ข่าวดี! ยาเอดส์ “เอฟฟาไวเรนซ์” หมดสิทธิบัตรแล้ว เอ็นจีโอเตรียมเร่งคุย อภ.ทำยาสามัญ ช่วยผู้ป่วยเอดส์กลุ่มแรงงานข้ามชาติและพิสูจน์สถานะเข้าถึงยาราคาถูกลงได้ เตรียมฉลองยาหมดสิทธิบัตร ประาศให้สาธารณะทราบ 27 มี.ค.
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า แม้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีนโยบายดูแลสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ด้วยการขายบัตรประกันสุขภาพในราคา 2,800 บาทต่อคน เพื่อครอบคลุมการรักษาพยาบาลต่างๆ แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัญหาได้รับสิทธิรักษาพยาบาลตลอด โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ป่วยโรคเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน ปัญหาคือโรงพยาบาลส่วนใหญ่มักไม่อยากรวมการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในบัตรประกันสุขภาพของ สธ.เนื่องจากมองว่ายาต้านไวรัสเอชไอวียังมีราคาแพง เพราะคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ยาต้านไวรัสฯ ในกลุ่มที่มีการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการลดราคายาต้านไวรัสฯที่มีราคาแพงลง เพราะยาซีแอลใช้ได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
นายนิมิตร์ กล่าวว่า ปัญหานี้ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิใช้ยาต้านไวรัสฯราคาถูก ต้องซื้อยาเองบ้าง หรือใช้วิธีรับบริจาคยาจากกลุ่มที่มีอาการดีขึ้น หรือแม้แต่ในกองทุนคืนสิทธิของผู้ป่วยรอพิสูจน์สถานะบุคคล กองทุนนี้ไม่สามารถใช้ยาซีแอลเช่นกัน ต้องซื้อจากบริษัทยา ซึ่งค่าใช้จ่ายตกคนละ 600-700 บาทต่อเดือน ขณะที่หากอยู่ในกลุ่มซีแอลจะซื้อยาต้านไวรัสฯได้ในราคาถูกประมาณ 450-500 บาทต่อเดือน แต่ล่าสุดเป็นข่าวดี เนื่องจากยาต้านไวรัสเอชไอวีในกลุ่มยาเอฟฟาไวเรนซ์ หมดอายุสิทธิบัตรลงไปเมื่อ มิ.ย. 2556 ซึ่งจะทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สามารถผลิตยาสูตรดังกล่าวเป็นยาสามัญได้ ทำให้ราคาถูกลง และโอกาสในการที่กองทุนคืนสิทธิ และแรงงานข้ามชาติจะได้ใช้ยาราคาถูกก็มีโอกาสมากขึ้น ซึ่งจะมีการหารือเรื่องนี้กับผู้อำนวยการ อภ.ในสัปดาห์หน้า
"มูลนิธิฯเตรียมจัดงานฉลองหมดสิทธิบัตรยาเอฟฟาไวเรนซ์ในวันที่ 27 มี.ค.เพื่อให้สาธารณะรับทราบเรื่องดังกล่าว ส่วนยาสูตรผสมโลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ ที่อยู่ในการประกาศใช้ซีแอลด้วยนั้น ขณะนี้ยังไม่หมดอายุสิทธิบัตร จะหมดอายุสิทธิบัตรในปี 2558” นายนิมิตร์ กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า แม้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีนโยบายดูแลสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ด้วยการขายบัตรประกันสุขภาพในราคา 2,800 บาทต่อคน เพื่อครอบคลุมการรักษาพยาบาลต่างๆ แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัญหาได้รับสิทธิรักษาพยาบาลตลอด โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ป่วยโรคเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน ปัญหาคือโรงพยาบาลส่วนใหญ่มักไม่อยากรวมการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในบัตรประกันสุขภาพของ สธ.เนื่องจากมองว่ายาต้านไวรัสเอชไอวียังมีราคาแพง เพราะคนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้ยาต้านไวรัสฯ ในกลุ่มที่มีการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการลดราคายาต้านไวรัสฯที่มีราคาแพงลง เพราะยาซีแอลใช้ได้เฉพาะคนไทยเท่านั้น
นายนิมิตร์ กล่าวว่า ปัญหานี้ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิใช้ยาต้านไวรัสฯราคาถูก ต้องซื้อยาเองบ้าง หรือใช้วิธีรับบริจาคยาจากกลุ่มที่มีอาการดีขึ้น หรือแม้แต่ในกองทุนคืนสิทธิของผู้ป่วยรอพิสูจน์สถานะบุคคล กองทุนนี้ไม่สามารถใช้ยาซีแอลเช่นกัน ต้องซื้อจากบริษัทยา ซึ่งค่าใช้จ่ายตกคนละ 600-700 บาทต่อเดือน ขณะที่หากอยู่ในกลุ่มซีแอลจะซื้อยาต้านไวรัสฯได้ในราคาถูกประมาณ 450-500 บาทต่อเดือน แต่ล่าสุดเป็นข่าวดี เนื่องจากยาต้านไวรัสเอชไอวีในกลุ่มยาเอฟฟาไวเรนซ์ หมดอายุสิทธิบัตรลงไปเมื่อ มิ.ย. 2556 ซึ่งจะทำให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สามารถผลิตยาสูตรดังกล่าวเป็นยาสามัญได้ ทำให้ราคาถูกลง และโอกาสในการที่กองทุนคืนสิทธิ และแรงงานข้ามชาติจะได้ใช้ยาราคาถูกก็มีโอกาสมากขึ้น ซึ่งจะมีการหารือเรื่องนี้กับผู้อำนวยการ อภ.ในสัปดาห์หน้า
"มูลนิธิฯเตรียมจัดงานฉลองหมดสิทธิบัตรยาเอฟฟาไวเรนซ์ในวันที่ 27 มี.ค.เพื่อให้สาธารณะรับทราบเรื่องดังกล่าว ส่วนยาสูตรผสมโลพินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ ที่อยู่ในการประกาศใช้ซีแอลด้วยนั้น ขณะนี้ยังไม่หมดอายุสิทธิบัตร จะหมดอายุสิทธิบัตรในปี 2558” นายนิมิตร์ กล่าว