สมาพันธรัฐสวิสห่วงนโยบายด้านยาของไทย “ไม่โปร่งใส” และทำคนไทยเข้าไม่ถึง “หมอประดิษฐ” แจงด่วนเรื่องสิทธิบัตรยาคุ้มครอง 20 ปี และห้ามจดทะเบียนในปีที่ 19 หรือ 20 ส่วนการเบิกจ่ายยาย้ำเน้นยาชื่อสามัญ แต่ไม่ได้ห้ามใช้ยาต้นแบบ ยันไม่กระทบบริษัทยา
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือกับนางมารี แกเบรียล อินไอเชน ไฟล์ช (Marie-Gabrielle Ineichen-Fleisch) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การศึกษา และการวิจัยสมาพันธรัฐสวิสและคณะ ว่าสมาพันธสวิสมีความกังวลเรื่องนโยบายด้านยาของประเทศไทย ซึ่งตนได้ชี้แจงใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. นโยบายด้านยาของรัฐบาลไทยมีความโปร่งใสโดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตรยา ซึ่ง สธ.ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามกฎหมาย โดยตามกฎหมายไทยจะมีระยะเวลาในคุ้มครองสิทธิบัตรยาได้ 20 ปี หลังจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และขอความร่วมมืออย่าจดทะเบียนล่าช้าหรือจดทะเบียนในปีที่ 19 หรือ 20 เพราะแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะไม่ร่วมมือในการทำงาน
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า 2. เรื่องการเบิกจ่ายยา ซึ่งสมาพันธรัฐสวิสกังวลว่าคนไทย โดยเฉพาะข้าราชการจะเข้าไม่ถึงยา เนื่องจากมีการเข้าใจผิดว่า รัฐบาลไทยโดยกรมบัญชีกลางห้ามโรงพยาบาลเบิกจ่ายยาต้นแบบ ทั้งนี้ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจว่า รัฐบาลส่งเสริมให้โรงพยาบาลต่างๆ ใช้ยาชื่อสามัญ (generic name) ให้มากขึ้น ขณะเดียวกันไม่ได้ห้ามการจ่ายยาต้นแบบ (Original drug) แพทย์สามารถสั่งใช้ได้ ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้การจ่ายยาสมเหตุผลมากขึ้น และไม่ได้คิดถึงผลกำไรตอบแทน โรงพยาบาลสามารถเบิกที่ต้นทุนของราคายาที่สั่งซื้อจากบริษัทยา ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อบริษัทยาแต่อย่างใด และในอนาคตหากยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีราคาใกล้เคียงกัน ก็อาจจะให้เบิกจ่ายในระบบเดียวกันได้
นพ.ประดิษฐกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ สธ.ได้แจ้งว่าประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเป็นศูนย์การแพทย์นานาชาติ (เมดิคัลฮับ) ทั้งด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก จึงได้เชิญชวนประเทศสมาพันธรัฐสวิสให้มาใช้บริการเมดิคัลฮับของประเทศไทยด้วย
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือกับนางมารี แกเบรียล อินไอเชน ไฟล์ช (Marie-Gabrielle Ineichen-Fleisch) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การศึกษา และการวิจัยสมาพันธรัฐสวิสและคณะ ว่าสมาพันธสวิสมีความกังวลเรื่องนโยบายด้านยาของประเทศไทย ซึ่งตนได้ชี้แจงใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. นโยบายด้านยาของรัฐบาลไทยมีความโปร่งใสโดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตรยา ซึ่ง สธ.ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามกฎหมาย โดยตามกฎหมายไทยจะมีระยะเวลาในคุ้มครองสิทธิบัตรยาได้ 20 ปี หลังจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และขอความร่วมมืออย่าจดทะเบียนล่าช้าหรือจดทะเบียนในปีที่ 19 หรือ 20 เพราะแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะไม่ร่วมมือในการทำงาน
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า 2. เรื่องการเบิกจ่ายยา ซึ่งสมาพันธรัฐสวิสกังวลว่าคนไทย โดยเฉพาะข้าราชการจะเข้าไม่ถึงยา เนื่องจากมีการเข้าใจผิดว่า รัฐบาลไทยโดยกรมบัญชีกลางห้ามโรงพยาบาลเบิกจ่ายยาต้นแบบ ทั้งนี้ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจว่า รัฐบาลส่งเสริมให้โรงพยาบาลต่างๆ ใช้ยาชื่อสามัญ (generic name) ให้มากขึ้น ขณะเดียวกันไม่ได้ห้ามการจ่ายยาต้นแบบ (Original drug) แพทย์สามารถสั่งใช้ได้ ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้การจ่ายยาสมเหตุผลมากขึ้น และไม่ได้คิดถึงผลกำไรตอบแทน โรงพยาบาลสามารถเบิกที่ต้นทุนของราคายาที่สั่งซื้อจากบริษัทยา ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อบริษัทยาแต่อย่างใด และในอนาคตหากยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีราคาใกล้เคียงกัน ก็อาจจะให้เบิกจ่ายในระบบเดียวกันได้
นพ.ประดิษฐกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ สธ.ได้แจ้งว่าประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเป็นศูนย์การแพทย์นานาชาติ (เมดิคัลฮับ) ทั้งด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก จึงได้เชิญชวนประเทศสมาพันธรัฐสวิสให้มาใช้บริการเมดิคัลฮับของประเทศไทยด้วย