สินค้าหลอกลวงเพียบ! สธ.เผยที่จับได้ในปี 56 พบผลิตภัณฑ์สุขภาพโฆษณาเกินจริงถึง 9,008 รายการ ชี้กระตุ้นให้ประชาชนบริโภคสินค้ามากขึ้น เสี่ยงได้รับอันตราย ผลเสียต่อสุขภาพ เร่งอัดความรู้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อสินค้าอันตราย
วันนี้ (26 มี.ค.) ที่โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2557 เรื่อง “สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่ รู้ทันเทคโนโลยี รู้ดีโฆษณาเกินจริง” ว่า ปัจจุบันสินค้ามีการแข่งขันกันสูง จึงมีการใช้การโฆษณามากระตุ้นพฤติกรรมประชาชนบริโภคสินค้า โดยเฉพาะการโฆษณาแฝง เช่น เครื่องดื่มกาแฟผสมสารสกัดที่มีคุณสมบัติด้านความงาม เสริมสมรรถภาพทางเพศ และมีการนำเสนอตราสินค้า โลโก้ ในลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างจากวิธีการโฆษณาเดิม ผ่านทางสื่อต่างๆ ให้ผู้บริโภคจดจำตราสินค้า และกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้ามากกว่าปกติ เหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งปี 2556 พบโฆษณาแฝง โฆษณาเกินจริงของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 9,008 รายการ
นพ.ทรงยศ กล่าวว่า สธ.ได้ประสานไปยัง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อดูแลกำกับการเผยแพร่โฆษณา และแจ้งไปยังผู้ผลิตสินค้าพร้อมทั้งดำเนินการปรับมีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท จนถึง 200,000 บาท ทั้งนี้ กฎหมายควบคุมโฆษณา ยังขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ เนื่องจากคำว่าคำนิยามของโฆษณา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ครอบคลุมไปถึงโฆษณาแฝง และรัฐยังขาดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมโฆษณาลักษณะดังกล่าว
“การแก้ไขปัญหา สธ.นโยบายเร่งให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนเกี่ยวกับการโฆษณาแฝงและโฆษณาเกินจริง เพื่อให้รู้ทันเทคโนโลยี ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ พร้อมทั้งยกระดับการส่งเสริมภาวะโภชนาการแก่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ตามโครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” รองปลัด สธ.กล่าว
ด้าน นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกภาคส่วนได้รับความรู้ใหม่ๆ ทันต่อเหตุการณ์ กระแสต่างๆ เช่น การทำตลาดเพื่อสังคม เทคนิคโฆษณา รู้หน้าไม่รู้ใจ ฉลากหวาน มัน เค็ม : บริโภคอย่างไรให้สุขภาพดี นวัตกรรมความงามและข้อดีข้อเสีย เป็นต้น มีการนำเสนอผลงานวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดผลงานวิชาการ 16 เรื่อง
วันนี้ (26 มี.ค.) ที่โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ นพ.ทรงยศ ชัยชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2557 เรื่อง “สุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่ รู้ทันเทคโนโลยี รู้ดีโฆษณาเกินจริง” ว่า ปัจจุบันสินค้ามีการแข่งขันกันสูง จึงมีการใช้การโฆษณามากระตุ้นพฤติกรรมประชาชนบริโภคสินค้า โดยเฉพาะการโฆษณาแฝง เช่น เครื่องดื่มกาแฟผสมสารสกัดที่มีคุณสมบัติด้านความงาม เสริมสมรรถภาพทางเพศ และมีการนำเสนอตราสินค้า โลโก้ ในลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างจากวิธีการโฆษณาเดิม ผ่านทางสื่อต่างๆ ให้ผู้บริโภคจดจำตราสินค้า และกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้ามากกว่าปกติ เหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งปี 2556 พบโฆษณาแฝง โฆษณาเกินจริงของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 9,008 รายการ
นพ.ทรงยศ กล่าวว่า สธ.ได้ประสานไปยัง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อดูแลกำกับการเผยแพร่โฆษณา และแจ้งไปยังผู้ผลิตสินค้าพร้อมทั้งดำเนินการปรับมีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท จนถึง 200,000 บาท ทั้งนี้ กฎหมายควบคุมโฆษณา ยังขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ เนื่องจากคำว่าคำนิยามของโฆษณา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ครอบคลุมไปถึงโฆษณาแฝง และรัฐยังขาดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมโฆษณาลักษณะดังกล่าว
“การแก้ไขปัญหา สธ.นโยบายเร่งให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนเกี่ยวกับการโฆษณาแฝงและโฆษณาเกินจริง เพื่อให้รู้ทันเทคโนโลยี ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ พร้อมทั้งยกระดับการส่งเสริมภาวะโภชนาการแก่ประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ตามโครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” รองปลัด สธ.กล่าว
ด้าน นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกภาคส่วนได้รับความรู้ใหม่ๆ ทันต่อเหตุการณ์ กระแสต่างๆ เช่น การทำตลาดเพื่อสังคม เทคนิคโฆษณา รู้หน้าไม่รู้ใจ ฉลากหวาน มัน เค็ม : บริโภคอย่างไรให้สุขภาพดี นวัตกรรมความงามและข้อดีข้อเสีย เป็นต้น มีการนำเสนอผลงานวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดผลงานวิชาการ 16 เรื่อง