โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
อย่างที่ทราบกันดีว่า การเดินหน้า “เครือข่ายอำเภอสุขภาพดี” คือการดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน ทั้งชาวบ้าน ผู้นำชุมชน อสม. อบต.รวมไปถึงหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและการใช้ชีวิต ให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งประเด็นที่มีการดำเนินการกันมากก็คือเรื่องโรคเรื้อรัง
ที่เด่นๆ ของโรคเรื้อรังจนเป็นปัญหาเกือบทุกพื้นที่ เห็นจะไม่พ้นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต ที่มีผู้ป่วยมากกว่าล้านคน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และระดับความดันให้คงที่ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำคือมักมีการใช้ยาผิด
“ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องกินยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที แต่กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นจะตื่นแต่เช้า เช่น ตื่นมาตอนตี 5 ก็กินยาลดระดับน้ำตาลเลย แต่กว่าจะกินข้าวเช้าจริงๆ คือ 8-9 โมง ซึ่งช่วงระยะเวลาที่ห่างเกินไปเช่นนี้ พอน้ำตาลลดเยอะก็จะทำให้หิว พอหิวก็ยิ่งกินมาก แทนที่น้ำตาลจะลดลงกลับทำให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น” นายเรืองฤทธิ์ ปิ่นทับทิม ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไผ่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เล่าให้ฟังถึงปัญหาในพื้นที่ ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกือบแทบทุกพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ รพ.สต.ไผ่วง สามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และสามารถดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องยาได้อย่างครบวงจร ไม่เพียงเฉพาะเบาหวานและความดันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่ต้องใช้ยาด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคจิตเวชที่ต้องกินยา เป็นต้น
สำหรับวิธีการแก้ปัญหาของพื้นที่ไผ่วง นางเรืองฤทธิ์ เปิดเผยว่า ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งประชาชน อสม. อบต.ไผ่วง รพ.วิเศษชัยชาญ และ รพ.สต.ไผ่วง โดยเรามีข้อตกลงว่าจะผู้ป่วย รพ.วิเศษชัยชาญ มารับยาที่ รพ.สต.ไผ่วง เพียงที่เดียว โดยให้ผู้ป่วยมาสมัครขึ้นทะเบียนที่ รพ.สต.ไผ่วง เพื่อที่จะได้ทราบว่าจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคใดบ้าง จากนั้นจึงจะประสานขอยาไปยัง รพ.วิเศษชัยชาญ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาครบทุกตัวเหมือนเวลาที่ไปโรงพยาบาลเอง นับเป็นการช่วยลดการรอคิวในโรงพยาบาล ลดเวลา ลดการเดินทาง เพราะไม่จำเป็นต้องตื่นแต่เช้าตี 3-4 เพื่อไปรอต่อวัดความดัน เจาะเลือด ซึ่งกว่าจะได้รับยาก็ใช้เวลานาน ซึ่งบางรายไม่ได้รับยาแค่โรคเดียว ต้องไปตรวจเพื่อรับยาโรคอื่นด้วย
“แต่ปัญหาคือ หากให้มารับที่ รพ.สต.ไผ่วง ที่เดียว ก็ไม่แตกต่างกันที่จะต้องมารอเจาะเลือด วัดความดัน ดังนั้น จึงให้ อสม.เป็นผู้เจาะเลือด วัดความดัน โดยเรามีการอบรม ฝึกปฏิบัติให้ อสม.สามารถเจาะเลือดตรวจเบาหวานได้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดในหมู่บ้านเลย ไม่จำเป็นต้องเดินทาง ซึ่ง อสม.จะมีตารางอยู่แล้วว่าแต่ละวันต้องมีใครมาเจาะเลือดบ้าง จากนั้นจึงจะส่งผลตรวจเลือดให้เจ้าหน้าที่ ในกลุ่มที่มีไม่มีปัญหาเรื่องระดับน้ำตาล รพ.สต.ก็จะจัดยาให้ อสม.นำไปให้ผู้ป่วยในพื้นที่ ส่วนกลุ่มที่ผลตรวจเลือดมีปัญหา เช่น น้ำตาลในเลือดสูงไป ต่ำไป หรือมีปัญหาในการใช้ยา ก็จะให้เดินทางไปรับยาที่ รพ.สต.เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ทำความเข้าใจเรื่องการกินยาให้ถูกต้อง ซักถามให้ทราบว่ามีปัญหาตรงไหน จะได้แก้ปัญหาปรับพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้อง สำหรับคนที่ไม่ได้มาตรวจกับ อสม.ตามนัด หรือผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเดินทางมาได้ ก็จะมีทีมลงเยี่ยมติดตามถึงบ้าน”
นายเรืองฤทธิ์ เล่าอีกว่า โครงการนี้เราเริ่มมานานกว่า 7 ปีแล้ว ก่อนที่จะมีการส่งเสริมเครือข่ายอำเภอสุขภาพดี ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายอำเภอสุขภาพดี ก็ทำให้มีการพัฒนาโครงการนี้อย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีคุณภาพเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร เพราะผู้ป่วยจะได้รับยาจำเป็นทุกตัวเช่นเคย โดยไม่ต้องไปรอที่โรงพยาบาล สามารถดูแลติดตามผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ไม่มีการขาดยา เพราะ อสม.จะมีความสนิทสนมกับชาวบ้าน สามารถรู้ได้ทันทีว่าใครขาดการตรวจ ก็จะสามารถติดตามได้ง่ายขึ้น
ด้าน นายเสน่ห์ แก้วจินดา นายก อบต.ไผ่วง กล่าวว่า ในพื้นที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง อบต.ไผ่วง ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก โดย อบต.ไผ่วง มีกองทุนสุขภาพตำบล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงพร้อมสนับสนุนทุกโครงการที่เสนอขึ้นมาเพื่อดูแลคนในพื้นที่ ซึ่งโครงการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องยาอย่างครบวงจร ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ อบต.ให้การสนับสนุน ซึ่งหลังดำเนินโครงการก็เห็นผลได้ชัดเจนว่าสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของทุกฝ่ายในพื้นที่ ส่งผลให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพชุมชนได้อย่างเข้าถึง ครอบคลุม และสามารถแก้ปัญหาการใช้ยาแบบผิดๆ ของผู้สูงอายุ และติดตามผู้ป่วยได้ว่ามีการใช้ มีการกินยาอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องหรือไม่ นับเป็นพื้นที่ต้นแบบที่สามารถจัดการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเบ็ดเสร็จครอบคลุม
อย่างที่ทราบกันดีว่า การเดินหน้า “เครือข่ายอำเภอสุขภาพดี” คือการดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน ทั้งชาวบ้าน ผู้นำชุมชน อสม. อบต.รวมไปถึงหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและการใช้ชีวิต ให้มีสุขภาวะที่ดี ซึ่งประเด็นที่มีการดำเนินการกันมากก็คือเรื่องโรคเรื้อรัง
ที่เด่นๆ ของโรคเรื้อรังจนเป็นปัญหาเกือบทุกพื้นที่ เห็นจะไม่พ้นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต ที่มีผู้ป่วยมากกว่าล้านคน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล และระดับความดันให้คงที่ ซึ่งปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำคือมักมีการใช้ยาผิด
“ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องกินยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที แต่กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นจะตื่นแต่เช้า เช่น ตื่นมาตอนตี 5 ก็กินยาลดระดับน้ำตาลเลย แต่กว่าจะกินข้าวเช้าจริงๆ คือ 8-9 โมง ซึ่งช่วงระยะเวลาที่ห่างเกินไปเช่นนี้ พอน้ำตาลลดเยอะก็จะทำให้หิว พอหิวก็ยิ่งกินมาก แทนที่น้ำตาลจะลดลงกลับทำให้ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น” นายเรืองฤทธิ์ ปิ่นทับทิม ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไผ่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เล่าให้ฟังถึงปัญหาในพื้นที่ ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกือบแทบทุกพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ รพ.สต.ไผ่วง สามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และสามารถดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องยาได้อย่างครบวงจร ไม่เพียงเฉพาะเบาหวานและความดันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่ต้องใช้ยาด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคจิตเวชที่ต้องกินยา เป็นต้น
สำหรับวิธีการแก้ปัญหาของพื้นที่ไผ่วง นางเรืองฤทธิ์ เปิดเผยว่า ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งประชาชน อสม. อบต.ไผ่วง รพ.วิเศษชัยชาญ และ รพ.สต.ไผ่วง โดยเรามีข้อตกลงว่าจะผู้ป่วย รพ.วิเศษชัยชาญ มารับยาที่ รพ.สต.ไผ่วง เพียงที่เดียว โดยให้ผู้ป่วยมาสมัครขึ้นทะเบียนที่ รพ.สต.ไผ่วง เพื่อที่จะได้ทราบว่าจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคใดบ้าง จากนั้นจึงจะประสานขอยาไปยัง รพ.วิเศษชัยชาญ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาครบทุกตัวเหมือนเวลาที่ไปโรงพยาบาลเอง นับเป็นการช่วยลดการรอคิวในโรงพยาบาล ลดเวลา ลดการเดินทาง เพราะไม่จำเป็นต้องตื่นแต่เช้าตี 3-4 เพื่อไปรอต่อวัดความดัน เจาะเลือด ซึ่งกว่าจะได้รับยาก็ใช้เวลานาน ซึ่งบางรายไม่ได้รับยาแค่โรคเดียว ต้องไปตรวจเพื่อรับยาโรคอื่นด้วย
“แต่ปัญหาคือ หากให้มารับที่ รพ.สต.ไผ่วง ที่เดียว ก็ไม่แตกต่างกันที่จะต้องมารอเจาะเลือด วัดความดัน ดังนั้น จึงให้ อสม.เป็นผู้เจาะเลือด วัดความดัน โดยเรามีการอบรม ฝึกปฏิบัติให้ อสม.สามารถเจาะเลือดตรวจเบาหวานได้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดในหมู่บ้านเลย ไม่จำเป็นต้องเดินทาง ซึ่ง อสม.จะมีตารางอยู่แล้วว่าแต่ละวันต้องมีใครมาเจาะเลือดบ้าง จากนั้นจึงจะส่งผลตรวจเลือดให้เจ้าหน้าที่ ในกลุ่มที่มีไม่มีปัญหาเรื่องระดับน้ำตาล รพ.สต.ก็จะจัดยาให้ อสม.นำไปให้ผู้ป่วยในพื้นที่ ส่วนกลุ่มที่ผลตรวจเลือดมีปัญหา เช่น น้ำตาลในเลือดสูงไป ต่ำไป หรือมีปัญหาในการใช้ยา ก็จะให้เดินทางไปรับยาที่ รพ.สต.เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ทำความเข้าใจเรื่องการกินยาให้ถูกต้อง ซักถามให้ทราบว่ามีปัญหาตรงไหน จะได้แก้ปัญหาปรับพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้อง สำหรับคนที่ไม่ได้มาตรวจกับ อสม.ตามนัด หรือผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเดินทางมาได้ ก็จะมีทีมลงเยี่ยมติดตามถึงบ้าน”
นายเรืองฤทธิ์ เล่าอีกว่า โครงการนี้เราเริ่มมานานกว่า 7 ปีแล้ว ก่อนที่จะมีการส่งเสริมเครือข่ายอำเภอสุขภาพดี ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายอำเภอสุขภาพดี ก็ทำให้มีการพัฒนาโครงการนี้อย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีคุณภาพเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร เพราะผู้ป่วยจะได้รับยาจำเป็นทุกตัวเช่นเคย โดยไม่ต้องไปรอที่โรงพยาบาล สามารถดูแลติดตามผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ไม่มีการขาดยา เพราะ อสม.จะมีความสนิทสนมกับชาวบ้าน สามารถรู้ได้ทันทีว่าใครขาดการตรวจ ก็จะสามารถติดตามได้ง่ายขึ้น
ด้าน นายเสน่ห์ แก้วจินดา นายก อบต.ไผ่วง กล่าวว่า ในพื้นที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง อบต.ไผ่วง ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก โดย อบต.ไผ่วง มีกองทุนสุขภาพตำบล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงพร้อมสนับสนุนทุกโครงการที่เสนอขึ้นมาเพื่อดูแลคนในพื้นที่ ซึ่งโครงการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องยาอย่างครบวงจร ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ อบต.ให้การสนับสนุน ซึ่งหลังดำเนินโครงการก็เห็นผลได้ชัดเจนว่าสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของทุกฝ่ายในพื้นที่ ส่งผลให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพชุมชนได้อย่างเข้าถึง ครอบคลุม และสามารถแก้ปัญหาการใช้ยาแบบผิดๆ ของผู้สูงอายุ และติดตามผู้ป่วยได้ว่ามีการใช้ มีการกินยาอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องหรือไม่ นับเป็นพื้นที่ต้นแบบที่สามารถจัดการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเบ็ดเสร็จครอบคลุม