กรมศิลป์จัดแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด “รามราชจักรี” กรุยเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ไทย-พม่า เตรียมศึกษาชุมชนอยุธยา เน้นศึกษาภาพรวมไม่เน้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เริ่มมีนานี้
วันนี้ (24 มี.ค.) นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานการแถลงข่าวการดำเนินการและความคืบหน้าโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ : ศึกษาในเขตปกครองมัณฑะเลย์และเขตปกครองสะกาย โดยมีนักวิชาการด้านโบราณคดี วรรณกรรมและนาฏศิลป์ รวมไปถึงมี นายมิคกี ฮาร์ท นายกสมาคมจิตรพรรณ และนางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และรอง ผอ.ฝ่ายข้อมูลข่าวสารโครงการอนุสรณ์สถาน มหาเถระพระเจ้าอุทมพร เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวด้วย นายเอนก กล่าวว่า แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เบื้องต้นทางกรมศิลปากรเน้นศึกษาภาพรวมของคน ชุมชนอยุธยามากกว่าจะเน้นศึกษาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ภายในเดือนมีนาคมนี้จะส่งเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรไปสำรวจภาคสนามเพื่อสืบค้นและสอบทานกับข้อมูลหลักฐานอื่นๆ ทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์รอบด้านมากขึ้น โดยกำหนดสำรวจพื้นที่ที่ชาวอยุธยามาตั้งหลักแหล่ง ได้แก่ แนวคลองชะเวตาเชา ย่านโม่งตีสุ ย่านมินตาสุ ตลาดโยเดีย ตลาดระแหง ในเมืองมัณฑะเลย์ หมู่บ้านลินซินที่เมืองอมรปุระ เมืองสะกาย ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดมหาเต็งดอจี ซึ่งดำเนินการได้ทันที โดยมอบหมายให้สำนักการสังคีตจัดการแสดงอิงประวัติศาสตร์ที่เมียนมาร์ เพื่อเชื่อมโยงการศึกษาเรื่องชาวอยุธยาในเมียนมาร์ที่เคยมีนักดนตรี นาฏศิลป์ ถูกกวาดต้อนไปในอดีต มีศาลพระรามเป็นหลักฐานว่ามีการแสดงโขน ดังนั้น จึงจัดให้มีการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด รามราชจักรี บริเวณศาลพระราม เป็นต้น คาดว่าจะนำไปแสดงเดือน พ.ค.นี้ ให้ชาวพม่าทราบว่าบริเวณดังกล่าวนี่เป็นชุมชนที่ชาวอยุธยาเคยอาศัยอยู่ โดยทุกโครงการจะประสานกับรัฐบาลเมียนมาร์ ตามขั้นตอนทางราชการผ่านกระทรวงการต่างประเทศของทั้งไทยและเมียนมาร์ และยืนยันว่าทางกรมศิลปากรพร้อมเปิดให้มีการถกเถียงทางวิชาการ ช่วยกันสืบค้น ศึกษา ข้อเท็จจริงและยินดีทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน
ขณะที่ นางสุทธิพันธ์ ขุทรานนท์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า กระบวนการสืบค้นหาหลักฐานข้อมูลต้องเริ่มเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ทั้งของไทยและพม่า อาทิ หลักฐานเอกสารของเมียนมาร์ที่เก็บรักษาในเมียนมาร์ เช่น พงศาวดารราชวงศ์คองบอง พงศาวดารฉบับหอแก้ว สมุดพม่า (Parabike) สมุดรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน หลักฐานเอกสารของเมียนมาร์ที่เก็บรักษาในต่างประเทศ เช่น India Record Office, British Library งานศึกษาและวิจัยของนักวิชาการเมียนมาร์ ดร.ทันทุน อู หม่อง หม่อง ทิน ที่ศึกษาเรื่องชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่เมียนมาร์ รวมไปถึงประวัติศาสตร์บอกเล่าจากบุคคล ที่สืบเชื้อสายจากชาวอยุธยาที่อาศัยในชุมชนชนชาวโยเดียมาอย่างต่อเนื่องด้วย
วันนี้ (24 มี.ค.) นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานการแถลงข่าวการดำเนินการและความคืบหน้าโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ : ศึกษาในเขตปกครองมัณฑะเลย์และเขตปกครองสะกาย โดยมีนักวิชาการด้านโบราณคดี วรรณกรรมและนาฏศิลป์ รวมไปถึงมี นายมิคกี ฮาร์ท นายกสมาคมจิตรพรรณ และนางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และรอง ผอ.ฝ่ายข้อมูลข่าวสารโครงการอนุสรณ์สถาน มหาเถระพระเจ้าอุทมพร เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวด้วย นายเอนก กล่าวว่า แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เบื้องต้นทางกรมศิลปากรเน้นศึกษาภาพรวมของคน ชุมชนอยุธยามากกว่าจะเน้นศึกษาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ภายในเดือนมีนาคมนี้จะส่งเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรไปสำรวจภาคสนามเพื่อสืบค้นและสอบทานกับข้อมูลหลักฐานอื่นๆ ทำให้ทราบถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์รอบด้านมากขึ้น โดยกำหนดสำรวจพื้นที่ที่ชาวอยุธยามาตั้งหลักแหล่ง ได้แก่ แนวคลองชะเวตาเชา ย่านโม่งตีสุ ย่านมินตาสุ ตลาดโยเดีย ตลาดระแหง ในเมืองมัณฑะเลย์ หมู่บ้านลินซินที่เมืองอมรปุระ เมืองสะกาย ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดมหาเต็งดอจี ซึ่งดำเนินการได้ทันที โดยมอบหมายให้สำนักการสังคีตจัดการแสดงอิงประวัติศาสตร์ที่เมียนมาร์ เพื่อเชื่อมโยงการศึกษาเรื่องชาวอยุธยาในเมียนมาร์ที่เคยมีนักดนตรี นาฏศิลป์ ถูกกวาดต้อนไปในอดีต มีศาลพระรามเป็นหลักฐานว่ามีการแสดงโขน ดังนั้น จึงจัดให้มีการแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด รามราชจักรี บริเวณศาลพระราม เป็นต้น คาดว่าจะนำไปแสดงเดือน พ.ค.นี้ ให้ชาวพม่าทราบว่าบริเวณดังกล่าวนี่เป็นชุมชนที่ชาวอยุธยาเคยอาศัยอยู่ โดยทุกโครงการจะประสานกับรัฐบาลเมียนมาร์ ตามขั้นตอนทางราชการผ่านกระทรวงการต่างประเทศของทั้งไทยและเมียนมาร์ และยืนยันว่าทางกรมศิลปากรพร้อมเปิดให้มีการถกเถียงทางวิชาการ ช่วยกันสืบค้น ศึกษา ข้อเท็จจริงและยินดีทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน
ขณะที่ นางสุทธิพันธ์ ขุทรานนท์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า กระบวนการสืบค้นหาหลักฐานข้อมูลต้องเริ่มเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ทั้งของไทยและพม่า อาทิ หลักฐานเอกสารของเมียนมาร์ที่เก็บรักษาในเมียนมาร์ เช่น พงศาวดารราชวงศ์คองบอง พงศาวดารฉบับหอแก้ว สมุดพม่า (Parabike) สมุดรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน หลักฐานเอกสารของเมียนมาร์ที่เก็บรักษาในต่างประเทศ เช่น India Record Office, British Library งานศึกษาและวิจัยของนักวิชาการเมียนมาร์ ดร.ทันทุน อู หม่อง หม่อง ทิน ที่ศึกษาเรื่องชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่เมียนมาร์ รวมไปถึงประวัติศาสตร์บอกเล่าจากบุคคล ที่สืบเชื้อสายจากชาวอยุธยาที่อาศัยในชุมชนชนชาวโยเดียมาอย่างต่อเนื่องด้วย