เตือนนักเปิบ “ไข่แมงดา” อย่าชะล่าใจ เห็นชัดกระดองแมงดาจานกินได้ แต่อาจเป็นไข่แมงดาถ้วย แนะสังเกตอาการหากเกิดอาการลิ้นชา แขนขาชา ใน 15-30 นาที ชัดเจนได้รับพิษแน่ รีบบอกคนใกล้ชิดพาไปพบแพทย์ ระบุส่วนใหญ่ที่ตายเพราะอ่อนแรงหายใจไม่ออก และมาพบแพทย์ช้า ชี้เมาท์ทูเมาท์ช่วยปฐมพยาบาลได้
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงอันตรายจากการกินไข่แมงดาทะเล ว่า แมงดาทะเลมี 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย และแมงดาจาน ซึ่งแมงดาจานไม่มีพิษสามารถกินได้ แต่ขณะนี้พบผู้ป่วยได้รับสารพิษ “เต็ตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin)” จากการกินไข่แมงดาทะเลมากขึ้น โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยมากถึง 8 ราย เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากเกือบเท่าจำนวนผู้ป่วยทั้งปีของปี 2556 คือป่วย 11 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยตั้งแต่ปี 2554 - 9 มี.ค. 2557 พบผู้ป่วยที่ภาคตะวันออกมากสุด 52.17% รองลงมาคือภาคใต้ 19.57% ภาคกลาง 13.04% กทม. 8.70% และภาคตะวันตก 6.52% ศูนย์พิษฯ จึงต้องออกมาเตือนประชาชนให้ระวังถึงอันตรายจากการไข่กินแมงดาทะเล ซึ่งพิษตัวนี้แมงดาทะเลไม่ได้สร้างขึ้นเอง แต่เกิดจากการสร้างของแบคทีเรีย 2-3 ชนิด แล้วพิษเข้าไปสะสมอยู่ในไข่ของแมงดาทะเล เมื่อกินเข้าไปแล้วภายใน 15-30 นาทีจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชาบริเวณลิ้น ปลายนิ้วมือและเท้า จนคนไข้อ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง ไม่สามารถขยับตัวได้ กล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน ทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตในที่สุด หากช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า ปัญหาคือประชาชนไม่สามารถแยกได้ว่าอย่างไหนคือแมงดาถ้วยหรือแมงดาจาน หรือเกิดจากการดูผิดว่าเป็นแมงดาจาน เพราะเกือบทุกกรณีเมื่อผู้ป่วยได้รับพิษมักยืนยันว่ากินไข่แมงดาจาน จึงมีข้อสงสัยว่าแมงดาจานอาจมีการข้ามสายพันธุ์ จนสามารถสะสมพิษในไข่ได้เช่นกัน หรืออีกกรณีคือเมนูไข่แมงดาที่ขายตามร้านอาหารต่างๆ ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ว่าไข่ที่นำมาเสิร์ฟเป็นไข่แมงดาจานจริงหรือไม่ เพราะกระดองที่นำมาใส่ไข่อาจเป็นกระดองของแมงดาจานจริง แต่ตัวไข่อาจไม่ใช่ก็ได้ ดังนั้น การไม่กินไข่แมงดาจึงปลอดภัยที่สุด
“ ผู้ที่กินไข่แมงดาต้องรู้ตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ ฉะนั้น หากกินแล้วเกิดอาการชาขึ้นอย่าวางใจให้รีบแจ้งคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อให้ช่วยนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยคนใกล้ชิดสามารถช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ โดยการเปิดเสื้อผ้าของผู้ป่วยเพื่อให้ทางเดินหายใจคล่องที่สุด เพราะผู้ป่วยจะอ่อนแรงจนไม่สามารถหายใจได้ หากสังเกตว่าเริ่มหายใจเองไม่ได้ ให้ช่วยเป่าปากช่วยผู้ป่วยหายใจ ที่สำคัญไม่จเป็นต้องให้ผู้ป่วยกินยารืออะไรเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น เพราะเมื่อผู้ป่วยไม่มีแรงการกลืนอาจทำให้สำลักได้ ทั้งนี้ เมื่อนำส่งถึงโรงพยาบาลให้แจ้งแพทย์ พยาบาล ว่ามีการกินไข่แมงดาทะเลก็จะช่วยให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น โดยแพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่ง 90% อาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 3-4 วัน เนื่องจากพิษดังกล่าวจะสลายจากร่างกายไปเอง” ศ.นพ.วินัย กล่าว
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า สาเหตุที่ตายส่วนใหญ่คือหายใจไม่ออก และมาพบแพทย์ช้าจนไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดอาการแทรกซ้อน ซึ่งเกิดจากการได้รับสารพิษเข้าไปมากจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ทั่วด้วย ซึ่งผู้ที่เสียชีวิตในปีนี้ก็เกิดจากการที่หายใจไม่ออกและต่อมไร้ท่อเกิดภาวะผิดปกติ
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า สารพิษตัวนี้เป็นตัวเดียวกับกรณีการกินปลาปักเป้าแล้วเสียชีวิต ซึ่งพิษตัวนี้จริงๆ แล้วไม่ได้สะสมอยู่ในเนื้อปลาปักเป้า แต่สะสมอยู่ที่รังไข่ และอวัยวะภายใน ดังนั้น หากสามารถแล่เนื้อปลาปักเป้าโดยไม่กระทบอวัยวะภายในหรือไข่ก็สามารถกินได้ เช่นประเทศญี่ปุ่นที่คนแล่เนื้อปลาจะต้องสอบจนได้รับใบอนุญาตประกอบการแล่ ซึ่งเมนูปลาปักเป้าเป็นเมนูราคาแพงและขึ้นชื่อเมนูหนึ่งของญี่ปุ่น โดยคนที่ไปกินจะรู้ตัวดีว่ามีความเสี่ยง หากเกิดอาการชาก็สามารถส่งโรงพยาบาลได้ทัน แตกต่างจากไทย ที่ อย.ประกาศห้ามขายปลาปักเป้าเนื่องจากเป็นอันตราย ประชาชนก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้ ที่สำคัญบางครั้งชาวประมงเมื่อจับปลาปักเป้าขึ้นมาได้ก็เสียดาย จึงมีการแล่เนื้อแล้วปลอมเป็นปลาชนิดอื่น เช่น ปลากะพง หรือขายในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคไม่ทราบ เมื่อกินเข้าไปแล้วเกิดอาการชาจะไม่นึกถึงว่าเป็นปลาปักเป้า ทำให้บางครั้งมารักษาไม่ทันและเสียชีวิต
“ขอย้ำว่า ไม่ว่าจะนำไขแมงดาหรือปลาปักเป้ามาทำให้สุกด้วยความร้อนก็ไม่สามารถสลายพิษตัวนี้ได้ เพราะหลายปีก่อนที่เจ้าของโรงงานซื้อปลาปักเป้ามาทำลูกชินขาย ซึ่งต้งผ่านกระบวนการความร้อนต่างๆ ผู้บริโภคยังได้รับอันตรายจากสารพิษอยู่” ศ.นพ.วินัย กล่าว
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงอันตรายจากการกินไข่แมงดาทะเล ว่า แมงดาทะเลมี 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย และแมงดาจาน ซึ่งแมงดาจานไม่มีพิษสามารถกินได้ แต่ขณะนี้พบผู้ป่วยได้รับสารพิษ “เต็ตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin)” จากการกินไข่แมงดาทะเลมากขึ้น โดยช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยมากถึง 8 ราย เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากเกือบเท่าจำนวนผู้ป่วยทั้งปีของปี 2556 คือป่วย 11 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยตั้งแต่ปี 2554 - 9 มี.ค. 2557 พบผู้ป่วยที่ภาคตะวันออกมากสุด 52.17% รองลงมาคือภาคใต้ 19.57% ภาคกลาง 13.04% กทม. 8.70% และภาคตะวันตก 6.52% ศูนย์พิษฯ จึงต้องออกมาเตือนประชาชนให้ระวังถึงอันตรายจากการไข่กินแมงดาทะเล ซึ่งพิษตัวนี้แมงดาทะเลไม่ได้สร้างขึ้นเอง แต่เกิดจากการสร้างของแบคทีเรีย 2-3 ชนิด แล้วพิษเข้าไปสะสมอยู่ในไข่ของแมงดาทะเล เมื่อกินเข้าไปแล้วภายใน 15-30 นาทีจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชาบริเวณลิ้น ปลายนิ้วมือและเท้า จนคนไข้อ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง ไม่สามารถขยับตัวได้ กล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน ทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตในที่สุด หากช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า ปัญหาคือประชาชนไม่สามารถแยกได้ว่าอย่างไหนคือแมงดาถ้วยหรือแมงดาจาน หรือเกิดจากการดูผิดว่าเป็นแมงดาจาน เพราะเกือบทุกกรณีเมื่อผู้ป่วยได้รับพิษมักยืนยันว่ากินไข่แมงดาจาน จึงมีข้อสงสัยว่าแมงดาจานอาจมีการข้ามสายพันธุ์ จนสามารถสะสมพิษในไข่ได้เช่นกัน หรืออีกกรณีคือเมนูไข่แมงดาที่ขายตามร้านอาหารต่างๆ ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ว่าไข่ที่นำมาเสิร์ฟเป็นไข่แมงดาจานจริงหรือไม่ เพราะกระดองที่นำมาใส่ไข่อาจเป็นกระดองของแมงดาจานจริง แต่ตัวไข่อาจไม่ใช่ก็ได้ ดังนั้น การไม่กินไข่แมงดาจึงปลอดภัยที่สุด
“ ผู้ที่กินไข่แมงดาต้องรู้ตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ ฉะนั้น หากกินแล้วเกิดอาการชาขึ้นอย่าวางใจให้รีบแจ้งคนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด เพื่อให้ช่วยนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยคนใกล้ชิดสามารถช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ โดยการเปิดเสื้อผ้าของผู้ป่วยเพื่อให้ทางเดินหายใจคล่องที่สุด เพราะผู้ป่วยจะอ่อนแรงจนไม่สามารถหายใจได้ หากสังเกตว่าเริ่มหายใจเองไม่ได้ ให้ช่วยเป่าปากช่วยผู้ป่วยหายใจ ที่สำคัญไม่จเป็นต้องให้ผู้ป่วยกินยารืออะไรเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น เพราะเมื่อผู้ป่วยไม่มีแรงการกลืนอาจทำให้สำลักได้ ทั้งนี้ เมื่อนำส่งถึงโรงพยาบาลให้แจ้งแพทย์ พยาบาล ว่ามีการกินไข่แมงดาทะเลก็จะช่วยให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น โดยแพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่ง 90% อาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 3-4 วัน เนื่องจากพิษดังกล่าวจะสลายจากร่างกายไปเอง” ศ.นพ.วินัย กล่าว
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า สาเหตุที่ตายส่วนใหญ่คือหายใจไม่ออก และมาพบแพทย์ช้าจนไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดอาการแทรกซ้อน ซึ่งเกิดจากการได้รับสารพิษเข้าไปมากจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ทั่วด้วย ซึ่งผู้ที่เสียชีวิตในปีนี้ก็เกิดจากการที่หายใจไม่ออกและต่อมไร้ท่อเกิดภาวะผิดปกติ
ศ.นพ.วินัย กล่าวว่า สารพิษตัวนี้เป็นตัวเดียวกับกรณีการกินปลาปักเป้าแล้วเสียชีวิต ซึ่งพิษตัวนี้จริงๆ แล้วไม่ได้สะสมอยู่ในเนื้อปลาปักเป้า แต่สะสมอยู่ที่รังไข่ และอวัยวะภายใน ดังนั้น หากสามารถแล่เนื้อปลาปักเป้าโดยไม่กระทบอวัยวะภายในหรือไข่ก็สามารถกินได้ เช่นประเทศญี่ปุ่นที่คนแล่เนื้อปลาจะต้องสอบจนได้รับใบอนุญาตประกอบการแล่ ซึ่งเมนูปลาปักเป้าเป็นเมนูราคาแพงและขึ้นชื่อเมนูหนึ่งของญี่ปุ่น โดยคนที่ไปกินจะรู้ตัวดีว่ามีความเสี่ยง หากเกิดอาการชาก็สามารถส่งโรงพยาบาลได้ทัน แตกต่างจากไทย ที่ อย.ประกาศห้ามขายปลาปักเป้าเนื่องจากเป็นอันตราย ประชาชนก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้ ที่สำคัญบางครั้งชาวประมงเมื่อจับปลาปักเป้าขึ้นมาได้ก็เสียดาย จึงมีการแล่เนื้อแล้วปลอมเป็นปลาชนิดอื่น เช่น ปลากะพง หรือขายในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคไม่ทราบ เมื่อกินเข้าไปแล้วเกิดอาการชาจะไม่นึกถึงว่าเป็นปลาปักเป้า ทำให้บางครั้งมารักษาไม่ทันและเสียชีวิต
“ขอย้ำว่า ไม่ว่าจะนำไขแมงดาหรือปลาปักเป้ามาทำให้สุกด้วยความร้อนก็ไม่สามารถสลายพิษตัวนี้ได้ เพราะหลายปีก่อนที่เจ้าของโรงงานซื้อปลาปักเป้ามาทำลูกชินขาย ซึ่งต้งผ่านกระบวนการความร้อนต่างๆ ผู้บริโภคยังได้รับอันตรายจากสารพิษอยู่” ศ.นพ.วินัย กล่าว