สพฉ.จี้เฝ้าระวังบ่อขยะแห่งอื่น หวั่นเกิดเหตุซ้ำ แนะพื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนรับมือก่อนเกิดเหตุ ด้านแพทย์อาชีวะเวชศาสตร์เตือนประชาชนรอบบ่อขยะสมุทรปราการ ปิดบ้านมิดชิด สวมหน้ากากที่มีผงคาร์บอน
นพ.กิติพงษ์ พนมยงค์ แพทย์กลุ่มงานอาชีวะเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กล่าวถึงกรณีไฟไหม้บ่อขยะ จ.สมุทรปราการ ในการประชุมวิชาการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ถึงเวลาเผชิญภัยพิบัติ” จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ว่า เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติ เพราะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งสมุทรปราการและ กทม.อีกทั้งประชาชนกว่า 200 ครัวเรือนที่อยู่บริเวณรอบของบ่อขยะก็ได้รับผลกระทบจนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ด้วย ดังนั้น การเข้าให้การช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องระมัดระวัง และจัดระบบเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเป็นแบบแผนและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว หากไม่อพยพออกนอกพื้นที่ก็ต้องเรียนรู้วิธีที่จะอยู่กับพิบัติภัยที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จากกองขยะให้ได้
นพ.กิติพงษ์ กล่าวว่า พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือพื้นที่ที่อยู่บริเวณรอบกองขยะ 1-2 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะถือว่าเป็นพื้นที่สีแดง ต้องอพยพออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน ส่วนพื้นที่อื่นนอกเหนือจากนี้ หากไม่อพยพก็ต้องอยู่ในบ้านด้วยความระมัดระวัง ซึ่งการเผาไหม้จากกองขยะแห่งนี้จะทำให้เกิดหมอกควันที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับควันโดยตรง และต้องอยู่แต่ในบ้านหรือในตึกที่พักอาศัยและปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ควันที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าไปได้ นอกจากนี้ หากมีแอร์ปรับอากาศก็ควรใช้แอร์ปรับอากาศที่เป็นระบบแอร์แยก ส่วนประชาชนคนไหนที่ต้องออกนอกพื้นที่ก็ควรหาหน้ากากที่มีผงคาร์บอนมาสวมไว้เพื่อป้องกันกลิ่นจากสารพิษหรือจากการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดควันไฟ และหากเกิดอาการระคายเคืองดวงตาหรือผิวหนังควรรีบล้างน้ำสะอาดและรีบเข้าไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
“สิ่งที่ประชาชนที่อยู่ใกล้ควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติสำหรับตนเองและครอบครัว หากเกิดเหตุในกรณีฉุกเฉินได้ ทั้งนี้ เรื่องของการจัดการบ่อขยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งตามหลักแล้วจะต้องมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าบ่อขยะแต่ละแห่งใช้ทิ้งขยะอะไรแบบไหนบ้าง อาทิ ขยะพลาสติก ขยะสารพิษ ขยะทั่วไปก็ต้องมีการระบุชนิดของขยะอย่างชัดเจนเพราะถ้าหากเกิดเหตุพิบัติภัยในลักษณะนี้จะทำให้การเข้าให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างถูกทางและถูกวิธี ซึ่งบ่อขยะที่น่าเป็นห่วงก็ยังมีอีกในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบ่อขยะใน จ.สระบุรี ที่มีเป็นจำนวนมาก” นพ.กิติพงษ์ กล่าว
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า การจัดการภัยพิบัติจะต้องมีแผนเตรียมรับมือ โดยยึดตามหลักการ 2P2R คือ การเตรียมความพร้อม (Preparation) การเผชิญเหตุที่ดี (Response) การฟื้นฟู (Recovery) และการป้องกันที่ยั่งยืน (Prevention) โดยการป้องกันถือเป็นสิ่งสำคัญ คือเราจะต้องไม่รอคอยให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นก่อน แต่จะต้องมีการวิเคราะห์และเฝ้าระวังความเสี่ยงอยู่เสมอ เช่น ในฤดูกาลนี้มีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้สูง ก็ควรวิเคราะห์ว่ามีพื้นที่ใดมีความเสี่ยงบ้าง ซึ่งหากเราหมั่นตรวจสอบ มีการป้องกันที่ดี ความเสียหายและภัยพิบัติก็จะไม่เกิด เช่น กรณีไฟไหม้บ่อขยะหากมีการเตรียมรับมือก็จะไม่เกิดความเสียหายและสร้างผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งจากนี้ไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องเฝ้าระวังแหล่งทิ้งขยะอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดภัยควรมีการเตรียมแผนเผชิญเหตุด้วย เช่น หากเกิดไฟไหม้และมีลมพัดผ่านจะมีพื้นที่ส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง และกระจายในวงกว้างเพียงใด
นพ.กิติพงษ์ พนมยงค์ แพทย์กลุ่มงานอาชีวะเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กล่าวถึงกรณีไฟไหม้บ่อขยะ จ.สมุทรปราการ ในการประชุมวิชาการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ถึงเวลาเผชิญภัยพิบัติ” จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ว่า เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติ เพราะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งสมุทรปราการและ กทม.อีกทั้งประชาชนกว่า 200 ครัวเรือนที่อยู่บริเวณรอบของบ่อขยะก็ได้รับผลกระทบจนต้องอพยพออกนอกพื้นที่ด้วย ดังนั้น การเข้าให้การช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องระมัดระวัง และจัดระบบเข้าให้การช่วยเหลืออย่างเป็นแบบแผนและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว หากไม่อพยพออกนอกพื้นที่ก็ต้องเรียนรู้วิธีที่จะอยู่กับพิบัติภัยที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จากกองขยะให้ได้
นพ.กิติพงษ์ กล่าวว่า พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือพื้นที่ที่อยู่บริเวณรอบกองขยะ 1-2 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะถือว่าเป็นพื้นที่สีแดง ต้องอพยพออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน ส่วนพื้นที่อื่นนอกเหนือจากนี้ หากไม่อพยพก็ต้องอยู่ในบ้านด้วยความระมัดระวัง ซึ่งการเผาไหม้จากกองขยะแห่งนี้จะทำให้เกิดหมอกควันที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับควันโดยตรง และต้องอยู่แต่ในบ้านหรือในตึกที่พักอาศัยและปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ควันที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าไปได้ นอกจากนี้ หากมีแอร์ปรับอากาศก็ควรใช้แอร์ปรับอากาศที่เป็นระบบแอร์แยก ส่วนประชาชนคนไหนที่ต้องออกนอกพื้นที่ก็ควรหาหน้ากากที่มีผงคาร์บอนมาสวมไว้เพื่อป้องกันกลิ่นจากสารพิษหรือจากการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดควันไฟ และหากเกิดอาการระคายเคืองดวงตาหรือผิวหนังควรรีบล้างน้ำสะอาดและรีบเข้าไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
“สิ่งที่ประชาชนที่อยู่ใกล้ควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติสำหรับตนเองและครอบครัว หากเกิดเหตุในกรณีฉุกเฉินได้ ทั้งนี้ เรื่องของการจัดการบ่อขยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งตามหลักแล้วจะต้องมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าบ่อขยะแต่ละแห่งใช้ทิ้งขยะอะไรแบบไหนบ้าง อาทิ ขยะพลาสติก ขยะสารพิษ ขยะทั่วไปก็ต้องมีการระบุชนิดของขยะอย่างชัดเจนเพราะถ้าหากเกิดเหตุพิบัติภัยในลักษณะนี้จะทำให้การเข้าให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างถูกทางและถูกวิธี ซึ่งบ่อขยะที่น่าเป็นห่วงก็ยังมีอีกในหลายพื้นที่โดยเฉพาะบ่อขยะใน จ.สระบุรี ที่มีเป็นจำนวนมาก” นพ.กิติพงษ์ กล่าว
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า การจัดการภัยพิบัติจะต้องมีแผนเตรียมรับมือ โดยยึดตามหลักการ 2P2R คือ การเตรียมความพร้อม (Preparation) การเผชิญเหตุที่ดี (Response) การฟื้นฟู (Recovery) และการป้องกันที่ยั่งยืน (Prevention) โดยการป้องกันถือเป็นสิ่งสำคัญ คือเราจะต้องไม่รอคอยให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นก่อน แต่จะต้องมีการวิเคราะห์และเฝ้าระวังความเสี่ยงอยู่เสมอ เช่น ในฤดูกาลนี้มีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้สูง ก็ควรวิเคราะห์ว่ามีพื้นที่ใดมีความเสี่ยงบ้าง ซึ่งหากเราหมั่นตรวจสอบ มีการป้องกันที่ดี ความเสียหายและภัยพิบัติก็จะไม่เกิด เช่น กรณีไฟไหม้บ่อขยะหากมีการเตรียมรับมือก็จะไม่เกิดความเสียหายและสร้างผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งจากนี้ไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องเฝ้าระวังแหล่งทิ้งขยะอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดภัยควรมีการเตรียมแผนเผชิญเหตุด้วย เช่น หากเกิดไฟไหม้และมีลมพัดผ่านจะมีพื้นที่ส่วนใดได้รับผลกระทบบ้าง และกระจายในวงกว้างเพียงใด