เริ่มแล้ว! ประชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพฯ ปี 57 “หมอจรัล” ฟุ้งครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ เน้นกองทุนสุขภาพตำบล ชี้เป็นปัจจัยสำคัญช่วย ปชช.เข้าถึงระบบบริการ ก่อนเปิดรับฟังความเห็นครั้งใหญ่ 14 พ.ค.
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปี 2557 บอร์ด สปสช.ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นในระบบหลักประกันสุขภาพเช่นทุกปี แต่มีการขยายวงพื้นที่ครอบคลุมทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ และกลุ่มเป้าหมายในการร่วมแสดงความเห็นให้ครอบคลุมทุกกลุ่มมากขึ้น พร้อมจัดให้มีสัดส่วนการรับฟังความเห็นที่สมดุลเหมาะสม โดยผลสรุปที่ได้จากการรับฟังความเห็นนี้ บอร์ด สปสช.จะนำไปปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีการผลักดันข้อเสนอนโยบายที่สำคัญสู่การสร้างนโยบายสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศต่อไป
นพ.จรัล กล่าวว่า ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันฯ คือ 1.ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ให้ครบถ้วนทั้งที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้แทนองค์กรวิชาชีพต่างๆ 2.ผู้รับบริการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ทั้งที่มีและไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4.ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นรับฟังความเห็น ในวันที่ 5 มีนาคม พื้นที่เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี และจะดำเนินการต่อเนื่องจนครบ 13 เขต โดยการเปิดรับฟังความเห็นพื้นที่เขต 13 กทม.จะเป็นพื้นที่สุดท้าย ก่อนที่จะเปิดรับฟังความเห็นระดับประเทศอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค.
“การเปิดรับฟังความเห็นปี 2557 เน้นประเด็นที่นำไปสู่การปรับปรุงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษามากยิ่งขึ้น และที่ผ่านมาได้มีการปรับแก้ประกาศการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2556 เพื่อเปิดทางให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริหารจัดการกองทุนมากขึ้น” นพ.จรัล กล่าว
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปี 2557 บอร์ด สปสช.ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นในระบบหลักประกันสุขภาพเช่นทุกปี แต่มีการขยายวงพื้นที่ครอบคลุมทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ และกลุ่มเป้าหมายในการร่วมแสดงความเห็นให้ครอบคลุมทุกกลุ่มมากขึ้น พร้อมจัดให้มีสัดส่วนการรับฟังความเห็นที่สมดุลเหมาะสม โดยผลสรุปที่ได้จากการรับฟังความเห็นนี้ บอร์ด สปสช.จะนำไปปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีการผลักดันข้อเสนอนโยบายที่สำคัญสู่การสร้างนโยบายสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศต่อไป
นพ.จรัล กล่าวว่า ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันฯ คือ 1.ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ให้ครบถ้วนทั้งที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้แทนองค์กรวิชาชีพต่างๆ 2.ผู้รับบริการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ทั้งที่มีและไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4.ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักวิชาการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นรับฟังความเห็น ในวันที่ 5 มีนาคม พื้นที่เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี และจะดำเนินการต่อเนื่องจนครบ 13 เขต โดยการเปิดรับฟังความเห็นพื้นที่เขต 13 กทม.จะเป็นพื้นที่สุดท้าย ก่อนที่จะเปิดรับฟังความเห็นระดับประเทศอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค.
“การเปิดรับฟังความเห็นปี 2557 เน้นประเด็นที่นำไปสู่การปรับปรุงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษามากยิ่งขึ้น และที่ผ่านมาได้มีการปรับแก้ประกาศการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2556 เพื่อเปิดทางให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริหารจัดการกองทุนมากขึ้น” นพ.จรัล กล่าว