สธ.อัปมาตรฐาน “รถพยาบาล” เน้นพนักงานขับรถเป็นพิเศษ จ่อออกใบขับขี่เฉพาะ ตรวจแอลกอฮอล์ สารเสพติดก่อนขับ ตรวจสุขภาพจิตปีละครั้ง พร้อมคุมมาตรฐานไปถึงพยาบาล รถพยาบาล ศูนย์สั่งการประสานติดตาม ติดจีพีเอสติดตามความเร็วรถ เครื่องติดตามอาการผู้ป่วย พร้อมจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีรถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ มักพบการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานนำส่งผู้ป่วย เช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ว่า ขณะนี้ สธ.ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนามาตรฐานของระบบรถพยาบาลขึ้น 1 ชุดเป็นการเฉพาะ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) เป็นประธาน ทั้งนี้ รถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศกว่า 800 แห่ง จำนวนกว่า 2,500 คัน สภาพค่อนข้างใหม่ มีสมรรถนะดีอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือการวางมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ สมบูรณ์แบบทุกขั้นตอน เพื่อลดความสูญเสีย และสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนรถพยาบาลฉุกเฉิน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย เป็นสำคัญ
นพ.วชิระ กล่าวว่า ในการศึกษาระบบดังกล่าวได้วางไว้ 7 เรื่อง ได้แก่ 1.พนักงานขับรถ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จะยกระดับมาตรฐานคนขับพยาบาลฉุกเฉินโดยเฉพาะ พัฒนาหลักสูตรการขับรถพยาบาล และจัดอบรมตามสถานการณ์ต่างๆ เหมือนจริง เพื่อออกใบขับขี่ให้เฉพาะรถพยาบาลเท่านั้น รวมถึงมาตรการตรวจแอลกอฮอล์ ตรวจสารเสพติดก่อนขับ การทดสอบสุขภาพจิตปีละครั้ง มีประกันชีวิตอุบัติเหตุหมู่ การจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษกว่าพนักงานขับรถราชการๆทั่วไป 2.พยาบาลที่ไปกับรถ ต้องมีทักษะประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ส่งต่อ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งสำคัญที่สุด มีประกันอุบัติเหตุหมู่ และค่าตอบแทนพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 3.เรื่องรถพยาบาล โครงสร้างตัวถังรถต้องแข็งแรง จะต้องตรวจเช็กติดตั้งจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ ติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) สามารถติดตามตำแหน่ง ควบคุมความเร็ว ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาณภาพเพื่อติดตามอาการผู้ป่วย
นพ.วชิระ กล่าวว่า 4.ระบบของศูนย์สั่งการติดตั้งจีพีเอส (GPS) ประจำรถ เพื่อสามารถติดตามตำแหน่งพิกัดของรถพยาบาล ควบคุมความเร็ว และติดตั้งเครื่องติดตามอาการผู้ป่วย (Control monitor) การคัดกรองอาการความรุนแรงของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ และระบบประสานการจราจร ให้เกิดความคล่องตัวระหว่างการนำส่ง 5.เรื่องการส่งต่อผู้ป่วย (Refer) ประกอบด้วยการซักซ้อมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อบ่งชี้ของการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อในช่วงเวลาไม่เหมาะสม และมีการแจ้งข้อมูลและทำความเข้าใจแก่ผู้ป่วย และญาติ ก่อนนำส่งต่อคร่าวๆ 6.มาตรฐานการขับรถพยาบาล มีการจำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง ให้ยึดกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก และ 7.การขอความร่วมมือจากประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และสังคม ให้หลบและให้ทางรถพยาบาลฉุกเฉิน ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีรถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ มักพบการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานนำส่งผู้ป่วย เช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ว่า ขณะนี้ สธ.ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนามาตรฐานของระบบรถพยาบาลขึ้น 1 ชุดเป็นการเฉพาะ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) เป็นประธาน ทั้งนี้ รถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศกว่า 800 แห่ง จำนวนกว่า 2,500 คัน สภาพค่อนข้างใหม่ มีสมรรถนะดีอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือการวางมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ สมบูรณ์แบบทุกขั้นตอน เพื่อลดความสูญเสีย และสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนรถพยาบาลฉุกเฉิน ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย เป็นสำคัญ
นพ.วชิระ กล่าวว่า ในการศึกษาระบบดังกล่าวได้วางไว้ 7 เรื่อง ได้แก่ 1.พนักงานขับรถ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จะยกระดับมาตรฐานคนขับพยาบาลฉุกเฉินโดยเฉพาะ พัฒนาหลักสูตรการขับรถพยาบาล และจัดอบรมตามสถานการณ์ต่างๆ เหมือนจริง เพื่อออกใบขับขี่ให้เฉพาะรถพยาบาลเท่านั้น รวมถึงมาตรการตรวจแอลกอฮอล์ ตรวจสารเสพติดก่อนขับ การทดสอบสุขภาพจิตปีละครั้ง มีประกันชีวิตอุบัติเหตุหมู่ การจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษกว่าพนักงานขับรถราชการๆทั่วไป 2.พยาบาลที่ไปกับรถ ต้องมีทักษะประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ส่งต่อ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งสำคัญที่สุด มีประกันอุบัติเหตุหมู่ และค่าตอบแทนพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 3.เรื่องรถพยาบาล โครงสร้างตัวถังรถต้องแข็งแรง จะต้องตรวจเช็กติดตั้งจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ ติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) สามารถติดตามตำแหน่ง ควบคุมความเร็ว ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาณภาพเพื่อติดตามอาการผู้ป่วย
นพ.วชิระ กล่าวว่า 4.ระบบของศูนย์สั่งการติดตั้งจีพีเอส (GPS) ประจำรถ เพื่อสามารถติดตามตำแหน่งพิกัดของรถพยาบาล ควบคุมความเร็ว และติดตั้งเครื่องติดตามอาการผู้ป่วย (Control monitor) การคัดกรองอาการความรุนแรงของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ และระบบประสานการจราจร ให้เกิดความคล่องตัวระหว่างการนำส่ง 5.เรื่องการส่งต่อผู้ป่วย (Refer) ประกอบด้วยการซักซ้อมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อบ่งชี้ของการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อในช่วงเวลาไม่เหมาะสม และมีการแจ้งข้อมูลและทำความเข้าใจแก่ผู้ป่วย และญาติ ก่อนนำส่งต่อคร่าวๆ 6.มาตรฐานการขับรถพยาบาล มีการจำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง ให้ยึดกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก และ 7.การขอความร่วมมือจากประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และสังคม ให้หลบและให้ทางรถพยาบาลฉุกเฉิน ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศใช้ในเร็วๆ นี้