“หมอประดิษฐ” ยกเคสยิง รพ.มงกุฎวัฒนะ เตือนบุคลากร สธ.ยิ่งเคลื่อนไหวการเมืองยิ่งล่อเป้า สาดน้ำมันให้เกิดเหตุรุนแรง ยันไม่หนุนให้มีการติดป้ายในโรงพยาบาล ทั้งต่อต้านและสนับสนุนรัฐบาล ชี้ทำชาวบ้านไม่สบายใจหากมารับบริการ ระบุหาก รพ.ใดคิดว่าไม่ปลอดภัยให้ยื่นเรื่องขอกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลได้ เผย รบ.เยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 4 แสน ไม่ใช่ 7 ล้านบาท
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีคนร้ายยิง รพ.มงกุฎวัฒนะ ว่า ตนมีความเป็นห่วงและกังวลเรื่องการใช้ความรุนแรง ซึ่งกรณีการยิง รพ.มงกุฎวัฒนะ ทุกคนก็ไม่เห็นด้วยและประณามต่อการกระทำดังกล่าว ซึ่งตนก็ไม่สนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงต่อโรงพยาบาลเช่นนี้ ทั้งนี้ คงไม่ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยโรงพยาบาลใดๆ เป็นพิเศษ เพราะกำลังคงไม่เพียงพอ แต่หากโรงพยาบาลใดที่คิดว่าไม่ปลอดภัยจากเหตุความรุนแรงก็สามารถแจ้งมาที่ สธ.ได้ ตนจะทำเรื่องประสานหน่วยงานความมั่นคงให้จัดเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล อย่างไรก็ตาม ตนเคยย้ำและตักเตือนไปแล้วถึงการแสดงออกทางการเมืองในโรงพยาบาล เพราะกังวลว่าจะเป็นการล่อเป้าและยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นป้ายสนับสนุนรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาล ตนก็ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้น หากอยู่เฉยๆ ก็จะไม่เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะวิชาชีพที่ต้องดูแลสุขภาพ ไม่ควรมาแสดงออกในประเด็นที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ที่สำคัญจะทำให้ชาวบ้านไม่สบายใจว่ามารับบริการแล้วจะเกิดเหตุอันตรายใดๆ เช่นการยิงเข้ามาในโรงพยาบาลหรือไม่
“ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเพิ่งไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บมา 2 ราย โดยรายแรกคือชายที่ถูกซ้อมแล้วจับมัดโยนลงแม่น้ำบางปะกง พบซี่โครงหัก 2 ซี่ คือซี่ที่ 7 และ 9 แต่โดยรวมอาการดีขึ้น มีลมรั่วในปอด ตามตัวมีรอยมัด พอพูดได้บ้างแล้ว และอีกรายคือ นายอะแกว แซ่ล้ำ ซึ่งถูกยิงตัดไขสันหลัง จนทำให้ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียงตลอดชีวิต โดยแพทย์ตั้งใจจะใส่เหล็กที่คอเพื่อให้คอตั้งได้ แต่ขณะนี้มีไข้ทำให้ไม่สามารถใส่เหล็กได้ ซึ่งหากพอเรื่องช่วยตัวเองได้ก็คงถอดเครื่องช่วยหายใจออกและคิดว่าคงเริ่มพูดคุยได้ สองคนนี้เป็นตัวอย่างของความรุนแรงที่เกิดขึ้น ถ้าหากเราอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น การออกมาติดป้าย แสดงออกทางการเมืองต่างๆ ก็ยิ่งเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟ” นพ.ประดิษฐ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ที่เป็นหัวหอกในการแสดงออกเรื่องนี้ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ปลัด สธ.มีความเป็นผู้ใหญ่พอ ตนเชื่อว่าปลัด สธ.น่าจะทราบว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่บุคลากร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งภายในประชาคมสาธารณสุข
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บทางการเมือง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า จากที่นำเรื่องเข้า ครม.พบว่ามีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในการเยียวยาผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บเมื่อปี 2551 อยู่ ซึ่งผู้เสียชีวิตจะได้รับการเยียวยารายละ 4 แสนบาท ส่วนบาดเจ็บและพิการก็ลดหลั่นลงไปตามที่ระเบียบระบุ แต่คงไม่ใช่การเยียวยา รัฐบาลก็สามารถดูแลได้ตามระเบียบนี้ สำหรับ สธ.ก็จะเน้นการดูแลสุขภาพจิตด้วย
วันนี้ (10 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีคนร้ายยิง รพ.มงกุฎวัฒนะ ว่า ตนมีความเป็นห่วงและกังวลเรื่องการใช้ความรุนแรง ซึ่งกรณีการยิง รพ.มงกุฎวัฒนะ ทุกคนก็ไม่เห็นด้วยและประณามต่อการกระทำดังกล่าว ซึ่งตนก็ไม่สนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงต่อโรงพยาบาลเช่นนี้ ทั้งนี้ คงไม่ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยโรงพยาบาลใดๆ เป็นพิเศษ เพราะกำลังคงไม่เพียงพอ แต่หากโรงพยาบาลใดที่คิดว่าไม่ปลอดภัยจากเหตุความรุนแรงก็สามารถแจ้งมาที่ สธ.ได้ ตนจะทำเรื่องประสานหน่วยงานความมั่นคงให้จัดเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล อย่างไรก็ตาม ตนเคยย้ำและตักเตือนไปแล้วถึงการแสดงออกทางการเมืองในโรงพยาบาล เพราะกังวลว่าจะเป็นการล่อเป้าและยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นป้ายสนับสนุนรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาล ตนก็ไม่เห็นด้วยทั้งสิ้น หากอยู่เฉยๆ ก็จะไม่เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะวิชาชีพที่ต้องดูแลสุขภาพ ไม่ควรมาแสดงออกในประเด็นที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ที่สำคัญจะทำให้ชาวบ้านไม่สบายใจว่ามารับบริการแล้วจะเกิดเหตุอันตรายใดๆ เช่นการยิงเข้ามาในโรงพยาบาลหรือไม่
“ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเพิ่งไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บมา 2 ราย โดยรายแรกคือชายที่ถูกซ้อมแล้วจับมัดโยนลงแม่น้ำบางปะกง พบซี่โครงหัก 2 ซี่ คือซี่ที่ 7 และ 9 แต่โดยรวมอาการดีขึ้น มีลมรั่วในปอด ตามตัวมีรอยมัด พอพูดได้บ้างแล้ว และอีกรายคือ นายอะแกว แซ่ล้ำ ซึ่งถูกยิงตัดไขสันหลัง จนทำให้ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียงตลอดชีวิต โดยแพทย์ตั้งใจจะใส่เหล็กที่คอเพื่อให้คอตั้งได้ แต่ขณะนี้มีไข้ทำให้ไม่สามารถใส่เหล็กได้ ซึ่งหากพอเรื่องช่วยตัวเองได้ก็คงถอดเครื่องช่วยหายใจออกและคิดว่าคงเริ่มพูดคุยได้ สองคนนี้เป็นตัวอย่างของความรุนแรงที่เกิดขึ้น ถ้าหากเราอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น การออกมาติดป้าย แสดงออกทางการเมืองต่างๆ ก็ยิ่งเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟ” นพ.ประดิษฐ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ที่เป็นหัวหอกในการแสดงออกเรื่องนี้ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ปลัด สธ.มีความเป็นผู้ใหญ่พอ ตนเชื่อว่าปลัด สธ.น่าจะทราบว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่บุคลากร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งภายในประชาคมสาธารณสุข
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บทางการเมือง นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า จากที่นำเรื่องเข้า ครม.พบว่ามีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในการเยียวยาผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บเมื่อปี 2551 อยู่ ซึ่งผู้เสียชีวิตจะได้รับการเยียวยารายละ 4 แสนบาท ส่วนบาดเจ็บและพิการก็ลดหลั่นลงไปตามที่ระเบียบระบุ แต่คงไม่ใช่การเยียวยา รัฐบาลก็สามารถดูแลได้ตามระเบียบนี้ สำหรับ สธ.ก็จะเน้นการดูแลสุขภาพจิตด้วย