เตรียมให้รากฟันเทียมตามโครงเฉลิมพระเกียรติฯปีนี้ 2,800 ราย ปี 58 อีก 3,600 ราย หมอฟันชี้ช่วยให้ผู้ไม่มีฟันตามธรรมชาติมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ย้ำใส่แล้วห้ามใช้ไม้จิ้มฟันแคะ
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่ศูนย์ประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมวิชาการเครือข่ายรากฟันเทียมไทยเฉลิมพระเกียรติ ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตและให้บริการฝังรากฟันเทียมให้แก่ผู้ป่วย โดยสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ดำเนินการพัฒนาระบบบริการรากฟันเทียมในสถานบริการของ สธ.และหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างเครือข่ายบริการ พัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งขณะนี้โครงการมีหน่วยงานบริการกระจายอยู่ 77 จังหวัด โดยแบ่งเป็นหน่วยบริการในสังกัด สธ.183 แห่ง คณะทันตแพทย์ในมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหมและโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2555 ถึงปัจจุบัน ได้มีการฝึกอบรมทันตบุคลากรเพื่อให้มีความรู้และมีทักษะในการบริการผู้ป่วยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 837 คน ประกอบด้วย ทันตแพทย์ จำนวน 579 คน และผู้ช่วยทันตแพทย์ จำนวน 258 คน นอกจากนี้ ได้มีการจัดส่งเครื่องมือให้หน่วยบริการไปแล้ว จำนวน 134 ชุด และจัดส่งชุดรากฟันเทียมไปแล้ว จำนวน 7,000 ชุด ที่ผ่านมาได้ให้บริการผู้ป่วยไปแล้วรวมทั้งสิ้น 2,242 ราย โดยโครงการฯ มีเป้าหมายให้บริการรากฟันเทียม 8,400 รายทั่วประเทศ แบ่งออกเป็นปี พ.ศ. 2555-2556 จำนวน 2,000 ราย ปีพ.ศ.2557 จำนวน 2,800 ราย และปีพ.ศ.2558 จำนวน 3,600 ราย
ทพ.ญ.ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล ผอ.สถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานพบว่าการฝังรากฟันเทียมในผู้ป่วย จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมีคุณสมบัติ คือ ผู้ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยและใส่ฟันเทียมทั้งปากชนิดถอดได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดที่ควบคุมไม่ได้ ไม่สูบบุหรี่จัด ไม่เคยได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณกระดูกขากรรไกรและลำคอ สามารถรับการรักษาและติดตามผลได้ตามนัด อย่างน้อย 6-7 ครั้ง และสำหรับผู้ที่ใส่รากฟันเทียมต้องดูแลตนเอง ดังนี้ แปรงฟันให้สะอาด ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน บางกรณีต้องใช้แปรงซอกฟันหรือแปรงชนิดจุกเดี่ยว ก่อนนอนให้ถอดฟันเทียมแช่น้ำไว้ ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันหรือเครื่องมือใดๆ แคะหรืองัดที่รากฟันเทียม ไม่ควรกัดแทะอาหารกับรากฟันเทียมโดยตรง ที่สำคัญควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อตรวจเช็กสภาพและทำความสะอาดขูดหินปูนที่อาจเกิดสะสมอยู่บนรากฟันเทียม ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมไทยเฉลิมพระเกียรติ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2588-4005-8 ต่อ 1410,1413
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่ศูนย์ประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมวิชาการเครือข่ายรากฟันเทียมไทยเฉลิมพระเกียรติ ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตและให้บริการฝังรากฟันเทียมให้แก่ผู้ป่วย โดยสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ดำเนินการพัฒนาระบบบริการรากฟันเทียมในสถานบริการของ สธ.และหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างเครือข่ายบริการ พัฒนาคุณภาพบริการ ซึ่งขณะนี้โครงการมีหน่วยงานบริการกระจายอยู่ 77 จังหวัด โดยแบ่งเป็นหน่วยบริการในสังกัด สธ.183 แห่ง คณะทันตแพทย์ในมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหมและโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2555 ถึงปัจจุบัน ได้มีการฝึกอบรมทันตบุคลากรเพื่อให้มีความรู้และมีทักษะในการบริการผู้ป่วยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 837 คน ประกอบด้วย ทันตแพทย์ จำนวน 579 คน และผู้ช่วยทันตแพทย์ จำนวน 258 คน นอกจากนี้ ได้มีการจัดส่งเครื่องมือให้หน่วยบริการไปแล้ว จำนวน 134 ชุด และจัดส่งชุดรากฟันเทียมไปแล้ว จำนวน 7,000 ชุด ที่ผ่านมาได้ให้บริการผู้ป่วยไปแล้วรวมทั้งสิ้น 2,242 ราย โดยโครงการฯ มีเป้าหมายให้บริการรากฟันเทียม 8,400 รายทั่วประเทศ แบ่งออกเป็นปี พ.ศ. 2555-2556 จำนวน 2,000 ราย ปีพ.ศ.2557 จำนวน 2,800 ราย และปีพ.ศ.2558 จำนวน 3,600 ราย
ทพ.ญ.ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล ผอ.สถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินงานพบว่าการฝังรากฟันเทียมในผู้ป่วย จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมีคุณสมบัติ คือ ผู้ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยและใส่ฟันเทียมทั้งปากชนิดถอดได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดที่ควบคุมไม่ได้ ไม่สูบบุหรี่จัด ไม่เคยได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณกระดูกขากรรไกรและลำคอ สามารถรับการรักษาและติดตามผลได้ตามนัด อย่างน้อย 6-7 ครั้ง และสำหรับผู้ที่ใส่รากฟันเทียมต้องดูแลตนเอง ดังนี้ แปรงฟันให้สะอาด ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน บางกรณีต้องใช้แปรงซอกฟันหรือแปรงชนิดจุกเดี่ยว ก่อนนอนให้ถอดฟันเทียมแช่น้ำไว้ ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันหรือเครื่องมือใดๆ แคะหรืองัดที่รากฟันเทียม ไม่ควรกัดแทะอาหารกับรากฟันเทียมโดยตรง ที่สำคัญควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อตรวจเช็กสภาพและทำความสะอาดขูดหินปูนที่อาจเกิดสะสมอยู่บนรากฟันเทียม ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการรากฟันเทียมไทยเฉลิมพระเกียรติ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2588-4005-8 ต่อ 1410,1413