ผู้หญิงและเด็กไทยถูกปู้ยี่ปู้ยำมากขึ้น พบปี 56 พุ่ง 31,000 ราย เป็นเด็ก 60% ถูกข่มขืนมากที่สุด เหตุเสพสื่อลามก ส่วนผู้หญิงถูกทุบตีจากเหตุหึงหวง โดยคู่สมรส แฟนมากที่สุด สธ.เร่งขยายศูนย์พึ่งได้ลง รพ.สต.จัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.เฝ้าระวัง 7 กลุ่มเสี่ยงถูกทำร้ายใกล้ชิดขึ้น
วันนี้ (8 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 8 มี.ค.ทุกปีเป็นวันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งการดูแลปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีนั้น สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่ปี 2542 จัดบริการแบบสหวิชาชีพ ช่วยเหลือดูแลครบวงจรร่วมกันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาลร่างกายและจิตใจ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนปัญหายุติ ขณะนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปครบ 96 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว 631 แห่งจากทั้งหมด 734 แห่ง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การให้บริการพบว่า เด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปี 2550 ให้การช่วยเหลือ 19,067 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย ปี 2556 เพิ่มเป็น 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือถูกทำร้าย 1 คนในทุกๆ 15 นาที ซึ่งร้อยละ 60 เป็นเด็ก โดย 9 ใน 10 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-15 ปี ร้อยละ 46 อายุ 15-18 ปี ร้อยละ 40 และต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 5 หรือ 1,000 ราย
“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันดับ 1 คือ ล่วงละเมิดทางเพศร้อยละ 72 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21 ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน แฟน ส่วนความรุนแรงในเด็กที่อายุมากขึ้นผู้กระทำมักเป็นแฟนมากที่สุด สาเหตุเกิดมาจากสภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือการเสพสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านของผู้กระทำและบ้านที่เด็กอยู่อาศัย สถานที่เปลี่ยว เป็นต้น” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนความรุนแรงในสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 35-45 ปี ร้อยละ 39 รองลงมาคืออายุ 18-25 ปี ปัญหาอันดับ 1 คือถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย เช่น ทุบตี จำนวน 9,699 ราย ถูกกระทำทางเพศ จำนวน 2,226 ราย โดยผู้กระทำรุนแรงคือคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 52 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาท คาดว่าแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ มาจากหลายปัญหา เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะสุรา ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ขาดการคัดกรองอย่างรอบคอบ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ในปี 2557 สธ.ตั้งเป้าตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และเร่งขยายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อดูแลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงถูกกระทำรุนแรงในพื้นที่ 7 กลุ่ม ได้แก่ เด็กผู้หญิง ผู้หญิงที่มีความพิการทางสติปัญญา ผู้พิการทางกาย ครอบครัวผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มสุรา พ่อแม่เป็นโรคจิต ครอบครัวแตกแยก เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหา และจัดระบบการทำงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.และ อสม.ให้มีความรู้ ตรวจคัดกรองผู้ที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยง และจัดบริการส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลเยียวยา ลดปัญหาทางกายและทางจิตใจในเบื้องต้นได้
“หากพบปัญหารุนแรงจะส่งดูแลต่อในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้นไป จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลความปลอดภัยและมีที่พึ่งใกล้บ้าน และในอนาคตจะเร่งพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการบริการให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรี ของสถานพยาบาลต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นผู้หญิงหรือเด็กถูกกระทำรุนแรง สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้โรงพยาบาลทุกแห่งหรือ รพ.สต.ทั่วประเทศ” ปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (8 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 8 มี.ค.ทุกปีเป็นวันสตรีสากล (International Women's Day) ซึ่งการดูแลปัญหาความรุนแรงในเด็กและสตรีนั้น สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่ปี 2542 จัดบริการแบบสหวิชาชีพ ช่วยเหลือดูแลครบวงจรร่วมกันหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาลร่างกายและจิตใจ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนปัญหายุติ ขณะนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปครบ 96 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว 631 แห่งจากทั้งหมด 734 แห่ง ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การให้บริการพบว่า เด็กและสตรีถูกกระทำความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปี 2550 ให้การช่วยเหลือ 19,067 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย ปี 2556 เพิ่มเป็น 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย หรือถูกทำร้าย 1 คนในทุกๆ 15 นาที ซึ่งร้อยละ 60 เป็นเด็ก โดย 9 ใน 10 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-15 ปี ร้อยละ 46 อายุ 15-18 ปี ร้อยละ 40 และต่ำกว่า 5 ขวบ ร้อยละ 5 หรือ 1,000 ราย
“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอันดับ 1 คือ ล่วงละเมิดทางเพศร้อยละ 72 รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21 ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน แฟน ส่วนความรุนแรงในเด็กที่อายุมากขึ้นผู้กระทำมักเป็นแฟนมากที่สุด สาเหตุเกิดมาจากสภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือการเสพสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านของผู้กระทำและบ้านที่เด็กอยู่อาศัย สถานที่เปลี่ยว เป็นต้น” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนความรุนแรงในสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 35-45 ปี ร้อยละ 39 รองลงมาคืออายุ 18-25 ปี ปัญหาอันดับ 1 คือถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย เช่น ทุบตี จำนวน 9,699 ราย ถูกกระทำทางเพศ จำนวน 2,226 ราย โดยผู้กระทำรุนแรงคือคู่สมรสมากที่สุดร้อยละ 52 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาท คาดว่าแนวโน้มของปัญหาดังกล่าวจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ มาจากหลายปัญหา เช่น การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะสุรา ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ขาดการคัดกรองอย่างรอบคอบ
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ในปี 2557 สธ.ตั้งเป้าตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง และเร่งขยายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อดูแลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงถูกกระทำรุนแรงในพื้นที่ 7 กลุ่ม ได้แก่ เด็กผู้หญิง ผู้หญิงที่มีความพิการทางสติปัญญา ผู้พิการทางกาย ครอบครัวผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มสุรา พ่อแม่เป็นโรคจิต ครอบครัวแตกแยก เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหา และจัดระบบการทำงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ รพ.สต.และ อสม.ให้มีความรู้ ตรวจคัดกรองผู้ที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยง และจัดบริการส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลเยียวยา ลดปัญหาทางกายและทางจิตใจในเบื้องต้นได้
“หากพบปัญหารุนแรงจะส่งดูแลต่อในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้นไป จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลความปลอดภัยและมีที่พึ่งใกล้บ้าน และในอนาคตจะเร่งพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการบริการให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรี ของสถานพยาบาลต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นผู้หญิงหรือเด็กถูกกระทำรุนแรง สามารถโทรศัพท์แจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้โรงพยาบาลทุกแห่งหรือ รพ.สต.ทั่วประเทศ” ปลัด สธ.กล่าว