
ปลัด รง.กล่าวอีกว่า หลังจากรับฟังสรุปรายงานแต่ละหน่วยงานแล้ว เท่าที่ได้รับฟังการนำเสนอของหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามองว่าโดยภาพรวมการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของไทยมีความก้าวหน้าไปมาก เพราะมีแผนปฏิบัติงานและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละแผนงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีแนวโน้มที่ดีที่ประเทศไทยจะมีโอกาสไม่ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ไปอยู่ระดับ 3 จากที่ปัจจุบันอยู่ระดับ 2.5
นอกจากนี้ บริษัท Holland & Knight เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะแผนปฏิบัติงานและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละแผนงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่การจัดทำสรุปรายงานผลการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในแต่ละกลุ่มสินค้ายังไม่เป็นระบบ และไม่มีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และเห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือที่ชัดเจน
“หลังจากนี้กระทรวงแรงงานจะนำความเห็นของเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและคณะบริษัท Holland & Knight มาวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนว่า มีเรื่องใดที่ไทยควรดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบข้อมูลรายงานที่เสนอต่ออเมริกาให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน และจะเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อรายงานต่อไปยังสหรัฐอเมริกาต่อไป” นายจีรศักดิ์ กล่าว
นาย Richard Gold หัวหน้าคณะบริษัท Holland & Knight กล่าวว่า จากการเสนอการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับของหน่วยงานต่างๆ ทำให้เห็นถึงความพยายามแก้ปัญหาทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มีมาตรการแก้ปัญหามากมาย แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบยังมีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็กและอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่แนวชายแดน
นอกจากนี้ จากการพูดคุยกับภาคเอกชนพบว่า ผู้ประกอบการได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคม เช่น อาหารทะเลแปรรูป ทำให้การดำเนินการมีความเข้มแข็ง จึงอยากที่จะเห็นกลุ่มผู้ประกอบการโดยเฉพาะเรือประมงเข้ามาเป็นสมาคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสมาคม ทำให้การแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในภาคประมงดีขึ้น ทั้งนี้ จากการรับฟังข้อมูลที่นำเสนอทั้งหมด ตนจะนำไปรายงานและชี้แจงต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา
วันนี้ (26 มี.ค.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวภายหลังหารือกับดร.วิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและคณะบริษัท Holland & Knight ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานและเผยแพร่ข้อมูลการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของไทยเพื่อเสนอต่ออเมริกาที่กระทรวงแรงงานว่า วันนี้ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง ตำรวจน้ำและเอ็นจีโอได้นำเสนอสรุปการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในสินค้าอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม ได้แก่ กุ้ง เสื้อผ้า น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย สื่อลามก และปลา ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานโดยในส่วนของกระทรวงแรงงานได้เสนอการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและแรงงานต่างด้าว ซึ่งเน้นการป้องกัน ตรวจสอบและดูแลคุ้มครองไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
ปลัด รง.กล่าวอีกว่า หลังจากรับฟังสรุปรายงานแต่ละหน่วยงานแล้ว เท่าที่ได้รับฟังการนำเสนอของหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามองว่าโดยภาพรวมการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของไทยมีความก้าวหน้าไปมาก เพราะมีแผนปฏิบัติงานและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละแผนงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงมีแนวโน้มที่ดีที่ประเทศไทยจะมีโอกาสไม่ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ไปอยู่ระดับ 3 จากที่ปัจจุบันอยู่ระดับ 2.5
นอกจากนี้ บริษัท Holland & Knight เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะแผนปฏิบัติงานและหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละแผนงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่การจัดทำสรุปรายงานผลการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในแต่ละกลุ่มสินค้ายังไม่เป็นระบบ และไม่มีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และเห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือที่ชัดเจน
“หลังจากนี้กระทรวงแรงงานจะนำความเห็นของเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและคณะบริษัท Holland & Knight มาวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนว่า มีเรื่องใดที่ไทยควรดำเนินการเพิ่มเติมบ้าง รวมทั้งดำเนินการจัดระเบียบข้อมูลรายงานที่เสนอต่ออเมริกาให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน และจะเสนอต่อกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อรายงานต่อไปยังสหรัฐอเมริกาต่อไป” นายจีรศักดิ์ กล่าว
นาย Richard Gold หัวหน้าคณะบริษัท Holland & Knight กล่าวว่า จากการเสนอการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับของหน่วยงานต่างๆ ทำให้เห็นถึงความพยายามแก้ปัญหาทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มีมาตรการแก้ปัญหามากมาย แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบยังมีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็กและอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่แนวชายแดน
นอกจากนี้ จากการพูดคุยกับภาคเอกชนพบว่า ผู้ประกอบการได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคม เช่น อาหารทะเลแปรรูป ทำให้การดำเนินการมีความเข้มแข็ง จึงอยากที่จะเห็นกลุ่มผู้ประกอบการโดยเฉพาะเรือประมงเข้ามาเป็นสมาคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสมาคม ทำให้การแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในภาคประมงดีขึ้น ทั้งนี้ จากการรับฟังข้อมูลที่นำเสนอทั้งหมด ตนจะนำไปรายงานและชี้แจงต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา