“จาตุรนต์” ทำนายมติศาลรัฐธรรมนูญ ทำไทยไร้การเลือกตั้งอีกยาวนาน ปลุกกระแสต้านรัฐบาลคนนอก ลั่น รมต.ทุกคนต้องยึดเก้าอี้ให้นานที่สุด อย่าสมคบกับพวกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันนี้ (21 มี.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและมีมติเสียงข้างมาก 6:3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ รวมทั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลหารือเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ว่า ความจริงแล้วผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจร้องในเรื่องนี้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการรับรองว่า ผู้ร้องมีอำนาจร้องและศาลก็มีอำนาจที่จะรับเรื่อง
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งการวินิจฉัยเช่นนี้และรวมถึงที่ศาลเคยวินิจฉัยว่าการเคลื่อนไหวของ กปปส.เป็นการชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งยังได้รับการคุ้มครองจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ฉุกเฉิน นั่นหมายความว่าจะยังไม่มีการเลือกตั้งไปอีกนาน เพราะ กปปส.ประกาศชัดเจนว่าจะขัดขวางการเลือกตั้ง และ กกต.จะมองว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ หรือหากจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าเป็นการใช้เสรีภาพเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแม้จะการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาก็ไม่มีความหมาย เนื่องจากพอเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทาง กปปส.ก็จะไปขัดขวางในหลายจังหวัดจนมีผู้สมัครไม่ครบทุกเขตเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ไม่มีการเลือกตั้งหรือถึงเลือกตั้งไปก็จะเป็นโมฆะซ้ำอีก
“บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้และบทบาทของ กปปส.มีความหมายว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการเลือกตั้งไปอีกนาน และระหว่างนี้ก็จะมีการจัดการกับรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และนักการเมืองฟากรัฐบาล เพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะทำให้เกิดรัฐบาลคนนอกเกิดการปฏิรูปการเมืองผู้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองที่นำไปสู่ระบบการปกครองที่เขาแน่ใจได้ว่าพรรครัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้เป็นรัฐบาลอีก และเขาสามารถกำหนดได้ว่าเขาจะให้ใครเป็นรัฐบาล เพราะฉะนั้น สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือไม่เข้าร่วมขบวนการนี้ ถ้ารัฐบาลลาออกก็จะนำไปสู่การตั้งรัฐบาลคนนอกซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญทำลายระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ทำได้คือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรี (ครม.)ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เห็นวี่แววว่าจะเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้น สังคมจะต้องมาช่วยกันคิดอย่าให้เกิดการขัดขวางการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดระบบการปกครองใหม่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จริงๆ เลือกตั้งเสร็จแล้วก็สามารถปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องทำหน้าที่เท่าที่ทำได้และไม่ยอมสมคบกับผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง” นายจาตุรนต์ กล่าว
วันนี้ (21 มี.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและมีมติเสียงข้างมาก 6:3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ รวมทั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลหารือเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ว่า ความจริงแล้วผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจร้องในเรื่องนี้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการรับรองว่า ผู้ร้องมีอำนาจร้องและศาลก็มีอำนาจที่จะรับเรื่อง
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งการวินิจฉัยเช่นนี้และรวมถึงที่ศาลเคยวินิจฉัยว่าการเคลื่อนไหวของ กปปส.เป็นการชุมนุมใช้สิทธิเสรีภาพและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งยังได้รับการคุ้มครองจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ฉุกเฉิน นั่นหมายความว่าจะยังไม่มีการเลือกตั้งไปอีกนาน เพราะ กปปส.ประกาศชัดเจนว่าจะขัดขวางการเลือกตั้ง และ กกต.จะมองว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ หรือหากจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าเป็นการใช้เสรีภาพเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแม้จะการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาก็ไม่มีความหมาย เนื่องจากพอเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทาง กปปส.ก็จะไปขัดขวางในหลายจังหวัดจนมีผู้สมัครไม่ครบทุกเขตเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ไม่มีการเลือกตั้งหรือถึงเลือกตั้งไปก็จะเป็นโมฆะซ้ำอีก
“บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้และบทบาทของ กปปส.มีความหมายว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการเลือกตั้งไปอีกนาน และระหว่างนี้ก็จะมีการจัดการกับรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และนักการเมืองฟากรัฐบาล เพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะทำให้เกิดรัฐบาลคนนอกเกิดการปฏิรูปการเมืองผู้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองที่นำไปสู่ระบบการปกครองที่เขาแน่ใจได้ว่าพรรครัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้เป็นรัฐบาลอีก และเขาสามารถกำหนดได้ว่าเขาจะให้ใครเป็นรัฐบาล เพราะฉะนั้น สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือไม่เข้าร่วมขบวนการนี้ ถ้ารัฐบาลลาออกก็จะนำไปสู่การตั้งรัฐบาลคนนอกซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญทำลายระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ทำได้คือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรี (ครม.)ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เห็นวี่แววว่าจะเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้น สังคมจะต้องมาช่วยกันคิดอย่าให้เกิดการขัดขวางการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดระบบการปกครองใหม่ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จริงๆ เลือกตั้งเสร็จแล้วก็สามารถปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องทำหน้าที่เท่าที่ทำได้และไม่ยอมสมคบกับผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง” นายจาตุรนต์ กล่าว